Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
กระทู้คุยข่าวสารบ้านเมืองไทย ที่เราเลี่ยงคุยเรื่องสถาบันกัน V3

<<
<
553
554
555
556
557
558
Reply
Vote
# Sun 27 Oct 2024 : 7:50AM

marcust
member

Since 22/9/2008
(10142 post)
ผมเห็นด้วยกะพรรคๆนึงนะ ที่มีแนวคิดให้เค้าแยกๆ ไปเพราะเป็นดินแดนเค้ามาแต่โบราณแล้วเราไปยึดเค้ามา

สิ่งที่รัฐต้องทำคือหาที่อยู่ที่ทำกินให้คในพื้นที่ได้แยกตัวออกมา
[Edited 1 times marcust - Last Edit 2024-10-27 07:57:44]
View all 6 comments >


# Sun 27 Oct 2024 : 8:49AM

Por_EcrosS
member

Since 2011-10-22 01:48:53
(1482 post)


ไม่ใช่การเข้าใจผิดหรือพูดผิด แต่ถ้าเป็นคนที่ติดตามการเมืองเชิงนโยบายและการกระจายอำนาจอยู่บ้าง คงทราบได้ว่าในการเลือกตั้งปี 66 พรรคก้าวไกลมีนโยบายกระจายอำนาจเป็นนโยบายสำคัญ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารท้องถิ่นรวมถึงส่วนภูมิภาค และจะมีตำแหน่งชื่อ นายกจังหวัด นายกเขต ขึ้นมา โดยใช้คำที่เหมือนกันนายกเทศมนตรี(ซึ่งแน่นอนว่าไม่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน แบบที่แอคเคาท์นี้กล่าวถึงแต่อย่างใด) เป็นต้น

ตามชุดนโยบายดังกล่าว ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเป็นนายกประเทศหรือการแบ่งแยกดินแดน ไม่ใช่การพูดผิด ไม่ใช่การตัดต่อ ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของนโยบายหมวดการกระจายอำนาจพรรคก้าวไกลในอดีตได้ที่นี่
[Link]


ส่วนเรื่อง explainer รอทางพรรคสรุปมาแล้วมาแชร์ให้ครับ
View all 8 comments >

# Sun 27 Oct 2024 : 8:54AM

Por_EcrosS
member

Since 2011-10-22 01:48:53
(1482 post)
กระทู้สด ถาม รมต.คมนาคม การคิดเก็บ #ค่าธรรมเนียมรถติด จะแก้ปัญหารถติด ตรงจุดหรือไม่ หรือ เน้นแค่หาเงินเวนคืนรถไฟฟ้า?

ถ้ารัฐบาลจะแก้รถติด ต้องปรับปรุง #ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ทั้งระบบให้เป็นทางเลือกที่ดีกับประชาชนให้ได้
.
ก่อนอื่นต้องบอกว่า ตัวผมสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ, การลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อแก้ปัญหารถติด, การลดค่าใช้จ่ายของระบบขนส่งมวลชน และผมทราบดีว่าหลายประเทศที่เจริญแล้ว อย่างสิงคโปร์, สหราชอาณาจักร ที่กรุงลอนดอน หรือ ประเทศอิตาลี เมืองมิลานได้ มีการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (#CongestionCharge) และสามารถแก้ปัญหารถติดได้จริง
.









ต้นโพส [Link]
View all 2 comments >

# Sun 27 Oct 2024 : 5:54PM

Por_EcrosS
member

Since 2011-10-22 01:48:53
(1482 post)
ขออนุญาติ ยกโพส มาข้างนอกนะครับเรื่อง คลิปพิธาพูดนะครับ

#FactCheck

ก่อนอื่นขอเริ่มจาก  1.ความถูกต้องเหมาะสมของข้อมูลครับ

ตามโพสต์ที่ให้ข้อมูลว่า (รูปที่หนึ่ง)

ภาษีที่จัดเก็บได้

ยะลา - 5.19 พันล้าน
ปัตตานี - 6.8 พันล้าน
นราธิวาส - 6.77 พันล้าน
.
งบประมาณที่ได้
ยะลา - 9.08 พันล้าน
ปัตตานี - 9.44 พันล้าน
นราธิวาส - 8.17 พันล้าน

ข้อเท็จจริงคือ

ข้อมูลส่วนแรกไม่ใช่ภาษีที่จัดเก็บได้ แต่คือ “ที่มารายได้รวมท้องถิ่นรายจังหวัด” ซึ่งหมายถึง เงินที่ “องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น” ในแต่ละจังหวัดได้ ประกอบด้วย เงินอุดหนุน รัฐจัดสรร และที่จัดเก็บเองได้ (ข้อมูลจาก ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ: govspending.data.go.th/dashboard/7 สามารถกดดูรายจังหวัดได้)

ข้อมูลส่วนที่สองก็ไม่ใช่งบประมาณในรูปแบบเดียวกัน จึงเปรียบเทียบกันได้ยาก เพราะเป็นชุดข้อมูลของ งบประมาณรายพื้นที่จังหวัด ที่เป็น Area based (ข้อมูลของสำนักงบประมาณ: bb.go.th/web/budget/pro…) คือบอกว่าในพื้นที่นี้ มีงบทั้งหมดทุกหน่วยงาน ทุกโครงการ เท่าไหร่บ้าง ซึ่งต่างจากชุดข้อมูลแรกที่เป็นข้อมูลสำหรับ อปท. เท่านั้น

และแน่นอนว่าข้อมูลส่วนแรกไม่ใช่ ภาษีที่จัดเก็บได้…

ทำไมจึงใช้เทียบกันไม่ได้ จะขอยกตัวอย่างจังหวัดนนทบุรีครับ

ลองกดดู ที่มารายได้รวมท้องถิ่นของจังหวัดนนทบุรี (ที่ในโพสต์ต้นทางบอกว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บได้) ได้รับทั้งหมด 14,767 ล้านบาท ก็ถือว่าเยอะเพราะได้รับมากเป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ(ในปีงบ 66) แต่ไม่ได้ห่างแบบหลายเท่าเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น (รูปที่สอง)

แต่เมื่อมาดูในฐานข้อมูลส่วนที่สอง งบประมาณรายพื้นที่จังหวัด (ที่ในโพสต์ต้นทางบอกว่าเป็นงบประมาณที่ได้) จะพบว่านนทบุรีได้รับถึง 251,842,669,200 ล้านบาท! (รูปที่สาม)

ทำไมงบที่ อปท.ในนนทบุรีได้หมื่นกว่าล้าน มากเป็นอันดับ 9 ของประเทศ ถึงได้แตกต่างกับงบที่ลงในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีขนาดนั้น ตั้งสองแสนห้าหมื่นล้าน?

คำตอบคือ ข้อมูลในส่วนที่สอง ไม่ได้จำแนกว่าลงไปที่ใดบ้าง เป็นข้อมูล Area based ที่รวมทุกอย่างมาทั้งหมด และสาเหตุที่จำนวนเงินต่างกันขนาดนั้น ก็เพราะในจังหวัดนนทบุรีมีหน่วยราชการส่วนกลางอยู่หลายแห่ง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กรมการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ฯลฯ

งบประมาณที่ลงไปยังหน่วยงานส่วนกลางเหล่านั้นก็จะถูกนับรวมอยู่ใน งบประมาณรายพื้นที่จังหวัดนนทบุรีนี้ด้วย ดังนั้นจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลส่วนแรกที่เป็นรายได้รวมท้องถิ่นรายจังหวัด

2. สามจังหวัดชายแดนใต้เก็บรายได้ได้น้อย กระจายอำนาจแล้วจะไม่รอด?

ขอยกตัวอย่างจังหวัดยะลา ที่มารายได้รวมท้องถิ่นของจังหวัดยะลาอยู่ที่ 5,192 ล้านบาท (รูปที่สี่ สังเกตุตัวเลขตรงกับต้นโพสต์) จะเห็นได้ว่าในรายได้ส่วนนี้มีทั้ง เงินอุดหนุน รัฐจัดสรร และ จัดเก็บเอง

คำถามตรงนี้ คือ จังหวัดยะลาจัดเก็บได้น้อยแบบนี้ ถ้ากระจายอำนาจไป จะเลี้ยงตัวเองไม่ได้ใช่หรือไม่?

ต้องบอกว่าเป็นการตั้งคำถามที่ผิด อาจเพราะไม่เข้าใจเรื่องการจัดเก็บภาษีและการบริหารการคลัง

คือไม่มีท้องถิ่นที่ไหนในประเทศไทยเลยซักแห่งที่จัดเก็บรายได้เองได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ตัวอย่างที่จัดเก็บได้เยอะ เช่น ภูเก็ต เก็บได้ 28.77% ของรายได้ พัทยา 22.68% ระยอง 18.28%, กทม. 17.15%

ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่อาจจะห่างไกลหน่อยหรือมีควาามเป็นเมืองน้อยกว่าก็ไม่ต่างกันมาก เช่น ยะลา 4.07%, ปัตตานี 2.92%, นราธิวาส 2.39%, อำนาจเจริญ 3.18%, น่าน 3.70%, เลย 3.61% เป็นต้น

เป็นเรื่องปกติที่ส่วนกลางต้องให้เงินท้องถิ่นเพราะส่วนกลางนั้นผูกขาดการหารายได้เอาไว้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีสรรพสามิต, ภาษีศุลกากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ฯลฯ เหล่านี้คือรายได้หลักของรัฐที่เก็บเข้าสู่ส่วนกลาง แล้วในบางแหล่งรายได้จะค่อยแบ่งกลับมาให้ท้องถิ่นต่างๆ ตามสัดส่วนที่กำหนดกันไว้อีกรอบหนึ่ง ซึ่งส่วนนี้คืออยู่ในส่วนของงบท้องถิ่นที่รัฐจัดสรร

ซึ่งในกรณีนี้ก็มีปัญหา เพราะตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ก็กำหนดสัดส่วนที่จะให้ส่วนกลาางแบ่งให้ท้องถิ่นแต่ละที่อย่างหยาบเกินไป ไม่ตอบสนองต่อความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ และที่สำคัญคือยังน้อยเกินไป

โดยที่ท้องถิ่นมีอำนาจจัดเก็บรายได้ที่จำกัดมาก เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตบางประเภทเท่านั้น ซึ่งนับเป็นจำนวนเงินอย่างไรก็ไม่เพียงพอ

อีกแบบหนึ่งคือเงินอุดหนุนตามงบประมาณ ที่มีทั้งทั่วไปและเฉพาะกิจตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนกลางให้ท้องถิ่นเพื่อเติมให้เพียงพอ บางครั้งก็เป็นงบฝาก ที่ท้องถิ่นทำอะไรไม่ได้นอกจากส่งต่อให้ประชาชน เช่น เงินคนชรา ส่วนเฉพาะกิจอาจมีลักษณะให้เพื่อให้ท้องถิ่นทำโครงการตามมนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ

โดยสรุป รายได้ของท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีสัดส่วนโดยประมาณ คือ งบที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง ประมาณ 10% งบที่รัฐจัดสรร (รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้) ประมาณ 50% และ เงินอุดหนุนผ่านงบประมาณแผ่นดิน ประมาณ 40%

ซึ่งเมื่อต้องการรู้ว่าท้องถิ่นได้งบประมาณพอหรือไม่ ต้องไปดูสัดส่วนงบที่ลงสู่ท้องถิ่นในแต่ละปี โดยรัฐสัญญาไว้ว่าจะมีสัดส่วน 35% แต่ในความเป็นจริง ยังอยู่ที่ 29% แถวๆ นี้มาเป็นสิบปีแล้ว ไม่มีการขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มิหนำซ้ำงบส่วนหนึ่งยังเป็น “งบฝาก” ที่รัฐฝากให้ท้องถิ่นทำงานแทนเท่านั้น แต่ก็นำมาคิดรวมด้วย ทำให้งบประมาณที่ท้องถิ่นได้จริงๆ ยิ่งน้อยกว่าเป้าหมายลงไปมาก ส่งผลให้การกระจายอำนาจยังไม่เดินหน้าได้ซักเท่าไหร่

ดังนั้นการบอกว่าเงินภาษีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง จึงไม่มีความหมาย เป็นการพูดโดยไม่เข้าใจบริบท เพราะไม่มีท้องถิ่นใดเลยในประเทศไทยที่เก็บรายได้พอเลี้ยงตัวเอง เนื่องจากส่วนกลางเป็นคนจัดเก็บรายได้หลักแล้วถึงค่อยแบ่งให้ท้องถิ่น ท้องถิ่นเก็บภาษีหลักๆ เองไม่ได้

พรรคก้าวไกลในเวลานั้นจึงมีนโยบายเรื่องกระจายอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น

- เลือกตั้งผู้ว่าฯ(นายกจังหวัด) ทุกจังหวัด ปรับโครงสร้างให้หัวหน้าจังหวัดมีคนเดียว จากตอนนี้ที่มีสองคือ ผู้ว่าฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งมา และนายก อบจ. ที่ได้รับการเลือกตั้งมา (แต่โดยอำนาจแล้วผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้งมีอำนาจมากกว่า นายก อบจ.) โดยผ่านการทำประชามติ และไม่มีใครต้องตกงาน เพราะมีแผนในการเปลี่ยนสังกัดของข้าราชการที่ชัดเจน

- เพิ่มงบท้องถิ่นให้เข้าใกล้เป้าหมายที่ 35% ให้เร็วที่สุด ภายในสี่ปี งบของ อบจ. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 250 ล้านบาท ต่อจังหวัด งบของ เทศบาลนคร-เทศบาลเมือง จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 ล้านบาทต่อเมือง งบของ เทศบาลตำบล-อบต. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20 ล้านบาทต่อตำบล งบของ กทม. จะเพิ่มขึ้น 3,300 ล้านบาท งบของ พัทยา จะเพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท
- ปลดล็อกให้ท้องถิ่นมีอำนาจหารายได้ผ่านช่องทางใหม่ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากส่วนกลาง เช่น กู้เงิน ออกพันธบัตร ร่วมทุนเอกชน ตั้งสหการ สร้างวิสาหกิจท้องถิ่นเอง
- ท้องถิ่นจัดทำบริการสาธารณะได้ทั้งหมด ยกเว้น ทหาร-ศาล-เงินตรา-การต่างประเทศ โดยกำหนดหลักการว่าอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ (เช่น ถนน ขนส่ง ขยะ ไฟฟ้า ประปา โรงเรียน โรงพยาบาล) เป็นของท้องถิ่น โดยรัฐส่วนกลางมีเพียงบทบาทในการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศ และออกแบบตัวชี้วัดเพื่อประเมิน-วัดผลการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่น
- ยกเลิกกฎระเบียบและคำสั่ง คสช. ที่ล็อกคอ-ล้วงลูกท้องถิ่น เพราะปัจจุบันมีกฎระเบียบที่ทำให้ท้องถิ่นทำงานได้ยากลำบาก และเมื่อมีข้อพิพาท ผลที่ตามมามักไม่เป็นคุณกับท้องถิ่น

และอื่นๆ อีกมากมายที่จะต้องอธิบายกันอีกยาวครับ และพรรคประชาชนก็จะขับเคลื่อนเรื่องการกระจายอำนาจในทิศทางเดียวกันกับพรรคก้าวไกลต่อไป

อย่างไรก็ตาม การตัดคลิปสั้นมาแค่ไม่กี่วินาทีมาวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และตัวผู้เขียนเองก็ไม่มีความรู้ด้านนี้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นได้ โปรดกระทำด้วยความระมัดระวังครับ

#FactCheckPPLE #explainerPPLE #กระจายอำนาจ

[Link]
[Edited 1 times Por_EcrosS - Last Edit 2024-10-27 17:56:18]

# Sun 27 Oct 2024 : 8:47PM

Godzeus
member
หม้อดีตีแล้วฟิน
Since 2012-12-04 21:26:30
(4880 post)
ผมไม่เข้าใจว่า พูดแบบ ว่าให้ท้องถิ่นเก็บเงินเอง บริหารเอง แบบที่คุยกันจะเอากันแค่ไหนครับ หรือจะพูดเอาใจคนท้องถิ่นแต่นั้น

จะพูดแบบให้ จัดเก็บกันเอง ผ่านเครือข่าย อบต. ,หรือประดับจังหวัดไหม
ถ้าพวก อบต. นี่ตัวดีเลย ความโปร่งใสน้อยไป
ถ้าระบบเทศกิจ ก็พอมีอยู่แล้วนะ

ถ้าแบบ แบทเทิ้ลโรยัล หากันเองบริหารกันเองผมว่า ท้องที่นั้นหาเงินไม่พอ เพราะปกติ รายได้บางส่วน มาเกิดจากสัมปทาน ,ภาษีเอกชน ,ภาษีนำเข้า ,ส่งออก จากส่วนกลาง ปัจจุบัน พวกท้องที่ห่างไกล มันขะเป็นรูปแบบ เอาเงินขากส่วนกลางมาเพิ่มให้บริหารมากกว่า
[Edited 1 times Godzeus - Last Edit 2024-10-27 22:01:32]
View all 1 comments >

<<
<
553
554
555
556
557
558
Reply
Vote




15 online users
Logged In : Pompoko