Dunkirk ชอบไหม ดูแล้วให้กี่คะแนน มาคุยกัน
หนังมีจุดเด่นที่การเล่าเรื่อง ยังไง
3. หนังเล่าเรื่องด้วยภาพ (บทพูดน้อย) หนังใช้บรรยากาศในการเล่าเรื่อง ใช้เพลงประกอบและเสียงในการเล่าเรื่อง (เอาเสียงนาฬิกามาช่วยสร้างความรู้สึกบีบคั้น) หนังมีความหว่อง แบบหว่องกาไวนิดๆ กับบรรยากาศเวิ้งว้าง เนิบๆ จับอารมณ์ในขณะนั้น แต่นี่มันหนังมันจะมีเสียงอึกทึกมาให้ได้ยินเกือบตลอด ดนตรีก็แทบไม่หยุด คืออารมณ์ในสถานการณ์ขณะนั้น เวลามันกระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะเจอกับอะไร จะเกิดอะไรขึ้น มันรอไม่ได้ มันรู้สึกกระวนกระวายใจ
2. หนังเล่าเรื่อง 3 มุมมอง คือ บนบก ในน้ำ บนฟ้า (อย่างที่โนแลนเคยบอกเอาไว้) สลับไปมา พร้อมๆกัน วิธีการเล่าเรื่องก็สไตล์โนแลน คือแบบ Memento, Inception ที่เล่าเรื่องย้อนขึ้นไปทีละส่วน อย่าง Inception เวลาในความฝันแต่ละชั้นที่ลึกลงไปก็จะทดเวลา แล้วย้อนกลับขึ้นมาทีละชั้น ๆ อะไรแบบนั้น แต่ Dunkirk ดูง่ายกว่า
1. หนังเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ Dunkirk ก็ตามชื่อเรื่อง "คือธีมของเรื่องนี่ดูจากชื่อเรื่องก็ได้ ชื่อหนังมีความสำคัญยังไง ทำไมผู้กำกับเลือกใช้ชื่อนี้ ชื่อหนังต้องการสื่ออะไร" อย่าง Dunkirk นี่ก็ชัดเจน คือโนแลนต้องการเล่าเรื่องของ Dunkirk ไม่ได้เล่าเรื่องของพลทหาร หรือการสู้รบกัน เหมือนหนังสงครามเรื่องอื่นๆ เพราะฉะนั้นหนังจะไม่เล่าปูมหลังตัวละคร หรือเน้นฉากรบแบบหนังสงครามเรื่องอื่นๆ อย่าง Saving Private Ryan ก็ตามชื่อเรื่อง หนังไปเน้นเรื่องตัวละคร (สมมุติ) หลายคนดูแล้วไม่รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นที่ไหน เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ 2 ก็มี หรืออย่าง Black Hawk Dawn ที่เน้นฉากแอ็คชั่น แต่ Dunkirk ไม่ได้เล่าเรื่องแบบนั้น หนัง Dunkirk เล่าเรื่องของ Dunkirk จริงๆ แล้วก็จับประเด็นว่าในเหตุการณ์ที่ Dunkirk มันมีหัวใจสำคัญเรื่องอะไร เรื่องการให้การช่วยเหลือ เรื่องการดิ้นรนเอาชีวิตรอด
(ตั้งใจเขียนย้อนจาก 3 ไป 1 แต่จะอ่านจาก 1 ไป 3 ก็ได้นะ)
ส่วนตัวไม่ใช่ติ่งโนแลน แต่ Dunkirk นี่ชอบมาก ชอบพอๆกับ Inception และหนังเรื่องนี้อาจทำให้โนแลนถูกเสนอชื่อให้ไปเข้าชิงออสการ์ สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมเลยก็ได้ แต่ถ้าถามว่าหนังมันดีมั๊ย ให้ 8/10
ป.ล. ถ้า Okja เป็นตัวแทนของสตรีมมิ่ง Dunkirk ก็เปรียบเหมือนตัวแทนของฝั่งโรงภาพยนตร์ คือหนังมาพร้อมกับการถ่ายทำแบบ 70 มม. (ซึ่งมีแค่ไม่กี่โรงที่รองรับระบบนี้แบบเต็มตัว บ้านเรามีแค่ที่พารากอน) ซึ่งมันต่างจาก Imax แบบ 2.4:1 กับ แบบ Digital คือภาพกว้างเต็มจอกว่าเยอะ ซึ่งก็มาพร้อมกับข้อดีข้อเสียของโรง คือหาดูยาก เดินทางไกล (ผมดูแบบโรงธรรมดานะ แต่ก็รู้สึกว่าโอเคแล้ว แน่นอนว่าถ้าได้ดูแบบ Imax พารากอนจะเพิ่มอรรถรสกว่านี้)
##############################
เรื่องนี้มีเสียงแตกนะ คนไม่ชอบก็มี ไปอ่านความเห็นมา บางคนก็ไม่ชอบที่เสียงดนตรีมันบิ้วตลอด
ส่วนตัวผมชอบที่หนังพยายามบีบคั้นกดดันตลอดทั้งเรื่อง พวกหนังที่ดูแล้วรู้สึกอึดอัดตามไปด้วยอะไรแบบนี้ผมดูจะดูแล้วชอบ คือหนังมันควรจะพาคนดูเข้าไปมีส่วนร่วม แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันบีบคั้นเกิน มันไม่ค่อยมีช่วงพักสลับอารมณ์ให้คนดูแบบหนังสูตรสำเร็จทั่วไป (อย่าง The Ape ที่บางคนบอกมันเน้นอารมณ์ ดูแล้วรู้สึกเนือยๆ) นี่เป็นหนังที่โนแลนบอกว่าเป็นหนังทดลอง/ลองของของเขา แต่ Dunkirk นี่มันเหมาะกบการเล่าเรื่องแบบนี้ เพราะทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ตลอด คือเสียงดนตรีประกอบมันไม่ได้ล้นนะ เค้าจงใจเลยแหละ ถ้าเป็นผู้กำกับคนอื่นมาทำหนังทดลอง มาลองของอะไรแบบนี้หนังอาจจะเละก็ได้ แต่โนแลนประสบการณ์สูง เก๋าแล้วไง เลยเอาอยู่ เปรียบเหมือนจอมยุทธ์เก่งๆฝึกวิชามาหลากหลายแขนง วันนึงลองคิดค้นกระบวนท่าใหม่ๆ ผลคือได้กระบวนท่าสุดยอดออกมา คือมันไม่ใช่หนังทดลองแล้วแบบนี้ มันเป็นหนังแบบจัดจ้าน คมคายเลย
แต่อย่างที่โนแลนบอก ว่านี่ไม่ใช่หนังสงคราม เขาแค่ต้องการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นใครจะหวังเห็นฉากอะไรยิ่งใหญ่ๆ สมจริงแบบในภาพประวัติศาสตร์จริงๆ จะไม่ได้เห็นในหนังเรื่องนี้ ทหาร 4 แสน แต่เห็นแค่ไม่กี่คน เหมือนมันมีกันแค่หลักพัน และก็หนังได้เรต PG-13 เพราะฉะนั้นต่อให้โดนระเบิดกันจังๆแค่ไหน ก็ไม่มีภาพโหดๆอวัยวะแขนขาขาดให้เห็น ทั้งเรื่องเห็นเลือดติดอยู่บนเสื้อตัวประกอบ 2 จุด และก็บทพูดในส่วนของมุมมองบนเรือที่พยายามยัดเยียดคำคมเข้ามา "คุณไม่มีอาวุธ คุณจะไปช่วยใคร บลาๆๆ" แต่มันฟังดูประดักประเดิดเหลือเกิน
3. หนังเล่าเรื่องด้วยภาพ (บทพูดน้อย) หนังใช้บรรยากาศในการเล่าเรื่อง ใช้เพลงประกอบและเสียงในการเล่าเรื่อง (เอาเสียงนาฬิกามาช่วยสร้างความรู้สึกบีบคั้น) หนังมีความหว่อง แบบหว่องกาไวนิดๆ กับบรรยากาศเวิ้งว้าง เนิบๆ จับอารมณ์ในขณะนั้น แต่นี่มันหนังมันจะมีเสียงอึกทึกมาให้ได้ยินเกือบตลอด ดนตรีก็แทบไม่หยุด คืออารมณ์ในสถานการณ์ขณะนั้น เวลามันกระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะเจอกับอะไร จะเกิดอะไรขึ้น มันรอไม่ได้ มันรู้สึกกระวนกระวายใจ
2. หนังเล่าเรื่อง 3 มุมมอง คือ บนบก ในน้ำ บนฟ้า (อย่างที่โนแลนเคยบอกเอาไว้) สลับไปมา พร้อมๆกัน วิธีการเล่าเรื่องก็สไตล์โนแลน คือแบบ Memento, Inception ที่เล่าเรื่องย้อนขึ้นไปทีละส่วน อย่าง Inception เวลาในความฝันแต่ละชั้นที่ลึกลงไปก็จะทดเวลา แล้วย้อนกลับขึ้นมาทีละชั้น ๆ อะไรแบบนั้น แต่ Dunkirk ดูง่ายกว่า
1. หนังเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ Dunkirk ก็ตามชื่อเรื่อง "คือธีมของเรื่องนี่ดูจากชื่อเรื่องก็ได้ ชื่อหนังมีความสำคัญยังไง ทำไมผู้กำกับเลือกใช้ชื่อนี้ ชื่อหนังต้องการสื่ออะไร" อย่าง Dunkirk นี่ก็ชัดเจน คือโนแลนต้องการเล่าเรื่องของ Dunkirk ไม่ได้เล่าเรื่องของพลทหาร หรือการสู้รบกัน เหมือนหนังสงครามเรื่องอื่นๆ เพราะฉะนั้นหนังจะไม่เล่าปูมหลังตัวละคร หรือเน้นฉากรบแบบหนังสงครามเรื่องอื่นๆ อย่าง Saving Private Ryan ก็ตามชื่อเรื่อง หนังไปเน้นเรื่องตัวละคร (สมมุติ) หลายคนดูแล้วไม่รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นที่ไหน เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ 2 ก็มี หรืออย่าง Black Hawk Dawn ที่เน้นฉากแอ็คชั่น แต่ Dunkirk ไม่ได้เล่าเรื่องแบบนั้น หนัง Dunkirk เล่าเรื่องของ Dunkirk จริงๆ แล้วก็จับประเด็นว่าในเหตุการณ์ที่ Dunkirk มันมีหัวใจสำคัญเรื่องอะไร เรื่องการให้การช่วยเหลือ เรื่องการดิ้นรนเอาชีวิตรอด
(ตั้งใจเขียนย้อนจาก 3 ไป 1 แต่จะอ่านจาก 1 ไป 3 ก็ได้นะ)
ส่วนตัวไม่ใช่ติ่งโนแลน แต่ Dunkirk นี่ชอบมาก ชอบพอๆกับ Inception และหนังเรื่องนี้อาจทำให้โนแลนถูกเสนอชื่อให้ไปเข้าชิงออสการ์ สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมเลยก็ได้ แต่ถ้าถามว่าหนังมันดีมั๊ย ให้ 8/10
ป.ล. ถ้า Okja เป็นตัวแทนของสตรีมมิ่ง Dunkirk ก็เปรียบเหมือนตัวแทนของฝั่งโรงภาพยนตร์ คือหนังมาพร้อมกับการถ่ายทำแบบ 70 มม. (ซึ่งมีแค่ไม่กี่โรงที่รองรับระบบนี้แบบเต็มตัว บ้านเรามีแค่ที่พารากอน) ซึ่งมันต่างจาก Imax แบบ 2.4:1 กับ แบบ Digital คือภาพกว้างเต็มจอกว่าเยอะ ซึ่งก็มาพร้อมกับข้อดีข้อเสียของโรง คือหาดูยาก เดินทางไกล (ผมดูแบบโรงธรรมดานะ แต่ก็รู้สึกว่าโอเคแล้ว แน่นอนว่าถ้าได้ดูแบบ Imax พารากอนจะเพิ่มอรรถรสกว่านี้)
##############################
เรื่องนี้มีเสียงแตกนะ คนไม่ชอบก็มี ไปอ่านความเห็นมา บางคนก็ไม่ชอบที่เสียงดนตรีมันบิ้วตลอด
ส่วนตัวผมชอบที่หนังพยายามบีบคั้นกดดันตลอดทั้งเรื่อง พวกหนังที่ดูแล้วรู้สึกอึดอัดตามไปด้วยอะไรแบบนี้ผมดูจะดูแล้วชอบ คือหนังมันควรจะพาคนดูเข้าไปมีส่วนร่วม แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันบีบคั้นเกิน มันไม่ค่อยมีช่วงพักสลับอารมณ์ให้คนดูแบบหนังสูตรสำเร็จทั่วไป (อย่าง The Ape ที่บางคนบอกมันเน้นอารมณ์ ดูแล้วรู้สึกเนือยๆ) นี่เป็นหนังที่โนแลนบอกว่าเป็นหนังทดลอง/ลองของของเขา แต่ Dunkirk นี่มันเหมาะกบการเล่าเรื่องแบบนี้ เพราะทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ตลอด คือเสียงดนตรีประกอบมันไม่ได้ล้นนะ เค้าจงใจเลยแหละ ถ้าเป็นผู้กำกับคนอื่นมาทำหนังทดลอง มาลองของอะไรแบบนี้หนังอาจจะเละก็ได้ แต่โนแลนประสบการณ์สูง เก๋าแล้วไง เลยเอาอยู่ เปรียบเหมือนจอมยุทธ์เก่งๆฝึกวิชามาหลากหลายแขนง วันนึงลองคิดค้นกระบวนท่าใหม่ๆ ผลคือได้กระบวนท่าสุดยอดออกมา คือมันไม่ใช่หนังทดลองแล้วแบบนี้ มันเป็นหนังแบบจัดจ้าน คมคายเลย
แต่อย่างที่โนแลนบอก ว่านี่ไม่ใช่หนังสงคราม เขาแค่ต้องการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นใครจะหวังเห็นฉากอะไรยิ่งใหญ่ๆ สมจริงแบบในภาพประวัติศาสตร์จริงๆ จะไม่ได้เห็นในหนังเรื่องนี้ ทหาร 4 แสน แต่เห็นแค่ไม่กี่คน เหมือนมันมีกันแค่หลักพัน และก็หนังได้เรต PG-13 เพราะฉะนั้นต่อให้โดนระเบิดกันจังๆแค่ไหน ก็ไม่มีภาพโหดๆอวัยวะแขนขาขาดให้เห็น ทั้งเรื่องเห็นเลือดติดอยู่บนเสื้อตัวประกอบ 2 จุด และก็บทพูดในส่วนของมุมมองบนเรือที่พยายามยัดเยียดคำคมเข้ามา "คุณไม่มีอาวุธ คุณจะไปช่วยใคร บลาๆๆ" แต่มันฟังดูประดักประเดิดเหลือเกิน
Popular News
แสดงความคิดเห็น
เพราะมันใช้มาตรฐานอะไรวัดไม่ได้เลย เพราะไม่เคยมีหนังเรื่องไหนเล่าเรื่องได้เท่านี้
คือถ้าเอาไปเปรียบเทียบ มันเทียบกันไม่ได้เลย
จุดที่รู้สึกว่าดีที่สุดคือคาดเดาไม่ได้เลยว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง มันน่ากลัว มันหดหู่
แล้วเรื่องลำดับการเล่าเรื่อง มันทั้งดีแล้วก็ไม่ดี คือมันคาดเดายากว่าใครรอดใครตาย
ช่วงเวลาที่มันมาบรรจบกันก็เหลื่อมกันไปพอสมควร
เข้าใจนะว่าตั้งใจทำให้มันแบ่งช่วงอารมณ์กัน แต่ติดจริตมาจากหนังเรื่องอื่น ที่มันไม่ทำเหลื่อมๆแบบนี้
สรุปก็ชอบครับ แต่มันไม่ถูกจริต เพราะหนังมันแปลกใหม่ และฉีกกฎหนังสงคราม/เอาตัวรอดมากๆ
ปล. ขนาดผมเป็นติ่งโนแลนนะ 555
เราไม่ใช่ติ่งโนแลนเลยไม่หวือหวากับกระแส เราว่าหนังธรรมดามาก ดูรอบแรกให้ตามนั้น แต่ถ้ารอบสองให้ 5/10 เผลอหลับคาโรงด้วย
ถามเล่นๆ ถ้าหนังเรื่องนี้ไม่ติดป้ายโนแลนคิดว่าจะเป็นไง
ทั้งการถ่ายทำ เซตติ้งทุกอย่างที่ใช้ CG น้อยมาก หรือการนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องด้วยภาพ สีหน้า การกระทำ มากกว่าที่จะมานั่งคุยกัน
ถึงเป็นใครไม่รู้มากำกับแต่ทำได้ขนาดนี้ก็ได้เสียงชมจาก critic อยู่ดี
Metacritic ระดับ 94 นี่ไม่ได้ได้มาง่ายๆ
อย่างว่า ส่วนตัวผมไปดูรอบแรกก็เฉยๆ แต่พอรอบสองดันชอบ สนุกขึ้นมาซะอย่างนั้น
หนังอาจจะไม่ใช่แนวเรา แต่คุณภาพผมก็ยังยกให้อยู่อันดับต้นๆของปีนี้อยู่ดี
สูสีกับพวก La La Land, Manchester by the Sea ของปีที่แล้ว
หนังอาจจะแป๊ก รายได้น่าจะน้อยกว่านี้ คือชื่อของโนแลนมันมีผลแน่ๆ รวมถึงคะแนนรีวิวหลายๆเจ้าด้วย คำว่า "ติ่งโนแลน" มันไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ มันถึงมีดราม่า "อวยหนัง" "รับตังค์ค่ายหนังมาอวย"
อวยไม่อวย? ชวนเพจวิจารณ์หนังคุย “เราจะแยกออกได้ยังไงระหว่างรีวิวอวยกับรีวิวทั่วๆ ไป?” [Link]
แต่อันนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าไอ้ที่เพจหนัง+นักรีวิวหลายเจ้าทำกัน ไอ้ประเภทชอบ-ไม่ชอบ แล้วให้คะแนน ให้ดาว บางสำนักไม่ถือว่าเป็นการวิจารณ์เพราะใช้ความรู้สึกส่วนตัว ใช้อคติมาตัดสิน แต่บางสำนักก็นับว่าเป็นการวิจารณ์ แต่เป็นการวิจารณ์แบบขั้นต่ำสุด คือเป็นแค่ปริทัศน์รีวิว ใครๆก็ทำได้ แค่ดูแล้วมาแสดงความคิดเห็น บอกความรู้สึกส่วนตัวว่าชอบไม่ชอบ ถึงจะให้เหตุผลประกอบแต่ก็ไม่มีหลักการอะไร เพราะเต็มไปด้วยอคติของคนรีวิวชอบไม่ชอบ (การวิจารณ์แบบจริงๆ จะใช้ทฤษฎีไหนก็ได้ แต่ต้องอธิบายได้ว่าดีไม่ดียังไง ต้องมีเหตุผลที่ดี ที่น่าเชื่อถือรองรับ) คนก็เลยไม่เชื่อกัน เพราะต่างคนก็ใช้ความรู้สึกมาตัดสิน มันเลยเกิดดราม่า ถึงบอกไงพวกนักรีวิวที่ชอบกดไลค์คนที่เห็นด้วยกับตัวเองนี่แย่มาก
(วิจารณ์ห่าอะไร ต้องบอกก่อนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว หรือบางเจ้าก็บอกเลยว่าเป็นติ่ง เป็นแอนตี้ อย่างบางคนเกลียดหนังฮีโร่อีกค่าย หรือชอบอีกค่าย แต่สะเออะมาวิจารณ์ มันเลยเละไง)
แต่การตีคุณค่าของงานศิลป์มันก็สามารถทำได้ครับ แต่ต้องมีหลักการ มีเหตุผลที่อธิบายได้ ไม่งั้นคณะกรรมการคงไม่สามารถให้รางวัลกับหนังเรื่องไหนได้ ดังนั้นถ้าตัดป้ายโนแลนออก หนังมันก็มีคุณค่าเหมือนเดิมแหละครับ หนังดีมันก็คือหนังดี แย่ก็คือแย่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้หลักเกณฑ์แบบไหนอีก
ส่วน Dunkirk นี่จะมองว่าติดป้ายโนแลนแล้วผิดหวัง หรือทำให้คิดว่าหนังมันดีก็ได้ หรือจะมองว่าไม่เกี่ยวกับชื่อโนแลนก็ได้ แล้วแต่จะมอง
- มองในแบบ Formalist (รูปแบบนิยม) งานสร้าง งานภาพ องค์ประกอบ การตัดต่อ ลำดับภาพ มันก็เป็นหนังที่ดีโดยตัวของมันเอง ส่วนตัวมองว่านี่เป็นหนังที่ดีมีความจัดจ้านมากที่สุดของโนแลน ฉีกแนวออกจากกระบวนการผลิตซ้ำของสตูดิโอฮอลลีวู้ด เป็นหนังที่เอาใจตลาดน้อยที่สุดของโนแลน แต่ก็ยังมีความเป็นหนังตลาดอยู่ สตูดิโอก็คงมองแบบนั้น เพราะก็วางวันฉายไว้ช่วงซัมเมอร์ บวกกับการโปรโมทของค่ายหนัง ตรงนี้อาจจะทำให้คนดูบางส่วนไขว้เขว หรือคาดหวังว่ามันจะเป็นหนังตลาดแบบหนังซัมเมอร์เรื่องอื่นๆ
- ผมมองว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังส่วนตัวของโนแลน เลยมองในแบบปฏิฐานนิยม +ทฤษฎีประพันธกร มันก็ต้องมองที่ตัวตนและวิธีการทำงานของผู้กำกับอยู่แล้ว ว่าเป็นยังไง มีพัฒนาการอะไร
หนังมันสะท้อนความคิดของโนแลนเรื่องเหตุการณ์ที่ดันเคิร์ก คือโนแลน (เป็นคนอังกฤษ) พยายามจะบอกว่าที่อังกฤษถอยร่นต้องขนคนหนีที่ดันเคิร์กมันไม่ใช่เรื่องอัปยศนะ (แต่ฝรั่งเศสเหยียดหยามว่าอังกฤษไม่มีศักดิ์ศรี ขี้ขลาด ทุเรศ หนี เลยทำให้เยอรมันบุกยึดฝรั่งเศสได้) ถึงหนังจะมีแต่ทหารหนีตาย เอาตัวรอด (ใครๆก็รักชีวิต กลัวตายมันเป็นเรื่องธรรมดา ทหารฝรั่งเศสถ้าหนีได้มันก็หนีแหละว้า) แต่ในหนังก็ใส่บทพูดตรงๆ ว่าไม่ใช่เรื่องอัปยศ แต่เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ (หนังโนแลนถ้าจะบอกอะไรก็มักจะบอกเป็นบทพูดตรงๆ อย่างแบทแมน จะพูดเรื่องประชาธิปไตย โนแลนก็ไม่ได้สร้างนัยยะสื่อให้คนดูเข้าใจไปคิดได้เอง แต่ใส่บทพูดให้โจ๊กเกอร์เลย) อย่างตัวละครนักบิน แน่นอนมาจากปู่ของโนแลนที่เป็นนักบิน แต่ปู่ของโนแลนไม่ได้ไปปฏิบัติภารกิจที่ดันเคิร์กนะ (ในหนังมีทหารบ่น "ทัพอากาศไปมุดหัวอยู่ไหน") ปมในใจโนแลนคงทำให้ออกมาเป็นตัวแทนของปู่ ถึงได้สวมหน้ากากกันตลอดทั้งเรื่อง ในหนังก็จะสื่อว่านักบินก็คือนักบิน จะถูกยิงตก จะตาย จะไม่ได้เข้าร่วมที่ดันเคิร์ก จะแพ้ แต่นักบินก็มีเกียรติ ในหนังก็ยังยกย่องฝรั่งเศสว่าเสียสละ และก็ยังมีตัวละครนายทหารอังกฤษที่พูดว่าจะขออยู่ช่วยฝรั่งเศส ฯลฯ คือมันเป็นมุมมอง เป็นปมในใจของโนแลน
แล้วก็ไม่ต่างจากที่คิดจริงๆ Christopher Nolan Explains Why ‘Dunkirk’ Is His Most Personal Film Yet [Link]
Dunkirk หนังสุดยอดผู้กำกับ 'คริสโตเฟอร์ โนแลน' ต่อต้านลัทธิทหารอย่างแนบเนียน งานสเต็ปเทพเล่าเหตุการณ์จริงช่วงสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งทหารอังกฤษ/ฝรั่งเศส 400,000 ถูกนาซีปิดล้อมบนชายหาดเกือบ 7 วัน ผลก็คือทหารคิดแต่เอาตัวรอด ฆ่าเพื่อน โหนศพคนตาย ฯลฯ นี่คือหนังสงครามที่ตัดโฆษณาชวนเชื่อเรื่องทหารคือผู้เสียสละเพื่อชาติทิ้งไป ส่วนตัวละครที่เพ้อเรื่องนี้คือพลเรือนที่อยู่ไกลสงครามมาก สี่ดาวสำหรับงานสร้างและการออกนอกกรอบลัทธิทหารจนเปลี่ยนหนังสงครามเป็นเรื่องเล่าไร้อารมณ์เกี่ยวกับคนหนีตาย
[Link]
คือดูแล้วตลกดี (คนละเรื่องกับที่โนแลนให้สัมภาษณ์เลย แล้วมันเหมือนดูหนังไม่จบ จับประเด็นไม่ครบ ไม่ดูทั้งบริบท แต่เลือกเฉพาะส่วนที่ถูกจริตตัวเอง) อันนี้คือตัวอย่างของรีวิวแบบคิดตามใจตัวเอง แม้จะยกเหตุผลมาประกอบแต่ก็เป็นเหตุผลที่คลาดเคลื่อนเพราะเป็นอคติของตัวคนรีวิว (Subjectivity) ไอ้พวกเพจรีวิว+นักรีวิวแบบปริทัศน์มันก็มีข้อเสียแบบนี้แหละ
ป.ล.แต่ไม่ใช่ว่าพวกเพจรีวิว+นักรีวิวพวกนี้จะไม่ดีนะ แม้การรีวิวจะเต็มไปด้วยข้อเสีย แต่ข้อดีก็คือมันแสดงให้เห็นถึงอำนาจการใช้สื่อของปชช. อยู่ในมือคนทุกคน ทุกคนมีสิทธิ์ ใครๆก็ทำได้ เรียกว่าเป็นการกระจายอำนาจอย่างนึงก็ได้
ส่วนฉากบนหาดผมให้เรื่องนี้ที่สุดแล้ว
ลุ้นแค่ใครจะรอดบ้าง
เรือพลเรือนที่มาช่วยก็ดูน้อยมาก ถึง 20 ลำมั้ยไม่รู้ ไม่รู้สึกว่าจะมาเป็นฮีโร่ มาช่วยคนหลักแสนได้
นักบินน้ำมันหมด เก่งขนาดบังคับเครื่องที่น้ำมันหมดแล้วกลับมายิงเครื่องบินศัตรูได้ น่าจะคำนวนจุดร่อนให้ตกตรงฝั่งตัวเองไม่น่ายาก