Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
สนทนาประสาการเมือง ��าค VII

Reply
Vote
# Mon 22 Oct 2018 : 9:47PM

kirari
member

Since 16/8/2006
(401 post)
ใส่ใจอะไรมากมายยย
อะไรกันนักกันหนาาา
แปลกตรงไหนนนน
อียุทธศาสตร์ชาตินี้เนี่ยย





รัฐตรีในรัฐบาลชุดถัดไปอาจโดนลงโทษหนักหากไม่ดำเนินนโยบายตามกรอบที่ยุทธศาสตร์ชาติวางไว้ โดยอาจโดนลงโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี และอาจโดนถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในทุกระดับตลอดชีวิต รวมถึงจะไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีก
.
บทเฉพาะกาลในมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560 ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วง 5 ปีแรกหลังการเลือกตั้งซึ่ง ส.ว. ชุดแรกยังคงทำหน้าที่อยู่ หากเกิดกรณีที่การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดย “เป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีโดยตรง” วุฒิสภาสามารถพิจารณาว่าการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และสามารถส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
.
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ามติหรือการกระทำของคณะรัฐมนตรีเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (การไม่ดำเนินนโยบายตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติถือเป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญปี 60) เรื่องดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
.
โดยตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ไว้ว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง “จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ให้ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
.
และในมาตรา 81 ได้ระบุไว้ว่า ถ้าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินว่าผิด “ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น” โดยที่คนที่โดนเพิกถอนสิทธิดังกล่าว “ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป” (ขอให้สังเกตคำว่า ‘ตลอดไป’) และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีกเลย
.
นอกจากนี้ยังอาจโดนโทษจำคุกด้วย เนื่องจากในมาตรา 172 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้ระบุไว้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต “ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี”
.
นั่นหมายความว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดหน้า หากถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินว่าทำผิดกฎหมายเนื่องจากไม่ดำเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ ก็ต้องเลิกเป็นนักการเมืองเลยตลอดชีวิต เนื่องจากไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใดๆ ได้อีก อีกทั้งยังเสี่ยงโดนโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปีด้วย

Reply
Vote




2 online users
Logged In :