Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
เสวนา��าษาต่อยตี Season 3 : UPGRADE EDITION

Reply
Vote
# Mon 12 Nov 2018 : 11:31PM

ToreZ
member
Guru Fighter
Since 10/6/2011
(8869 post)
เห็นโปรดักชั่นของงาน RedBull Kumite 2018 แล้วต้องยอมรับว่าอลังการจริงๆ ทั้งการออกแบบสเตเดี่ยมกรงแปดเหลี่ยมให้เหมือนกับสังเวียนกีฬา MMA ทั้งจอมอนิเตอร์ขนาดบิ๊กเบิ้ม หรือแม้แต่จำนวนกล้องที่ใช้ในการเก็บภาพสวยๆจากหลายๆมุมในห้องที่ใช้ในการแข่งขัน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่สุดจริงๆ


แต่สิ่งที่ผมสงสัยก็คือสมการที่ว่างานจะดีโปรดักชั่นต้องหรูนั้นมันจะจริงมัย เพราะเมื่อเทียบกับงาน Exhibition เล็กๆอย่าง Kemonomichi ที่จัดโดยไดโกะแล้วก็มียอดผู้ชมแทบจะไม่ต่างกันกับอีกหลายๆทัวร์นาเมนต์หรืออาจจะมากกว่าบางทัวร์นาเมนต์เสียด้วยซ้ำไป

การแข่งขันในคูหาเล็กๆที่จุคนได้ไม่กี่สิบคน ใช้ตู้อาเขตหนึ่งคู่ในการแข่งขัน รวมถึงใช้เวลาในการแข่งขันไม่กี่ชัวโมง โปรดักชั่นสุดประหยัดแต่ก็สามารถเรียกให้คนมาดูได้หลายหมื่นคน เขามีเคล็ดลับอะไรกันแน่

ความคาดหวัง ภาพจำ ความประทับใจ โปรดักชั่นสุดประหยัดที่ทำให้หลายๆทัวรืนาเมนต์นั้นเข้าไปนั้งอยู่ในใจคนมาแล้ว

ทำไมเราถึงต้องรองาน Evolution กันแบบปีต่อปี ทำไมเราถึงรู้สึกตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อรู้ว่างาน capcom cup ใกล้เข้ามาแล้ว นั่นเพราะเราคาดหวังที่จะได้เห็นสุดยอดการแข่งขันนั่นเอง ความคาดหวังเป็นคีย์แรกที่จะดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาสนใจทัวร์นาเมนต์ของเรา

ใน Kemonomichi เองก็เช่นกัน เพราะคุณคาดหวังที่จะได้ดู FT10 ระหว่างไดโกะและโทคิโดะ หรือระหว่าง Ogawa กับ Machabo ในเกม Guilty Gear นั้นเอง ซึ่งโปรดิวต์เซอร์ของ Kemonomichi นั้นฉลาดมากที่เลือกประกบคู่ให้คนสนใจ โดยเฉพาะคู่ของ Ogawa กับ Machabo ที่มีการประชันฝีปากท้าทายกันจนเกิดเป็นกระแสให้คนติดตาม

หรือจะให้ยกตัวอย่างจากรายการอื่นๆก็จะมีงาน Winter Brawl X ซึ่งเป็นงานเล็กๆที่ไม่ค่อยจะดังนัก เพียงแต่ว่ามีอยู่ปีนึงในงานนั้นจะมีการ Exhibition ระหว่าง Kane Blueriver และ Filipino Champ ที่ทั้งคู่ได้ทำการฟาดฝีปากกันมาอย่างดุเดือดจนเกิดกระแสให้คนติดตามความดราม่าของทั้งคู่กันอย่างครึกโครม และสุดท้ายทั้งคู่ได้มาลงเอยกันที่งานนี้นี่เอง นั่นก็ทำให้จากทัวร์นาเมนต์ที่ไม่มีคนสนใจเลย กลับคึกคักและหลายๆคนก็ต่างเฝ้ารอที่จะดูการแข่งขันของคู่นี้ทั้งๆที่บางคนไม่ใช่แฟน UMVC3 เสียด้วยซ้ำไป

ลองสมมุติดูเล่นๆ หากในงาน TGU 2019 เราสามารถเอา SonicFox และ Zero ที่เคยท้าทายกันว่าจะเจอกันเมื่อเกม SSB Ultime ออกหลังจากสามเดือนแล้วให้มาดวลกันได้จะมีผู้ชมให้ความสนใจมากขนาดไหน หรือการจับไดโกะและโทคิโดะมา Exhibition กันในเกมซามูไรโชว์ดาวน์ก็เป็นอะไรที่ดูน่าตื่นเต้นไม่น้อยเลยสำหรับคนดู

สรุปว่าในความคิดของผมนั้นการสร้างความคาดหวังให้กับผู้ชมนั้นเป็นด่านแรกที่ทำทัวร์นาเมนต์นั้นจะได้รับความสนใจจากคนทั่วไป หากเราสามารถเชิญโปรที่สังคมกำลังให้ความสนใจหรือทำให้โปรช่อดังที่เข้ามาร่วมทำการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ปกติของเรานั้นมา Exhibition ในกิจกรรมเสริมของเราได้ก็จะเป็นการดีมาก เพราะถ้าเป็นโปรชื่อดังนั้นเราก็จะได้พื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ไปฟรีๆ อย่างเช่นในงาน canada cup ที่ผ่านมาที่ได้มีการจัดแข่ง SFII Turbo ซึ่งถึงแม้มันจะเป็นงานที่ใช้ชื่อว่าชิงแชมป์โลกแต่หากไม่มีการโฆษณาว่าไดโกะมาแข่งด้วยผมมั่นใจเลยว่าไม่มีใครสนใจแน่นอน และพอเอาเข้าจริงๆงานนี้ก็ดังกว่างานครบรอบ30ปีที่ทาง capcom จัดซะอีกเนืองจากใครๆก็อยากจะดูไดโกะเล่น SFII Turbo นั่นเอง นี่เป็นผลพ่วงของอธิพลของผู้เล่นระดับซุปเปอร์สตาร์ล้วนๆครับ

ต่อจากเรื่องความคาดหวังแล้วก็มาในเรื่องของภาพจำครับ โดยผมจะขอยกตัวอย่างจากตัวผมเองก่อนในอันดับแรก

ผมนั้นได้ตามงานแข่ง TGU มาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งกิจกรรมที่ผมชอบมากในตอนนั้นคือการแข่ง 3v3 และกิจกรรม 3v3 นั้นก็มาถึงขีดสุดในปี 2013(ผมมั่นใจว่าเป็น3v3ที่ดีที่สุดในโลก ณ.ยุค SF4) ซึ่งจากสองปีที่ผ่านมากิจกรรม 3V3 นั้นได้กลายเป็นภาพจำสำหรับผมไปแล้วในงาน TGU แต่ก็น่าเสียดายที่ปีต่อๆมานั้นถูกยกเลิกไป (ปีหน้าช่วยเอากลับมาแข่งอีกได้ไหมครับท่านผู้บริหาร)

อย่างเช่นกิจกรรม 5v5 นั้นก็มักจะจัดขึ้นกันบ่อยๆ แม้แต่ใน canada cup ที่ผ่านมาถึงจะใช้ชื่อว่าชิงแชมป์ Inter แต่สำหรับแฟนๆ Street Fihgter แล้วก็จะรุ้กันว่าถ้าการแข่ง 5v5 ต้องเป็น Charity Cup ช่วงปลายปีที่ญี่ปุ่นเท่านั้นถึงจะสุดจริง มันคือความแตกต่างของทัวร์ที่มุ่งเน้นในการสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองอย่าง Charity Cup กับทัวร์นาเมนต์อื่นๆทั่วๆไป หรืออย่างของฝั่งเกมเทคเคนก็ต้องเป็น Master Cup สำหรับประเภททีม(ถ้าจำผิดขออภัยแฟนๆเทคเคนด้วยนะครับ)


ในด้านโปรดักชั่นเองก็สามารถทำได้ อย่างเช่นงาน CEO ที่จัดแข่งกันบนเวทีมวยปล้ำ งาน Red Bull ปีก่อนๆที่มีกุญแจ 16 ดอก โดยผู้แพ้จะทยอยมาไขกุญแจที่ละคนจนคนสุดท้ายจะมาไขดอกสุดท้ายเพื่อเอาถ้วยรางวัลไปครอง งาน Evo ที่คุณโอโนะจะออกมาตระโกน Shoryuken!! อยู่ทุกๆปี หรือกางเกงมวยไทยที่มาโกะได้ไปเป็นของรางวัลเมื่อปี 2015 นั่นก็ใช่นะ

ภาพจำเป็นสิ่งที่สำคัญมากอาจจะมากเป็นอันดับหนึ่งของหัวข้อเลยด้วยซ้ำ เพราะมันทำให้ผู้ชมนั้นจำเราได้ และเมื่อเรามีภาพจำที่แข็งแกร่งแล้ว ความคาดหวังของผู้ชมในปีต่อๆไปก็จะตามมาเอง อย่างเช่นถ้าเรามี event อะไรซักอย่างที่มีความพิเศษเป็นของตัวเองแล้วเกิดถูกใจท่านผู้ชมขึ้นมา นั่นแหละถือว่าเราสร้างภาพจำที่สำคัญให้กับทัวร์นาเมนต์ได้แล้ว

สุดท้ายคือความประทับใจ สิ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุดเพราะส่วนใหญ่มันมักจะเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เช่นคำซึ้งๆของโทคิโดะเมื่อได้แชมป์ Evo, โมโมจิที่จอยโยกพังกลางงานแข่งรอบชิง การทิ้งตัวลงนอนร้ำไห้กับชัยชนะของเหล่าผู้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆ หรือน้ำตาของโทคิโดะตอนที่แพ้ให้กับไดโกะใน Kemonomichi เองก็ตามที

ไอ้สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเหมือนฟ้าประทานครับเรากำหนดกฏเกนฑ์เองไม่ได้ แต่ถ้าหากเกิดขึ้นมันก็จะช่วยให้ทัวร์นาเมนต์นั้นๆมีคุณค่าให้จดจำมากยิ่งขึ้นไปอีก

ความคาดหวัง ภาพจำ ความประทับใจ บางอย่างอาจจะต้องใช้ทุนทรัพย์ช่วย บางอย่างก็เป็นองค์ประกอบเล็กๆที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมากมายอยู่ที่ว่าเราจะหยิบจับมันมาใช้ยังไงมากกว่า เพราะเราอย่าลืมว่างาน Evolution ก็เคยเป็นแค่งานธรรมดาๆที่เล่นกันเฉพาะบนเครื่องอาเขตมาก่อนเช่นเดียวกัน

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงทัศนคติของผมเพียงคนเดียวเท่านั้นนะครับ อาจจะดูเพ้อๆไปบ้าง ขาดตกบกพร่องประการใดก็ติติงกันเข้ามาได้ครับ หรือเพื่อนๆจะเสริมอะไรก็สามารถมาแชร์ข้อมุลกันได้ครับ เราเปิดโอกาสให้เพื่อนๆเต็มที่เลย


Reply
Vote




1 online users
Logged In :