Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
ดาวฤกษ์บรรพบุรุษของระบบสุริยะ

<<
<
1
Reply
Vote
# Wed 8 Feb 2017 : 3:24PM

Iseria Queen
member
แป๊กให้อยากแล้วจากไป
เจ้าสำนักหลังเขารุ่นที่ 1
ส่องหาแต่นม #5
Since 17/11/2007
(16392 post)
เคยอ่านและดูสารคดี เค้าว่าระบบสุริยะของเราก่อกำเนิดมาจากซุปเปอร์โนว่า ก่อนจะค่อยๆฟอร์มตัวกลายเป็นดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ต่างๆ อย่างในปัจจุบัน แสดงว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดซุปเปอร์โนว่า บริเวณระบบสุริยะของเรานี้ เคยมีดาวฤกษ์ยุคก่อนดวงอาทิตย์มาอยู่แล้ว ใช่ไหมครับ จำได้ลางๆว่า ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่ 3 หรือไงเนี่ย (ขอเรียกดาวฤกษ์ยุคก่อนดวงอาทิตย์ว่า ว่าดาวฤกษ์บรรพบุรุษ)

คำถามคือ

- นักดาราศาสตร์ มีวิธีคำนวณกลับหรือประมาณการเพื่อหาว่า ดาวฤกษ์บรรพบุรุษของระบบสุริยะนั้น มีขนาดเท่าไหร่ มีมวลเท่าไหร่ มีอุณหภูมิเท่าไหร่ มีอายุขัยกี่ปี หรือเปล่าครับ?

- ถ้ามี อยากทราบว่าดาวฤกษ์บรรพบุรุษระบบสุริยะนี้ น่าจะใหญ่ขนาดไหน ใหญ่ไปถึงวงโคจรดาวเคราะห์รอบนอกของระบบสุริยะเลยหรือเปล่าครับ

- ดาวฤกษ์บรรพบบุรุษนี้ มีระบบดาว หรือดาวเคราะห์โคจรรอบมันเหมือนระบบสุริยะในปัจจุบันไหมครับ ถ้ามีดาวเคราะห์ที่ว่านี้ จะมีลักษณะเหมือนหรือต่างไปจากดาวเคราะห์ยุคปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน (เข้าใจว่าพวกธาตุหนักอย่างคาร์บอน เหล็ก อะไรพวกนี้ เกิดขึ้นมาหลังการระเบิดซุปเปอร์โนว่า)

- เวลาส่องกล้องไปดูดาวฤกษ์ต่างๆ นักดาราศาสตร์สามารถประเมินอายุของดาว รู้ได้ไหมครับว่ามันเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่เท่าไหร่ เกิดมาตั้งแต่ยุคบรรพกาลแล้วหรือเปล่า

- ดาวฤกษ์บรรพกาล จะมีขนาด อุณภูมิ และมวลมากกว่าดาวฤกษ์ยุคหลังๆที่เกิดขึ้นมาใหม่เสมอเลยหรือเปล่าครับ (ถ้าไม่นับพวกดาวกฤกษ์ใกล้ตาย ที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดงนะครับ อย่างพวกพี่บิ๊กๆ VY เมเจอริส อะไรทั้งหลายแหล่ที่ค้นพบกันตอนนี้นี่ เป็นดาวฤกษ์ยุคไหน?)

- จากข้อบน ดาวกฤษ์ยุคหลังๆที่เกิดมาจะมีขนาดและปลดปล่อยพลังงานน้อยลงไปเรื่อยๆ จนไม่มีพลังงานพอที่จะสร้างซุปเปอโนว่า และฟอร์มตัวเป็นดาวฤกษ์ได้อีก สุดท้ายกลายเป็นดาวแคระนู่นแคระนี่ไป อันนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ถามเยอะเลย ผมเป็นเด็กศิลป์ที่ชื่นชอบดาราศาสตร์ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ

ปล.ใครเข้ามาเพราะคิดว่าเป็นกระทู้ดัก ไม่ใช่นะ นี้กระทู้ถามความรู้เน้นๆ


# Wed 8 Feb 2017 : 4:02PM

kenzen
member

Since 31/3/2010
(1523 post)
เอาจริงๆเหรอครับ???

ใช้ดูจากแสงสีที่เปลี่ยนไป ตามปรากฏการณ์doppler แสงเป็นคลื่น เมื่อมีการเคลื่อนที่ มีผลให้ความยาวคลื่นเปลี่ยนไป สังเกตได้จากสีในสเปคตรัม (แดงยาวสุด ม่วงสั้นสุด)

# Wed 8 Feb 2017 : 7:00PM

zionzz
member

Since 11/5/2006
(14288 post)
เอ่อ ก่อนอื่นต้องบอกว่า รุ่นอะไรนี่ไม่มีใครทราบแน่นอนหรอกนะครับ มันเป็นทฤษฏีทั้งนั้น (ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์สามารถหักล้างได้ถ้ามีทฤษฏีใหม่ที่ดีกว่า)

ยุคที่ว่ามันคือการแบ่งประเภทคร่าวๆครับ ดวงอาทิตย์เราคือยุคที่ 2 นะ

supernova มันคือการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดกาแลคซี่ขึ้นมาภายหลังได้ครับ ดาวที่ว่านี่ต้องมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เราหลายเท่าตัวมากๆ ถึงจะทำได้

วิธีวัดอายุเขาใช้คลื่นต่างๆที่ดวงอาทิตย์ปล่อย วัดจำนวนฮีเลี่ยม ไฮโดรเจน ฯลฯ แล้วเอามาเข้าสูตรของเขาคำนวนอายุ

แล้วก็พวกโครงสร้างดาวฤกษ์ก็คล้ายๆกันหมดครับ คือจะเริ่มที่ไฮโดรเจนฟิวชั่นเป็นฮีเลี่ยม แล้วจากนั้นจะเป็นอะไรก็ว่ากันอีกที

# Thu 9 Feb 2017 : 9:58AM

louisdog
member

Since 2012-08-03 11:47:10
(459 post)
ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ เนบิวล่าต่างๆดูครับ

คร่าวๆก็ธาตุต่างๆหลังการระเบิดของดาวฤกษ์ที่มีมวลมหาศาล หรือที่เรียกการระเบิดว่าsuper nova
ก็จะลอยเคว้งคว้างอยู่ในห้วงอวกาศเป็นเนบิวล่า

บริเวณไหนเกิดสนามแรงโน้มถ่วงที่มีแรงดึงดูดมากพอ
ก็จะดึงดูดสสารพวกนี้เข้ามาร่วมตัวกันเป็นดวงดาว

ถ้าไฮโดรเจนบริเวณนั้นมากก็มีโอกาสจะเกิดเป็นดาวฤกษ์ได้
หรือถ้าเป็นธาตุอิ่นๆก็อาจกลายเป็นดาวเคราะห์

พอดาวหลายๆดวงมาอยู่ใกล้กันก็จะเกิดการโคจร
รอบๆดาวที่มวลมากกว่า เช่นโลกกับดวงจันทร์ ใหญ่กว่าก็ระบบสุริยะ

# Thu 9 Feb 2017 : 10:41AM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5791 post)
ผมเคยได้ยินทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลวนเวียนด้วยพลังแห่งแสง ที่จะมีปรากฏการณ์ทำลายกาแลคซี่หนึ่งด้วยดาวฤกษ์ ซึ่งจะส่งผลให้อีกกาแลคซี่หนึ่งสมดุลย์ด้วยพลังแห่งแสง กาแลคซี่หนึ่งแบ่งออกเป็นอีกหลายเซกเตอร์ เพื่อการหมุนเวียนและถ่ายเถของพลังที่ไม่มีที่สิ้นสุด

<<
<
1
Reply
Vote




1 online users
Logged In :