Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
ท่านคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เชื่อหรือไม่!?

Reply
Vote
# Fri 17 Aug 2018 : 4:22PM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
บังเอิญมาเห็นกระทู้พอดี และมีประเด็นไปหลายทาง
อยากไขความกระจ่างให้กับทุกคนจริงๆ ว่าโรคซึมเศร้ามันมีจริงมั้ย เกิดได้ยังไง แล้ว wanna be ซึมเศร้าเป็นจริงรึเปล่า

ผมขอตอบในฐานะนักจิตวิทยา (Psychologist) ที่ทำงานปรึกษาอิสระจริงๆนะครับ
อยากให้แยกว่าผมไม่ใช่จิตแพทย์นะ (Psychiatrist) แตกต่างกันตรง ที่หมอจะรักษาด้วยการจ่ายยาเป็นหลัก
แต่นักจิตจะรักษาด้านการให้คำปรึกษาเพื่อไปปฏิบัติ

แต่ทั้งสองสายต้องเรียนรู้ วิธีการทำงานของกันนะครับ ว่าง่ายๆคือเรียนเหมือนๆกัน แต่หมอจ่ายยาได้ แต่นักจิตจะรู้กว้างกว่า
เหมือนนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับ แพทย์ผู้รักษานะครับ

--------

-โรคซึมเศร้ามีจริงมั้ย
มีจริงครับ มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง การจัดกลุ่มทำการทดลอง สแกนสมอง ดูกรณีตัวอย่าง ฯลฯ มาเยอะมากๆ ย้อนไป 80กว่าปีแล้วจนสรุปได้ว่า "เป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ"

-เป็นโรคซึมเศร้าต้องกินยา หรือ อ่านหนังสือธรรมะ?
โรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทเช่น Norepinephrine Serotonin Dopamine แล้วแต่กรณี โดยจะมียาที่
เจาะจงช่วยให้อาการดีขึ้นหลายแบบ หมอเลยให้ทดลองกินก่อน แล้วดูว่าตัวไหนให้ผลดีกว่า ซึ่งแตกต่างกันไปตามบุคคล
และการปฏิบัติธรรมก็ช่วยได้ ในบางกรณีเช่นกัน ไม่จำกัดแค่ปฏิบัติธรรม การมองโลกในแง่ การออกกำลัง เล่นดนตรี
ทำกิจกรรม ก็ช่วยให้อาการดีขึ้นได้

-หนังสือธรรมะ หรือการที่ปฏิบัติให้ชีวิตดีขึ้น มันช่วยได้ยังไงเหรอ?
ถ้าอยากรู้ว่าทำไมช่วยได้ ลองนึกย้อนกลับไปก่อน ทำไมจึงเกิดโรคซึมเศร้าขึ้น?
โรคซึมเศร้าบางอย่างเกิดจากที่เราตกอยู่ในสภาวะความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน
หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสภาวะร่างกายและจิตใจ
การอ่านหนังสือธรรมมะ ไม่ใช่เพราะใช้พลังบุญจากการอ่านมาช่วยให้หายป่วย
แต่เกิดจากความเข้าใจสัจธรรมในนั้น ว่าความเครียดและความทุกข์ของเรานั้น มันแก้ได้ด้วยตัวเราเอง
เข้าใจสาเหตุของความทุกข์บนโลกใบนี้ และบอกเห็นหนทางในการใช้ชีวิตแบบอื่นๆ
พอความเครียดลดลง สารสื่อประสาทก็จะพยายามกลับมาทำงานเป็นปกติด้วยตัวของมันเอง

-แบบนี้ไม่ต้องกินยาก็ได้ ใช่มั้ย?
ความน่ากลัวของโรคซึมเศร้าคือการบั่นทอนความรู้สึกอยากจะแก้ไข ขัดขวางความอยากเข้าใจปัญหา
เหมือนการสั่งให้ผู้ป่วยข้อเท้าแพลง ไปทำกายภาพเพื่อให้เดินต่อได้ ซึ่งมันยาก...และเจ็บปวด
ดังนั้นการกินยาภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือคัวเองได้ก่อน จึงยังคงจำเป็น

-บางคนแกล้งซึมๆบอกตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า นี่เป็นจริงหรือเรียกร้องความสนใจ..
ข้อนี้ผมจะอธิบายข้อเท็จจริงแล้วลองแยกแยะกันเองนะครับ

1. คนเป็นโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องมีอาการเศร้าให้เห็น...
2. การฆ่าตัวตาย ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคซึมเศร้า
3. คนเป็นโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องฆ่าตัวตายเพราะการถูกกดดันหรือน้อยใจ
4. คนเป็นโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องอยู่คนเดียวหรือ ล้มเหลวในการใช้ชีวิต

สื่อไทยในปัจจุบัน เห็นใครฆ่าตัวตายก็โยงกับโรคซึมเศร้าหมด แต่ไม่ได้อธิบายชัดเจนว่า
โรคซึมเศร้าหรือ Depression เป็นแค่ส่วนหนึ่งในปัจจัย ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดจริงๆ
มันมีทั้ง อารมย์ชั่ววูบ การทำตามที่เห็นในสื่อ และอื่นๆอีกมาก

สื่อเรามักนำเสนอข่าวว่า "ฆ่าตัวตาย=โรคซึมเศร้า" มันไปสร้างกลไกทางความคิดว่า
เราควรจะฆ่าตัวตายเพื่อหลีกหนีจากปัญหานี้ จนกลายเป็นความเชื่อฝังใจเด็กและ ผู้ใหญ่ที่โดนสื่อชักจูงได้ง่าย
ว่า "ถ้าเกิดปัญหาชีวิต ให้ฆ่าตัวตาย" และนี่ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน

ทางกรมสุขภาพจิตเลยต้องรีบออกมาขยายความ เพื่อลบภาพและให้ความรู้ว่า ถ้าเศร้า "ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่เป็น"
ก็ควรจะไปหาคำปรึกษาและไปพบแพทย์ เพราะคนที่บอกว่าตัวเองเป็นก็ "เพียงพอ" ต่อการได้รับความช่วยเหลือแล้ว
(อาจจะเป็นโรคกลุ่ม Histrionic Personality Disorder ซึ่งรักษายากกว่าโรคซึมเศร้า)

การที่เราไม่มีความสุขในชีวิต อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติหรือเป็นเรื่องที่ต้องทนให้ได้
การทนโดยเข้าใจปัญหา กับ การทนโดยไม่รู้ว่าควรทนหรือไม่นั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
และเป็นปัจจัยให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคตนะครับ
View all 11 comments >
Fri 17 Aug 2018 : 4:58PM

Narl
member
เจ้าลัทธิปาปุลเต้
Since 7/3/2007
(49927 post)
ว่าจะถามนานแล้ว แบบว่าไม่มีความรู้เลยก็อ่านๆตามข่าวตามบทความ

แต่อยากรู้จริงๆว่า พวกยารักษาทางจิตเห็นว่ามันมีหลายสี แต่ละสีจะรักษาอาการต่างๆ คือมันมีกระบวนการทำงานยังไงอ่าครับ แบบว่าคนที่เป็นโรควิตกกังวล ทานแล้วหายวิตกนี่ คือนึกภาพไม่ออกเลย

แล้วถ้า คนทั่วไป ทานยาพวกนี้มันจะเป็นอะไรหรือเปล่าอ่าครับ ประมาณว่าคนทั่วไปก็เครียดได้ แต่ไม่ได้ป่วยแล้วซื้อมาทานมันจะช่วยคลายเครียดด้วยใหมอ่า?

Fri 17 Aug 2018 : 5:26PM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15468 post)
ยามันก็ไปปรับสมดุลย์ดคมีใหม่ เช่น เพิ่มอันที่ขาด ลดอันที่เกิน หรือเข้าไปจับกับตัวรับต่างๆ ในสมอง เพื่อลดผลจากสารส่วนที่เกิน

แนวๆ พวกยาที่เล่นกัน แต่เอาแค่เบาะๆ ไม่ได้ถึงขนาดไฮ

Fri 17 Aug 2018 : 5:38PM

superKman
member

Since 14/5/2007
(202 post)
อยากให้เอาโพสนี้ ปักหมุดไว้ครับมอส น่าจะเป็นประโยนช์มากๆ ครับผม

Fri 17 Aug 2018 : 6:21PM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
ใช่ครับพูดรวมๆคือไปช่วยปรับสมดุลในระบบประสาท

เดี๋ยวจะอธิบายแบบลึกลงไปหน่อย ยาที่แพทย์ปัจจุบันสั่งให้ ส่วนมากเป็นกลุ่ม
SSRIs หรือ Selective serotonin re-uptake inhibitors ซึ่งจะสั่งเฉพาะคนที่เป็นในขั้นรุนแรง หรือ เป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิต
ส่วนแบบอ่อนๆ จะใช้วิธีให้คำปรึกษา หรือให้กินยาหลอก(วิตามิน) แพทย์จะไม่ออกยาให้พร่ำเพรื่อ เพราะยาชนิดนี้จัดว่าอันตราย
หากใช้เองโดยไม่มีได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ยาทำงานอย่างไร เดี๋ยวผมจะอธิบายคร่าวๆ ถึงการทำงานของความรู้สึกเราก่อน

ผมจะไม่ลงลึกถึงระบบฮอโมน แต่ให้นึกภาพว่า เวลาเกิดกิจกรรมเช่น
"เราได้ของขวัญแล้วเราดีใจ"
ประสาทสัมผัสของเรารับข้อมูล -> ส่งข้อมูลไปสมอง -> สมองประมวลผลว่าดีใจ -> ส่งข้อมูลกลับไปที่ร่างกายเพื่อแสดงอาการดีใจ

คราวนี้ ตอนสมองประมวลผลว่าเราจะดีใจหรือเสียใจหรือตื่นตระหนก มันค่อนข้างซับซ้อน มีการทำงานร่วมกันของฮอโมน ความทรงจำ ระบบประสาท... สมมติ เป็นเหตุการณ์น่าดีใจ ระบบต่างๆก็ส่งสัญญาณออกมาตามรูปแบบที่ควรจะสร้างความดีใจ หนึ่งในนั้นคือการสร้าง serotonin ออกมาเพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายผ่อนคลาย serotonin เป็นสารสื่อประสาทในบริเวณ synapse (การทำงานแบบละเอียดให้ลองกูเกิลดูนะครับ)

ประเด็นคือถ้า ประสาทของเรา มีความบกพร่องในระบบ เช่น serotonin ไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้ระบบ ด้านการผ่อนคลายของเรา ทำงานไม่ได้ หรือ ทำงานได้แย่ จนเกิดเป็นปัญหาทางจิต

ตามธรรมชาติ จุดประสานประสาท (synapse) จะมีการดูดคืน serotonin เพื่อนำไปรีไซเคิลอยู่แล้ว แต่คนที่มีปัญหา serotonin ทำงานไม่ดี SSRIs จะไปช่วยในการยับยั้งการดูดคืนนั้นๆ ช่วยให้เราเหลือ serotonin
เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายเราทำงานปกติได้

แต่.... อย่าคิดว่าเป็นเรื่องพอเพียง การพึ่งยาทำให้การฟื้นคืนด้วยตัวเราเองเป็นเรื่องยากขึ้น ให้นึกถึงคนที่ใช้เครื่องช่วยเดิน
เราอาจจะใช้เครื่องช่วยเดินตลอดชีวิต ถ้าเราไม่คิดจะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือแนวคิด

การรับยาแล้วไม่ปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ วันนึงงดใช้กระทันหัน จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างมาก เช่นการสวิงของอารมย์ เพราะ เราขาดเครื่องช่วยพยุงไป อาจจะก่อให้เกิดอาการ panic attack หรือ ชอคได้

Fri 17 Aug 2018 : 6:35PM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
อีกนิดนึงคือ

โรควิตกกังวล (anxiety disorder) กับ โรคซึมเศร้า (depression) นั้นเป็นคนละโรคกัน
แต่มันเหมือนของที่มักจะมาด้วยกันบ่อยๆ

โรควิตกกังวล เป็นโรคที่น่ารำคาญและมักเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าได้
แต่เท่าที่การแพทย์ปัจจุบันเข้าใจ การใช้ SSRIs จะช่วยให้เราผ่อนคลายมากขึ้น
ซึ่งมีผลดีกับทั้งคนที่วิตกกังวล และ คนที่เครียด เลยสามารถใช้ด้วยกันได้ครับ

Fri 17 Aug 2018 : 7:46PM

Narl
member
เจ้าลัทธิปาปุลเต้
Since 7/3/2007
(49927 post)
แล้วถ้าคนปรกติ ทานยาพวกนี้ละครับ จะมีอาการอะไรใหม? *3*

Fri 17 Aug 2018 : 10:28PM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
คนปกติกินเข้าไป ผลข้างเคียงค่อนข้างหลากหลายครับ
ตั้งแต่ไม่รู้สึกอะไร จนถึงรู้สึกเฉื่อยชา และง่วงมากๆ

ตัวยามีหลายแบบ และส่งผลกับคนแตกต่างกันไป
แต่โดยส่วนมาก ก็ไม่เห็นผลอะไรชัดเจนมากกว่าที่รู้สึกอยู่
เพราะมันออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งการดูดกลับขอสารสื่อประสาทมากกว่า
ไม่ใช่ตัวเร่งให้เรามีความสุข

ในโลกของ ประสาทวิทยาศาสตร์ Neuroscience ยังไม่ได้เข้าใจการทำงานทั้งหมดของยา
และการส่งผลของยาแบบชัดเจน
แต่ถึงอย่างไร ยาที่เราเอามากินก็ผ่านกระบวนการ การทดลองแบบคุมเข้มมาแล้ว ว่าใช้ได้ผล(ในเปอเซนต์ที่ตั้งไว้)

ใครคิดว่าจะเอา ยาแก้ซึมเศร้า มากินให้มีความสุข ก็ลืมไปได้เลย :P ไม่ได้ผลนะครับ

Fri 17 Aug 2018 : 10:54PM

ผู้ชมโทรทัศน์
member

Since 2014-11-04 11:54:10
(1659 post)
ก่อนอื่นเลยต้องขอบคุณผู้มีวิชาที่หันมาสนใจกระทู้เล็กๆของผม ซึ่งการแผร่ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก จะสามารถช่วยให้ผู้คนได้เปิดใจเกี่ยวโรคทางจิตเภทได้กว้างขิ้น
ขอถามหน่อยครับ
เคยอ่านผ่านๆเรื่องการปฏิบัติธรรมกับโรคซึมเศร้าว่าเป็นส่งผลไม่ค่อยดีและเคยมีข่าว(ข่าวเก่ามากหาไม่เจอ)บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตายระหว่างนั่งสมาธิ แต่สำหรับบางคนนั้นอาการดีขึ้นได้ จริงๆแล้วเพราะอะไรครับ สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ทางศาสนาของผู้ป่วย?


Sat 18 Aug 2018 : 9:44AM

suede
member

Since 23/4/2006
(21936 post)
ผมว่าผมทราบปัญหาที่แท้จริงของเรื่องโรคนี้แล้ว

โรคนี้ไม่ควรมีชื่อว่าโรคซึมเศร้าในประเทศไทยเป็นอันขาด

เพราะคำว่าซึมเศร้า เป็นคำแสดงอารมณ์ และใช้ร่วมกับสถาณการณ์อื่นที่ไม่ใช่การป่วย

เมื่อได้ยินชื่อนี้ทำให้คนเกิดความคิดโดยอัตโนมัติว่า เป็นแค่อารมณ์หนึ่ง ซึ่งจะหายไปเองได้ ปรับเปลี่ยนได้ และคำว่าซึมเศร้ามันมีความหมายในยริบท ว่าสำออย จมจ่อม ทำตัวเอง ไม่เข้มแข็ง คำนี้มีแต่มีนนิ่งในเชิงลบที่เกิดจากการทำตัวเอง

การบัญญัติ หรือนิยามคำศัพท์นี้ สื่อสารด้วยคำนี้ จึงมักมีปัญหา


นี่มันโรคภาวะสารสื่อสมองบกพร่องชัดๆ

แต่ใช้ชื่อว่าโรคซึมเศร้า ซึ่งพ้องกับการที่คนปรกติทุกคนบนโลกไม่ต้องเป็นโรคนี้ก้อซึมเศร้าได้ มันจึงดูไม่มีความเป็นโรคใดใด

อยากทำความเข้าใจกะสังคมมากขึ้นเปลี่ยนชื่อโรคก่อนเลย


Sat 18 Aug 2018 : 10:33AM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
การจะตอบว่าทำไมนั้น สั้นๆเลยอาจจะทำให้ เกิดความเข้าใจผิดได้
เพราะนอกจากปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ยังมีคนที่ไปโบถ หรือเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อแล้วฆ่าตัวตาย
เป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ

ของพุทธเอง ก็มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ด้วยสาเหตุที่ต่างกันออกไป (ลองกูเกิลน่าจะเจอ)
การฆ่าตัวตายทางศาสนา สาเหตุที่พอมีน้ำหนักก็จะมี

1. ปลงทางโลก หมดอาลัย หมดห่วง และยินดีจะหยุดการใช้ชีวิต
2. เชื่อว่า มีโลกหน้า ภพหน้า หรือ การจบชีวิตจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
3. หมดหนทาง มองไม่เห็นหนทางหรือเหตุผล ที่จะใช้ชีวิตต่อไป

การปฎิบัติธรรม ก็คือ การเข้าไปเรียนรู้ ปัญหาด้วยตัวเอง
แต่สำหรับคนที่เป็นเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า การเรียนรู้บางอย่าง เข้าไปไม่ถึง หรือ ปฏิเสธความรู้นั้นไป
ตามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ว่าผู้มีอาการไม่ได้อยู่ในอารมย์ ที่พร้อมจะรับรู้รับฟังอะไร

การทำงานที่ปรึกษา เราต้องรู้ว่า ผู้รับการปรึกษา พร้อมจะรับการปรึกษามั้ย (มาหาเองหรือโดนบังคับมา)
มีมุมมองในการใช้ชีวิตอย่างไร หรือ เหตุใดที่ต้องการจะจบชีวิต
ถ้าผู้รับการปรึกษา อยู่ในสภาวะเครียด เจ็บปวดทางใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ (อกหัก ผิดหวัง หรือโดนทรยศ)
ถ้าจะรักษาให้หายขาดในระยะยาว เราอาจจะเริ่มจากช่วยให้เขา กินได้ นอนหลับเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มเข้าถึงปัญหาจริงๆ
แล้วเราค่อยเปิดใจคุยกัน ไม่ใช่ส่งไปเรียนธรรมะทันที

หัวใจหลักๆของการเข้าถึงปัญหาคือการเปิดใจกับใครสักคน อาจจะเป็นตัวเองก็ทำได้

มีเคสคนที่เคยตัดสินใจจะฆ่าตัวตาย ไปยืนอยู่บนสะพานสูง พร้อมจะกระโดดลงไป
แต่อยู่ๆก็มีคนขับรถเมลล์หยุดรถกลางจราจร แล้วลงมาคุยด้วย
คนที่จะโดดบอกชายคนนั้นว่าอย่าเข้ามาใกล้ ไม่งั้นผมจะโดดลงไป
แต่คนขับรถเมลล์บอกว่า.. "ถ้าคุณกระโดดลงไป ผมจะกระโดดตามลงไปช่วยคุณ"
พอเขาได้ยินก็นั่งร้องไห้ออกมา คนขับรถก็เข้าไปปลอบแล้วคุยกับเขาอยู่ จนเขาเห็นมุมมองชีวิตใหม่

ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม คนที่ฆ่าตัวตาย มีปัญหาอย่างเดียวกัน คือ "ไม่มีคนเข้าใจ"
หรือพูดให้ถูกคือ "ไม่มีคนพร้อมจะพยายามมาเข้าใจ" ถ้าเราเข้าถึงตรงนี้ได้ ถ้าธรรมมะเข้าถึงตรงนี้ได้
ก็คงไม่มีใครอยากจบชีวิตลง

ความเจ็บปวดจาก ความผิดหวัง ไม่ใช่เรื่องเล็กหรือเป็นเรื่องของคนไม่มีหัวคิด
เราแค่ถามคนใกล้ตัวสักคน ที่เหมือนจะมีความสุข ว่า "เห้ย เป็นไงมั่ง" แล้วตั้งใจฟังเขาสัก10นาที
ก็อาจจะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

แต่ถ้าเรายังมีอาการซึมเศร้า เดี๋ยวมันก็เริ่มวนกลับมา หากไม่เริ่มรักษาให้ตรงจุด

Sat 18 Aug 2018 : 10:54AM

feya
member

Since 3/1/2009
(1399 post)
อาจจะจริงนะครับ คำว่าซึมเศร้า มันไปผูกกับคำว่าอ่อนแอ เพราะการสั่งสอนแบบฝังหัว
ว่าให้เราต้องเข้มแข็ง ห้ามเศร้า เป็น ผู้ชายห้ามร้องไห้ เป็นผู้หญิงห้ามเสียตัว

เหมือนคำว่า พบจิตแพทย์ ที่จะสื่อไปว่าเป็นโรคจิต หรือ บ้า
ในขณะที่คำว่า นักจิต(ปรึกษา) จะไม่คุ้นหู และไม่รู้เขาทำอะไรกันแน่

ในไทยเรา คำว่า วิตกกังวล และ ซึมเศร้า เป็นคำดูถูก
แต่ในกลุ่มประเทศที่เขาเข้าใจ จะตีความว่าเป็นอาการผิดปกติ

เราแก้ปัญหาทางใจด้วยไสยศาสตร์ และความเชื่อ ...ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง

แต่การพบแพทย์หรือนักจิต ก็ไม่ใช่จะได้ผล 100% นะครับ มีประมาณ 40% ที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง (ผลสำรวจจากอเมริกา)
ผมเองให้คำปรึกษามา ก็มีอัตราสำเร็จ ที่น้อย (ประมาณ 20%)
โดยอุปสรรคหลักๆ คือ ความต่อเนื่อง และความเชื่อใจ(ที่จะทำตามอย่างเคร่งครัด)

แต่ 20% นี้แหละ ที่ทำให้ยังไม่อยากทิ้งงานนี้ไป

ปล. ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตที่ผิดปกติต่างๆนะครับ
ปกติผมรับปรึกษาเรื่องเรื่องความรักความสัมพันธ์ ความสุข และการพัฒนาตัวเอง


Reply
Vote




1 online users
Logged In :