Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
ตัวอย่าง พระถังซัมจั๋ง (ที่ไม่ใช่ไซอิ๋ว ไม่มีเห้งเจีย ปีศาจ)
toranin at 2015-12-18 16:16:11 , Reads (2806), Comments (0) , Source :









ตัวอย่างพระถังซัมจั๋ง เวอร์ชั่นซีเรียส ไม่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

Monk Xuanzang เริ่มต้นถ่ายทำกันเมื่อกลางปี 2015 ที่ภูเขาเพลิง อันโด่งดังของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ นอกจากนั้นก็ยังเดินทางไปถ่ายทำในหลายๆ เขตของทั้งอินเดีย และจีนแผ่นดินใหญ่ โดยหนังเป็นผลงานการกำกับของ ฮั่วเจี่ยนฉี และยังมีผู้กำกับคนดังแห่งฮ่องกง หว่องกาไว มานั่งเก้าอี้เป็นผู้อำนวยการสร้างด้วย
[Link]

.

##############################################################################################################



เกร็ดเล็กๆน้อยๆเรื่องพระถังซัมจั๋ง และพุทธศาสนาในจีน

ภิกษุองค์แรกของจีนที่เดินทางจากจีนถึงอินเดีย คือ พระฮวบเฮี้ยน (ฟาเหียน) อยู่สมัยราชวงศ์ซุ้ย (อยู่ในยุคหลังๆของราชวงศ์จิ้นของสุมาอี้อีกที) โดยทางบกถึงเกาะลังกา และจากลังกากลับจีนทางเรือใช้เวลาเดินทางรวม 12 ปี และท่านเป็นพระภิกษุจีนองค์แรกที่ได้แปลพระสูตรด้วยตนเอง และได้เขียนเรือง "บันทึกพุทธเกษตร" ไว้หนึ่งเล่ม นับเป็นหนังสือเล่มแรกที่พระจีนได้บันทึกพระพุทธศาสนาและเรื่องราวของอินเดียไว้ให้คนรุ่นหลังทราบ (มีฉบับแปลไทย โดยท่านเจ้าคุณสุรินทรฤาชัย)


ส่วน "พระถังซัมจั๋ง" (พระภิกษุเฮียนจัง, เสวียนจั้ง) อยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้เดินทางไปอาราธนาพระธรรมที่อินเดียโดยทางบก พ.ศ.1172 และกลับทางบกเช่นกัน เมื่อพ.ศ.1188 รวมเป็นเวลา 17 ปี ในระหว่างอยู่ในอารามนาลันทาซึ่งมีพระสงฆ์อยู่กว่าหมื่นองค์ ได้รับยกย่องให้เป็นพระอันดับ 1 ใน 10 องค์ และได้แปลพระสูตรไว้ 3,338 พระสูตร สร้างคุณความดีให้กับพุทธศาสนาจีนอย่างมาก และยังได้แต่งเรื่อง "บันทึกแคว้นภาคตะวันตก" ซึ่งต่อมาเป็นหนังสือเพียงเล่มเดียวที่ทำให้เราทราบถึงประวัติภูมิประเทศพุทธศาสนาของอินเดียในสมัยพุทธกาล และในสมัยต่อมาอย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นหนังสืออันทรงคุณค่ายิ่งยวดสำหรับชาวโลกทั่วไป และพระฮุยลิบ ลูกศิษย์ของพระเฮียนจังได้เขียนประวัติการเดินทางของท่านไว้เล่มหนึ่ง คือ "ประวัติพระธรรมาจารย์แห่งวัดชืออึง (คือประวัติพระเฮียนจัง มีฉบับแปลไทย โดย คุรเซียวเคงเหลียง สีบุญเรือง ในชื่อไทยว่า "ประวัติพระถังซัมจั๋ง คำว่าซัมจั๋ง แปลว่า ไตรปิฎก จีนนิยมเรียกพระที่แปลพระสูตรว่า ซัมจั๋งฮวบซือ แปลว่าพระอาจารย์ไตรปิฎก คำว่าถังซัมจั๋งก็คือพระอาจารย์ไตรปิฎกแห่ราชวงศ์ถัง)

หลังจากพระถังแล้ว ต่อมาในยุคถังก็ยังมี พระงี่เจ็ง (อีจิง) เดินทางไปอินเดียทางเรือ 2 รอบ คือออกเดินทางพ.ศ.1214 กลับพ.ศ.1232 และเดินทางไปในปีเดียวกันอีก แล้วกลับอีกครั้งพ.ศ.1239 รวมเวลา 25ปี

เครดิต จากหนังสือ ประวัติวัฒนธรรมจีน ของ ล.เสถียรสุต


ดังนั้นพระถังตัวจริงจึงเป็นผู้ที่มีคุณูปการกับพุทธศาสนาในจีนเป็นอย่างมาก

แต่ถามว่าทำไมพุทธในจีนถึงแตกแยกเป็นหลายนิกาย แถมเอียงไปทางเทพเจ้า อิทธิฤทธิ์ อันนี้ก็เพราะว่าพุทธศาสนาในจีนผ่านยุคตกต่ำ ถูกกวาดล้างมาหลายครั้ง โดยเฉพาะภัย 3 บู๊ 1 จง (บู๊ตี่ ราชวงศ์งุ่ย, บู๊ตี่ ราชวงศ์จิว, บู๊จง ราชวงศ์ถัง, ซีจง ราชวงศ์จิวอันหลัง) ที่กวาดล้างทำลายวัดทั่วราชอาณาจักร จับพระสึกทั้งหมด +ปัญหาการเมือง เช่นกษัตริย์ราชวงศ์ถัง สืบสกุลมาจากแซ่ลี้ แซ่เดียวกับเหล่าจื้อผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋า (เหล่าจื้อจถึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบรรพบุรุษแห่งชาติ) พุทธในจีนเลยมีการบิดเบือนเปลี่ยนคำสอนให้เอียงไปทางอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์เพื่อเอาใจคนส่วนใหญ่ที่นับถือเต๋า +ความเสื่อมโทรม เช่นพระเริ่มมีการทำพิธีกงเต็กเพื่อเรี่ยไรเงิน ในสมัยที่พระต้องเช่ากุฎิอยู่


ก็ไม่รู้ว่าจะได้เข้าฉายโรงบ้านเรารึเปล่า แต่อย่างน้อยคงได้ออกเป็นแผ่น ให้ไปหาดูกันได้ ก็ไม่รู้ว่าในหนังจะสร้างออกมาดีมั๊ยนะ (อย่าง ซีรีส์ "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" อันนั้นก็ทำเนื้อหาเอียงไปทางฮินดู แน่นอนสร้างให้คนอินเดียที่เป็นฮินดูดู) แต่ถึงยังไงหนังชีวประวัติของพระถังซัมจั๋งแบบจริงๆก็เป็นอะไรที่น่าสนใจ +แปลกใหม่ เพราะส่วนใหญ่เรื่องของพระถังซัมจั๋งจะถูกสร้างออกมาในรูปแบบของไซอิ๋ว แทบจะร้อยทั้งร้อย

(Click to expand)


แสดงความคิดเห็น