Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
เสวนา��าษาต่อยตี Season 3 : UPGRADE EDITION

Reply
Vote
# Sat 24 Feb 2018 : 3:51PM

ToreZ
member
Guru Fighter
Since 10/6/2011
(8869 post)
กว่า 30 ปีกับดราก้อนบอล



ยอมรับเลยว่าช่วงที่ไม่มีทัวร์ใหญ่ๆให้ตามดูจะเป็นช่วงที่ลำบากที่สุดสำหรับผมเพราะไม่รู้จะคุยเรื่องอะไรดี เพราะฉะนั้นวันนี้จึงขอนอกเรื่องที่เกี่ยวกับเกมไฟท์ติ้งไปซักหน่อย ขอไปรำลึกอดีตกับการ์ตูนในตำนานที่ได้คีพชีพมาเป็นเกมไฟท์ติ้งที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุคหน่อยก็แล้วกัน บอกเลยว่าครั้งนี้เขียนตามใจมากนึกอะไรออกก็เขียน(พิมพ์)ไปเรื่อยเปื่อย

34 ปีในรูปแบบการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมาตลอด(เริ่มเขียนตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2527)กับเรื่องราวการจนภัยของเด็กชายมีหาง ซุน โกคู ที่ออกเดินทางกับบลูม่าเด็กสาวแก่แดดเพื่อตามหาดราก้อนบอลหรือลูกแก้ววิเศษที่สามารถเรียกเทพเจ้ามังกรออกมาขอพรให้สมปรารถนาได้ (ช่อง9น้าต๋อยเซมเบ้เรียกว่า ซุนโงกุน ส่วนหนังสือการ์ตูนบางสำนักพิมพ์ที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า ซุนหงอคง) เนื้อหาในช่วงเเรกได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมจีนเรื่องไซอิ๋วบอกกับเรื่องอภินิหาร8ลูกแก้ว(เคยเป็นหนังใหญ่ด้วยแต่ไม่ค่อยดังไม่รูเคยดูกันไหม)

ความดังของดราก้อนบอลในสมัยนั่นดังมาก เด็กๆผู้ชายส่วนใหญ่รู้จักที่ปล่อยพลังคลื่นเต่ากันทั้งนั้นทั้งพักเที่ยงที่โรงเรียนหรือเล่นกันเพื่อที่บ้าน เด็กกลุ่มไหนบ้าพลังหน่อยก็จะชอบเล่นต่อสู้กันไปตามประสา ซึ่งท่าไม่ต้ายยอดฮิตในเวลานั้นก็คงไม่พ้นของพระเอก ซึ่งเรียงตามลำดับความฮิตก็จะมีดังนี้ พลังคลื่นเต่า บอลเกงกิ หมัดไคโอ และท่าไม่นับของโกคูแล้ว ก็จะมีท่าที่เท่ๆอยู่อีกบางท่าที่คนนิยมกันคือ ท่าปล่อยพลังของทรังค์ส(ที่ตวัดมือไปมาชื่อท่าอะไรจำไม่ได้แล้ว) ท่าลำแสงปิศาจของพิโกโร่ แล้วก็หมัดพายุเขี้ยวหมาป่า สมัยนั้นพอเวลาเล่นกัน ก็จะตะโกนแหกปากตามชื่อท่าที่ตัวเองชอบแล้วก็วิ่งไปซัดกันนั่วเนีย ซึ่งพอมานึกถึงแล้วก็ขำ เพราะทุกท่าหลังจากที่ทำท่าเลียนแบบการ์ตูนจบมันก็กลายเป็นการวิ่งไปต่อยกันมั่วๆ(แบบเล่นๆ) อยู่ดีไม่รู้จะมีชื่อท่าไปทำไม

ส่วนตัวละครที่เด็กๆสมัยนั้นชอบนอกจากโกคูแล้วก็จะเป็นพวกตัวละครสมทบที่ค่อยๆเพิ่มเข้ามาตามกาลเวลาครับ ซึ่งเท่าที่อยู่ในลิตส์ก็จะมีดังนี้

1.หยำฉา เป็นตัวละครตัวเเรกในเรื่องที่รูปหล่อและมีฝีมือฉกาจพอฟัดพอเหวี่ยงกับตัวเอก ซึ่งหยำฉาในสมัยแรกๆมันดูดีครับไม่ได้เป็นกระสอบทรายเคล่อนที่เหมือนอย่างกับในยุคปัจจุบันเด็กๆสมัยนั้นเลยชอบเยอะ

2.เบจิต้า ป๋าเบของเรานี่ค่อนข้างแปลกๆ เพราะตอนแรกๆเด็กๆมักจะไม่ค่อยพูดถึง ถึงแม้ว่าป๋าเบแกจะมีท่าไม้ตายเท่ๆอย่างกาลิคกันก็เถอะ แต่ป๋าเบของเรากว่าจะมาได้รับแรงสนับสนุนจากเด็กๆก็ช่วงที่ไปดาวนาเม็กนั่นแหละครับ โดยเฉพาะช่วงที่รวมทีมกับพวกโกฮังคูริลินนี่ได้รับแรงเชียร์เยอะมาก ส่วนช่วงที่คนดูเทใจให้อย่างหมดเปลือกก็ช่วงที่ถูกฟรีซเซอร์ฆ่าตายแล้วร้องให้ให้กับโกคูขอให้ช่วยแก้แค้นให้ชาวไซยาห์ด้วย ผมจำได้เลยพอตอนจบภาคดาวนาเม็กแล้วเทพเจ้ามังกรชุบชีวิตให้กับป๋าเบ เพื่อนๆผมนี่ดีใจยิ่งกว่าตอนที่เห็นโกคูเเปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซยาห์ซะอีก

3. ทรังค์ส ในยุคนั้นการเปิดตัวครั้งแรกของมันทำเอาแฟนๆดราก้อนบอลทั้งชายหญิงต่างใจสั่นกันหมด เด็กหนุ่มปริศนา ที่จู่ๆก็โผล่มาจากไหนไม่รู้ เเปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซยาห์แล้วก็เอาดาบตวัดฟันฉับๆ แถมท่าปล่อยพลังก็เท่สุดๆ กลารแต่งตัวก็ดีไม่ได้ใส่ชุดกังฟูแบบพวกตัวละครแรกๆแล้ว ทรังค์สเลยเป็นตัวละครที่ได้รับความนิยมสูงมากๆในช่วงนั้น เผลอๆอาจจะมากกว่าโกคูซะด้วยซ้ำ

4.หมายเลข 17-18 คู่หูดูโอ้ เสียดายถ้าเป็นผู้ชายทั้งคู่คงเรียกว่าลิฟ-ออยไปแล้ว(ใครไม่ทันคู่นี้ก็ข้ามๆไป) จริงๆอนนั้นในบ้านเรา 18 ไม่ได้ดังเหมือนกับในสมัยนี้นะ ตอนนั้นตัวที่ดังกว่าคือ 17 เพราะว่าเป็นผู้ชายซึ่งเด็กๆมันก็เอาไปเล่นเลียนแบบได้(คงไม่มีเด็กผู้ชายที่ไหนอยากเล่นเป็นตัวหญิงแน่ๆ) นอกจากนี้บทบู้มันก็ค่อนข้างจะเยอะกว่าทางด้าน 18 ด้วย ส่วนเรื่องความเท่นั้นถือว่าเท่ด้วยกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเสื้อผ้าหน้าผมทุกอย่างมันดูล้ำสมัยไปหมด(ในเวลานั้น) โดยเฉพาะผมทรงแสกกลางนี่กำลังบูมในบ้านเราเลยช่วงนั้น(แต่ผมยังหัวเกรียนเลยไว้ไม่ได้ 55)

5.เซล อันนี้ขอกำจัดเฉพาะร่างสามนะ เพราะร่างหนึ่งกับสองนั้นไม่รู้เพราะว่าออกแบบได้เหมือนแมลงมากเกินไปรึเปล่าหรือเพราะว่ามันไม่หล่อ ไม่สุขุมเหมือนอย่างร่างสามรึเปล่าก็ไม่รู้คนถึงได้ไม่พูดถึงกัน แต่เซลนี่แปลกเพราะเด็กๆไม่ได้อยากเป็นเซลกัน แต่ส่วนมากจะชอบเพราะบุคลิกที่ดูองอาจ และเท่มากกว่า

ทีนี้มีหลายคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับเรื่องชื่อภาคในแต่ละภาคว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งในส่วนนี่มเคยอ่านเจอมาก็จะมีข้อมูลดังนี้

Dragon Ball Z ซึ่งตัวอักษร Z นั้นมาจากเลข 2 ครับ เพราะ อ.โทริยาม่า ต้องการสื่อให้รู้ว่านี่เป็นภาคที่สอง เพียงแต่ว่าถ้าใช้ตัวเลข 2 มันก็จะดูธรรมดาเลยเปลี่ยนมาใช้ตัว Z แทน

Dragon Ball GT คำว่า GT นั้นย่อมาจาก Grand Tour ซึ่งสื่อถึงการเดินทางท่องจักวาลอันยิ่งใหญ่นั่นเอง

Dragon Ball Super อันนี้ตรงตัวมาก คำว่า Super นั้น หมายถึง Super Dragon Ball ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับดวงดาวที่ปรากฏอยุ่ในภาคนี้นั้นเอง

ซึ่งมันก็มักจะมีข้อถกเถียงในวงน้ำชาของแฟนๆดราก้อนบอลอยู่เสมอๆว่า ดราก้อนบอลจริงๆแล้วมันควรจะจบไปตั้งแต่อนไหน บางส่วนก็ว่ามันจบไปตั้งแต่ภาคฟรีซเซอร์แล้วไม่ควรมีภาคเซลที่ใครๆก็แปลงร่างเป็นซุปเปอร์ไซยาห์ได้ บ้างก็ว่าจบที่ภาคเซลเกมส์เพราะโกคูที่เป็นตัวเอกของเรื่องตายเเล้ว บ้างก็ว่าจบที่ภาคจอมมารบูแหละดีสุดแล้วแถมไม่ขอนับญาติกับภาค GT เพราะ อ. แกไม่ได้แต่งเรื่อง กับภาค Super ที่หลายๆคนบอกว่าสเกลพลังมั่วมากอีก ซึ่งอันนี้ก็นานาจิตตังครับ ต่างคนต่างความเห็น แต่ถ้าถามผม ผมก็คงตอบว่ามันยังไม่จบ เพราะ อ.แกยังวาดต่ออยู่(แต่กำลังจะจบในช่วงเดือน เมษายน)

อีกสิ่งหนึ่งที่คนเป็นแฟนดราก้อนบอลน่าจะรุ้กันมาบ้างแล้วก็คือความยของชื่อของตัวละครแต่ละตัว ซึ่ง อ.แกก็ไม่ได้คิดมามั่วๆนะ แกมีคอนเซปในการคิดของแกอยู่ เอาเท่าที่รู้ก็จะมีดังนี้

คาคาร็อต / KAKAROT (ซุน โกคู ) นั้นมีที่มาของชื่อมาจาก หัวแครอท (carrot)

เบจีต้า / VEGETA นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า VEGETABLE หรือ ผักนั้นเอง

โกฮัง / GOHAN นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า โกฮัง (GOHAN) ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นนั้น โกฮัง แปลว่า อาหาร หรือ ข้าวสวย

ราดิช / RADITZ นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า RADISH หรือ หัวไชเท้า

ทรังค์ส / TRUNKS นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า TRUNKS หรือ กางเกงว่ายน้ำ หรือ กางเกงในชาย แบบขาสั้น

บลูม่า / BULMA นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า BLOOMERS หรือ ชุดชั้นในแบบเก่าของผู้หญิง(สมกับเป็นแม่ของทรังค์สจริงๆ)

คุริริน / KRILLIN นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า คูริ (KURI) ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นนั้น คูริ แปลว่า ลูกเกาลัด

หยำฉา / YUM CHA นั้นมีที่มาของชื่อมาจากภาษาจีนคำว่า YUM CHA หรือ ติ่มซำนั่นเอง

เทนชินฮัง / TIEN SHINHAN นั้นมีที่มาของชื่อมาจากภาษาจีนคำว่า TIEN CHUN FAN หมายถึง ข้าวผัด

เจาสึ / CHIAOTZU นั้นมีที่มาของชื่อมาจากภาษาจีนคำว่า JIAOZI หมายถึง เกี๊ยว(ช่อง9พากย์ว่าเกี๊ยวซ่า)

รันจิ / LAUNCH นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า LUNCH หรือ อาหารกลางวัน

พิคโกโร่ / PICCOLO นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า PICCOLO คือเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆขลุ่ย

อูลอน / OOLONG นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า OOLONG หรือ ชาจีน (ชาอู่หลง)

ปูอัล / PUAR นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า PU ERH หรือ ชาจีน (ชาผู้เอ๋อ)

ท่านคาริน / KORIN นั้นมีที่มาของชื่อมาจากคำว่า KARINTO หรือ ขนมขบเขียวชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น

พ่อมดบีบีดี้ / BIBIDI , พ่อมดบาบีดี้ / BABIDI และ จอมมารบู / BUU นั้นมีที่มาของชื่อมาจาก เวทมนต์ในเรื่องซินเดอเรลล่า ของ Disney ที่ว่า “BIBBIDI-BOBBIDI-BOO ”


-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จบจากเรื่องการ์ตูน+ความทรงจำในวัยเด็กไปแล้ว มาพูดถึงเรื่องใกล้ตัวอย่างเรื่องเกมกันบ้าง

ยากที่จะปฏิเสธว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้เกม Dragon Ball Fighter Z นั้น ขายดิบขายดีเป็นเพราะมีกระแสของการ์ตูน Dragon Ball Super ช่วยผลักดันอยุ่แบบเต็มสูบ ส่วนเรื่องระบบเกมนี่ผมว่าเป็นเหตุผลเฉพาะกลุ่มพวกผู้เล่นฮาร์ดคอร์เท่านั้น พวกแฟนๆดราก้อนบอลเขาไม่ค่อยจะเรื่องมากกันหรอกกับเรื่องพวกนี้ อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่ามันเป็นรูปแบบ 2D Fighting ที่แฟนเกมไฟท์ติ้งรุ่นเก่าโหยหากันมานาน คือแค่เห็นมันเป็น 2D แบบสมัย SFC ก็ร้องกรี๊ดกันแล้วไม่ต้องพูดถึงระบบเกมเลยว่าจะเป็นยังไง(ค่อยมาลุ้นกันอีกที) ด้วยความที่ว่าการ์ตูนก็ทิ้งช่วงไปราวสิบปี ตัวเกมในรูปแบบ 2D Figting ก็ทิ้งช่วงในนานเช่นเดียวกัน พอทั้งสองอย่างมันระเบิดตู้มออกมาพร้อมๆกัน ก็ยากเหลือเกินครับที่แฟนๆจะทนกันได้ จนทำให้คนส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่แหละที่รอคอย ส่วนแฟนใหม่ๆเองก็ไม่ได้ปฏิเสธมันแต่อย่างได้ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่บ่นว่าทำไมต้านพลังไม่ได้บ้าง บินไปบินมาแบบ 3D ไม่ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยอมรับที่จะเรียนรู้ และถือว่าเกมในรุปแบบ 2D นั้นถือเป็นของใหม่ที่น่าตื่นเต้นไปกับแฟนใหม่ๆโดยปริยาย

เล่ามาถึงตรงนี้แล้วก็ขอนั้งไทม์แม็กชีนย้อนเวลากลับไปในสมัยต้นกำเนิดของเกมดราก้อนบอลในรูปแบบ 2D Fighting กันหน่อยล่ะกัน ซึ่งก็คือภาค Dragon Ball Z: Super Butōden มีด้วยกันสามภาคลงเครื่อง SFC ทั้งหมด โดยที่ภาคแรกนั้นวางจำหน่ายในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1993 (ถ้าจำไม่ผิดเหมือนจะมาหลังภาค Arcade แต่ว่าภาค Arcadeนั้นไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่)

ซึ่งภาคแรกนั้นเนื้องเรื่องจะอยู่ในช่วงศึกเซลเกมส์ แต่ว่ามี Frieza มาร่วมแจมด้วย ซึ่งความพิเศษของภาคนี้นอกจากจะเป็นภาคแรกในรูปแบบเกมไฟท์ตอ้งที่ลงให้กับเครื่อง SFC แล้ว ภาคนี้ยังมีตัวละครมากที่สุดในจำนวนทั้งสามภาคอีกด้วย(13ตัว รวมตัวละครลับด้วย)

ในส่วนของภาคสองนั้น น่าจะเป็นภาคที่ได้รับความนิยมสูงสุดถ้าผมจำไม่ผิด โดยภาคนี้นั้นจะมีตัวละครน้อยกว่าภาคแรกแต่กลับได้รับความนิยมสูงกว่า เพราะว่าในเกมได้คัดตัวละครเด็ดๆจากภาค Movie อย่าง Broly, Bojack, Zangya เอามาไว้ภายในเกมอีกด้วย และประกอบกับกระแสของการ์ตูนในช่วงนั้นกำลังขึ้นถึงขีดสูง แถมภาคเเรกก็ทำมาดีจึงไม่แปลกที่ภาคสองจะดัง

สำหรับ Dragon Ball Z: Super Butōden 3 นั้นได้ทำการยกเอาตัวละครจากภาคจอมมารบูมาทั้งชุด จะมีที่แปลกๆไม่เข้าพวกหน่อยก็คือหมายเลข18(แต่แฟนๆคงชอบ) ส่วนจุดที่ทำไม่ดีนั้นก็คือตัวละครลับนั้นดันเป็น Trunks จากโลกอนาคต ซึ่งจริงๆควรจะเป็นตัวที่ดีกว่านี้ อย่างบูเด็ก หรือ เบจิโต้ จะดีกว่า แต่ผมเองก็จำไม่ได้เหมือนกัยว่าตอนที่เกมมันออก ตัวพวกนี้มันโผล่ในการ์ตูนไปแล้วรึยัง


มีอีกภาคนึงคือ Dragon Ball Z: Hyper Dimension ซึ่งผมคิดว่า มันถึงจุดอิ่มตัวของเกมดราก้อนบอลแนว 2D ไฟท์ติ้งไปแล้วด้วยเเหละ โดยส่วนตัวแล้วจึงเฉยๆมากกับภาคนี้ แต่ก็ไม่รู้ว่าคนอื่นเขาจะ Hype กันต่อรึเปล่านะ


ความสนุกของซีรี่ย์ Super Butōden ทั้งสามภาคคือมันเล่นง่ายครับไม่ต้องคิดอะไรกันมากสำหรับเด็กๆสมัยนั้น แค่กดบินกันไปมา ช็าจพลังปล่อยก็ปล่อยท่าใหญ่ใส่กัน บางท่าโยกหลบได้ บางท่าใช้มือปัดได้ บางท่าก็ต้อยิงพลังโต้กัน ซึ่งมันก็สนุกเรียบง่ายแบบเด็กๆไปตามเรื่องราวราวแหละครับ จนกระทั้งยุคสมัยมันเปลี่ยนไป จากเกม 2D มันก็เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบ 3D ตามที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน จนกระทั้งถูกชุบชีวิตมาใน DBFZ อีกครั้งนี่แหละครับ ทำให้คนที่ทันเกมในยุค SFC นั้น Hype กันมาก

ในสมัยนั้นนอกจากเกมแนวไฟท์ติ้งแล้วอีกหนึ่งแนวที่น่าจดจำสำหรับแฟนๆดราก้อนบอลก็คือแนว RPG ครับ ซึ่งเกมในตำนานของเด็กๆสมัยนั้นต้องย้อยกลับไปเก่ากว่าสมัยเครื่อง SFC อีก นั้นก็คือในยุคของเครื่อง FC นู้นเลย กับเกมที่เด็กๆสมัยนั้นเรียกว่า ดราก้อนบอลเปิดไพ่ คำว่าเปิดไพ่นี่ก็มาจากในเวลาที่เราต้องต่อสู้กับศัตรูนั้นเราต้องทำการเป็นการ์ดขึ้นมาเพื่อใช้ท่าไม่ตายต่างๆ หรือใช้จำนวนดาวในไพ่สำหรับการเดินในเกมแต่ละช่อง ซึ่งตรงนี้ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ซึ่งภาคที่เด็กไทยน่าจะชอบกันมากที่สุดก็คือภาค Dragon Ball Z II: Gekishin Freeza หรือภาคตะลุยดาวนาเม็กนั่นเอง ความสนุกของมันก็คือ เราสามารถเอาตัวละครอย่าง หยำฉา เทนชินฮัง เจาสึ เข้าร่วมในการเดินทางไปยังดาวนาเม็กได้ด้วย ในการต่อสู้ก็มีบลูม่าคอยเติมพลังให้ทุกเทิร์น ในเกมมีการชิงไหวชิงพริบกับฝ่ายศัตรูในการแย่งชิงดราก้อนบอล ถือเป็นเกมเทพของเด็กๆในยุคนั้นเลยครับ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------

จริงๆแล้วเรื่องราวของดราก้อนบอลนั้นยังมีอีกเยอะ แต่ถ้าจะให้ผมมาเล่าทุกรายละเอียดของช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า30ปีจนครบถึงว่าคงใช้เวลานานมากๆ ทั้งขนมเอย ของเล่นเอย สมุดสะสมสติ๊กเกอร์ เพลง ชา ลา เฮด ชา ลา ที่ร้องกันได้ทั่วบ้านทั่วเมือง อีกมากมายสารพัดจริงๆสำหรับการ์ตูนเรื่องนี้ ใครที่เกิดทันการ์ตูนเรื่องนี้สมัยแรกๆก็ไม่อายวัยรุ่นเขาล้อกันครับ ถือว่าโชคดีกว่ามากที่ได้อยู่ในช่วงเวลาที่มันเป็นตำนานจริง ได้เห็น ได้สำผัส ได้เล่น และได้มีส่วนร่วมตามยุคสมัยและกาลเวลาอย่างเต็มที่

สุดท้ายก็ขอฝาดเกม DBFZ ไว้ด้วยแล้วกันครับ เล่นกันให้สนุก เล่นกันให้ผ่อนคลาย แล้วอย่าลืมมาสมัครแข่งในงาน TGU 2018 ด้วยนะ




[Edited 1 times ToreZ - Last Edit 2018-02-24 15:57:16]

Reply
Vote




1 online users
Logged In :