Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
สุขภาพและการออกกำลังกาย

Reply
Vote
# Tue 22 Nov 2022 : 2:02AM

tekkenman
staff
1
Since 30/3/2005
(42994 post)
งานวิจัยชี้ จะกินหนักมื้อเช้า หรือ กินหนักมื้อเย็น ลดน้ำหนักได้พอๆกัน!!
งานวิจัยทดลอง ที่ให้อาสาสมัครกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทานอาหารแบบลดน้ำหนักหรือ Diet แต่มีปริมาณแคลอรีเท่ากัน ทาน 3 มื้อเท่ากัน แตกต่างกันตรงที่ ปริมาณที่ทานแต่ละมื้อต่างกัน กล่าวคือ
***กลุ่ม Morning Load : 45% / 35% /20%
ทานมื้อเช้าในปริมาณมากสุด มื้อเที่ยงปานกลาง และมื้อเย็นทานน้อยสุด
***กลุ่ม Evening Load : 20%/35%/45%
ทานมื้อเช้าในปริมาณน้อยสุด มื้อเที่ยงปานกลาง และมื้อมื้อเย็นมากที่สุด
และมีการควบคุมให้ Calorie Out เท่ากันด้วย
***ผลการวิจัยทดลองพบว่า :
ให้ผลต่อการลดน้ำหนัก พอๆกัน
อ่านงานวิจัยได้เต็มๆ ตามงานวิจัยเรื่องนี้ครับ:
Leonie C.Ruddick-Collins et al. 2022
Timing of daily calorie loading affects appetite and hunger responses without changes in energy metabolism in healthy subjects with obesity. Cell Metabolism, Volume 34, Issue 10, 4 October 2022, Pages 1420-1421

และ


การคาร์ดิโอตอนท้องว่า ไม่ได้เหนือกว่า การคาร์ดิโอตอนท้องไม่ว่าง
Fasted cardio is not superior to fed cardio for fat loss (PMID: 25429252): ดังที่ Dr.Layne Norton กล่าวสรุปไว้
ตามงานวิจัยนี้ครับ :
Body composition changes associated with fasted versus non-fasted aerobic exercise.
Brad Jon Schoenfeld , Alan Albert Aragon , Colin D Wilborn , James W Krieger , Gul T Sonmez . J Int Soc Sports Nutr . 2014 Nov 18;11(1):54.

และ


Meal frequency does not matter for fat loss (PMID: 26024494) : ความถี่ของมื้ออาหารที่ทานมากมื้อขึ้นนั้น ไม่ได้มีผลต่อ fat loss ตามที่ Layne Norton กล่าวไว้
ไปอ่านเพิ่มเติมกันได้ครับ
งานวิจัย Brad Jon Schoenfeld et al.2015.
Effects of meal frequency on weight loss and body composition: a meta-analysis. Nutrition Reviews, Volume 73, Issue 2, February 2015, Pages 69–82,


ประมาณนี้ครับ หลาย ๆ อย่างยังเป็นการบอกต่อ ๆ กันมา แต่ไม่ได้มีหลักอ้างอิงงานวิจัยอะไรเลย ลองอ่านดูครับ งานวิจัยพวกนี้อิงหลักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องนั่นนี่ราคาหลายร้อยล้านในการตรวจสอบ ( เครื่องพวกทดสอบสมรรถภาพของนักกีฬา เพื่อความได้เปรียบ ) เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกครับ แต่น้อยคนที่จะอ่านจริง ๆ
[Edited 3 times tekkenman - Last Edit 2022-11-22 02:08:47]

Reply
Vote




1 online users
Logged In :