Fast and Furious 7 ( 2015 ) บทวิจารณ์��าพยนตร์ โดย FallsDownz
Fast and Furious 7 ( 2015 ) บทวิจารณ์ภาพยนตร์ โดย FallsDownz
"ฉีกทุกกฏวิทยาศาสตร์ ฉีกทุกกฏความมันส์"
ถ้าจะพูดถึงภาพยนตร์ประเภทแข่งรถแล้ว อีกหนึ่งภาพยนตร์ซีรียส์ ที่นอกจากจะโด่งดังแล้ว ยังจะสามารถรักษาคุณภาพของตัวเองมาได้โดยตลอด ก็คือซีรียส์ Fast and Furious ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ภาคแรก The Fast and the Furious ในปี 2001 ยาวมาถึงภาคที่ 7 ในปี 2015 นี้
Fast and Furious 7 ว่าด้วยเรื่องราวต่อจากภาคที่แล้ว โดเมนิก จะต้องตามไล่ล่าผู้ที่สังหารเพื่อน และทำร้ายครอบครัวของเขาให้จงได้
สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยในแทบจะทุกภาคของ Fast and Furious ก็คือความที่มันละเมิดแทบจะทุกกฏและทฤษฏีวิทยาศาสตร์ทั้งหลายแหล่ รวมถึงความโอเวอร์และความบ้าบอที่เริ่มที่จะมากขึ้นเข้าไปทุกภาคๆ โดยเฉพาะตัวละครเอกทั้งหลาย ที่ไม่รู้ว่าไปสักยันต์หรือไปทำบุญวัดไหนมา เพราะเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาประสบกับประสบการณ์เฉียดตาย พวกเขาก็มักจะรอดมาได้เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นรถตกหน้าผาตีลังกาไม่รู้กี่สิบตลบ หรือรอดจากการถูกเฮลิคอปเตอร์ไล่ล่าได้อย่างฉิวเฉียด เรียกได้ว่าถ้าวันไหนพวกเขาเกิดดวงซวยขึ้นมา วันนั้นก็คงจะทำให้พวกเขากลายเป็นโก้โก้ครันช์อย่างแน่นอน
นอกเหนือจากนั้นแล้ว บทภาพยนตร์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยจะเป็นจุดโดดเด่นของภาพยนตร์ซีรียส์นี้ โดยเฉพาะพล็อต ที่ก็ยังคงใช้พล็อตที่เข้าใจง่าย และธรรมดาอยู่เช่นเคย ซึ่งภาคนี้ก็ยังคงไม่แตกต่าง เพียงคุณรู้แค่ว่า นี้คือภาพยนตร์ล้างแค้น คุณก็แทบจะรู้เรื่องราวทั้งหมดในเรื่องแล้ว
ถึงกระนั้นก็ตาม Fast and Furious ก็เป็นภาพยนตร์ซีรียส์ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่านำพามาซึ่งความสนุก ตื่นเต้น และอะดรีนาลีนพลุ่งพลานได้เป็นอย่างดี และในภาค 7 นี้ก็เช่นเดียวกัน
ใช่ฉากแอ็คชั่นโลดโผนเหล่านี้มันสุดจะโอเวอร์เหนือจริง แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราก็ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่า มันโคตรจะ"มันส์"เลยเช่นกัน เพราะเนื่องจากความเหนือจริงของมันนี้แหละ จึงทำให้ฉากแอ็คชั่นเหล่านี้สามารถแทบที่จะทำอะไรก็ได้ หลุดโลกเท่าไรก็ได้ ในด้านของความตระการตา ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงแทบที่จะได้เต็มไปเลยทีเดียว นี้ยังไม่นับถึงการมาร่วมงานของ เจสัน สเตทแธม และ จา พนม ที่สร้างความสมน้ำสมเนื้อระหว่างตัวละครเอก และ ตัวร้ายได้อย่างน่าติดตามทีเดียว
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Fast and Furious ภาคนี้กำกับโดย เจมส์ วาน ซึ่งเคยมีผลงานโด่งดังเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญอย่าง Saw ( 2004 ) , Insidious ( 2010 ) และ The Conjuring ( 2013 ) นี้ถือได้ว่าแทบจะเป็นการพลิกบทบาทการกำกับเลยทีเดียว จากเจ้าพ่อภาพยนตร์สยองขวัญ มากำกับภาพยนตร์แอ็คชั่น
ซึ่งโดยรวมการกำกับของ เจมส์ วาน ก็ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องเชื่อมต่อระหว่างฉากแอ็คชั่นและฉากพูดคุยของตัวละคร หรือ การปูจุดขัดแย้งของเรื่อง ถึงแม้ว่าการกำกับฉากแอ็คชั่น และการเล่าเรื่องต่างๆอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบและค่อนข้างจะธรรมดาพื้นๆไปบ้างก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยว่าซีรียส์ Fast and Furious ทำได้ยอดเยี่ยมเหนือภาพยนตร์แข่งรถ / แอ็คชั่นอื่นๆ ก็คือความผูกพันธ์ระหว่างผู้ชมกับตัวละคร ที่เราแทบจะรู้สึกเหมือนตัวละครเหล่านี้เป็นเพื่อนหรืออาจจะเป็นครอบครัวของเราขึ้นมาจริงๆ เหมือนกับประเด็นที่ตัวภาพยนตร์มักจะพยายามตอกย้ำ ซึ่งพูดถึงความสำคัญของครอบครัวอยู่เสมอๆ ซึ่งเราในฐานะผู้ชมก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวนี้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งสาเหตุนี้นอกจากจะมาจากจำนวนภาคที่มากถึง 7 ภาคแล้ว ยังจะมาจากตัวละครเหล่านี้ ที่มีความเป็นมนุษย์ซึ่งน่าติดตาม น่าคอยเอาใจช่วย และการเข้าไปรู้จักกับพวกเขา ก็ยังทำให้เราผูกพันธ์ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
ซึ่งด้วยสาเหตุนี้เอง ข่าวการจากไปของนักแสดงหลักอย่าง พอล วอล์กเกอร์ ก็ทำให้แฟนๆหลายคนสะเทือนใจไม่ใช่น้อย และมันก็ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทางทีมเขียนบทและผู้กำกับ เจมส์ วาน จะเขียนบทสรุปให้กับตัวละครของพอลอย่างไร และก็ต้องขอชมในส่วนนี้เสียจริงๆ กับฉากบทสรุปของพอลที่นอกจากจะสมบูรณ์แบบแล้ว ยังจะฉลาดมากอีกด้วย
ในท้ายที่สุดแล้ว Fast and Furious 7 ก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่เรารู้จักกันดี ด้วยฉากแอ็คชั่นสุดโอเวอร์ และพล็อตที่สุดแสนจะธรรมดา แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความสนุกและความบันเทิงของภาพยนตร์ลดลงไปเลยแม้แต่น้อย ที่น่าประทับใจมากที่สุดเลย ก็คือบทสรุปของตัวละคร พอล วอล์กเกอร์ ที่น่าจดจำและอาจที่จะทำให้คุณเสียน้ำตาอย่างง่ายดาย
Final Score : 7.5 / 10
"ฉีกทุกกฏวิทยาศาสตร์ ฉีกทุกกฏความมันส์"
ถ้าจะพูดถึงภาพยนตร์ประเภทแข่งรถแล้ว อีกหนึ่งภาพยนตร์ซีรียส์ ที่นอกจากจะโด่งดังแล้ว ยังจะสามารถรักษาคุณภาพของตัวเองมาได้โดยตลอด ก็คือซีรียส์ Fast and Furious ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ภาคแรก The Fast and the Furious ในปี 2001 ยาวมาถึงภาคที่ 7 ในปี 2015 นี้
Fast and Furious 7 ว่าด้วยเรื่องราวต่อจากภาคที่แล้ว โดเมนิก จะต้องตามไล่ล่าผู้ที่สังหารเพื่อน และทำร้ายครอบครัวของเขาให้จงได้
สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยในแทบจะทุกภาคของ Fast and Furious ก็คือความที่มันละเมิดแทบจะทุกกฏและทฤษฏีวิทยาศาสตร์ทั้งหลายแหล่ รวมถึงความโอเวอร์และความบ้าบอที่เริ่มที่จะมากขึ้นเข้าไปทุกภาคๆ โดยเฉพาะตัวละครเอกทั้งหลาย ที่ไม่รู้ว่าไปสักยันต์หรือไปทำบุญวัดไหนมา เพราะเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาประสบกับประสบการณ์เฉียดตาย พวกเขาก็มักจะรอดมาได้เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นรถตกหน้าผาตีลังกาไม่รู้กี่สิบตลบ หรือรอดจากการถูกเฮลิคอปเตอร์ไล่ล่าได้อย่างฉิวเฉียด เรียกได้ว่าถ้าวันไหนพวกเขาเกิดดวงซวยขึ้นมา วันนั้นก็คงจะทำให้พวกเขากลายเป็นโก้โก้ครันช์อย่างแน่นอน
นอกเหนือจากนั้นแล้ว บทภาพยนตร์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยจะเป็นจุดโดดเด่นของภาพยนตร์ซีรียส์นี้ โดยเฉพาะพล็อต ที่ก็ยังคงใช้พล็อตที่เข้าใจง่าย และธรรมดาอยู่เช่นเคย ซึ่งภาคนี้ก็ยังคงไม่แตกต่าง เพียงคุณรู้แค่ว่า นี้คือภาพยนตร์ล้างแค้น คุณก็แทบจะรู้เรื่องราวทั้งหมดในเรื่องแล้ว
ถึงกระนั้นก็ตาม Fast and Furious ก็เป็นภาพยนตร์ซีรียส์ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่านำพามาซึ่งความสนุก ตื่นเต้น และอะดรีนาลีนพลุ่งพลานได้เป็นอย่างดี และในภาค 7 นี้ก็เช่นเดียวกัน
ใช่ฉากแอ็คชั่นโลดโผนเหล่านี้มันสุดจะโอเวอร์เหนือจริง แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราก็ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่า มันโคตรจะ"มันส์"เลยเช่นกัน เพราะเนื่องจากความเหนือจริงของมันนี้แหละ จึงทำให้ฉากแอ็คชั่นเหล่านี้สามารถแทบที่จะทำอะไรก็ได้ หลุดโลกเท่าไรก็ได้ ในด้านของความตระการตา ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงแทบที่จะได้เต็มไปเลยทีเดียว นี้ยังไม่นับถึงการมาร่วมงานของ เจสัน สเตทแธม และ จา พนม ที่สร้างความสมน้ำสมเนื้อระหว่างตัวละครเอก และ ตัวร้ายได้อย่างน่าติดตามทีเดียว
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Fast and Furious ภาคนี้กำกับโดย เจมส์ วาน ซึ่งเคยมีผลงานโด่งดังเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญอย่าง Saw ( 2004 ) , Insidious ( 2010 ) และ The Conjuring ( 2013 ) นี้ถือได้ว่าแทบจะเป็นการพลิกบทบาทการกำกับเลยทีเดียว จากเจ้าพ่อภาพยนตร์สยองขวัญ มากำกับภาพยนตร์แอ็คชั่น
ซึ่งโดยรวมการกำกับของ เจมส์ วาน ก็ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องเชื่อมต่อระหว่างฉากแอ็คชั่นและฉากพูดคุยของตัวละคร หรือ การปูจุดขัดแย้งของเรื่อง ถึงแม้ว่าการกำกับฉากแอ็คชั่น และการเล่าเรื่องต่างๆอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบและค่อนข้างจะธรรมดาพื้นๆไปบ้างก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยว่าซีรียส์ Fast and Furious ทำได้ยอดเยี่ยมเหนือภาพยนตร์แข่งรถ / แอ็คชั่นอื่นๆ ก็คือความผูกพันธ์ระหว่างผู้ชมกับตัวละคร ที่เราแทบจะรู้สึกเหมือนตัวละครเหล่านี้เป็นเพื่อนหรืออาจจะเป็นครอบครัวของเราขึ้นมาจริงๆ เหมือนกับประเด็นที่ตัวภาพยนตร์มักจะพยายามตอกย้ำ ซึ่งพูดถึงความสำคัญของครอบครัวอยู่เสมอๆ ซึ่งเราในฐานะผู้ชมก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวนี้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งสาเหตุนี้นอกจากจะมาจากจำนวนภาคที่มากถึง 7 ภาคแล้ว ยังจะมาจากตัวละครเหล่านี้ ที่มีความเป็นมนุษย์ซึ่งน่าติดตาม น่าคอยเอาใจช่วย และการเข้าไปรู้จักกับพวกเขา ก็ยังทำให้เราผูกพันธ์ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
ซึ่งด้วยสาเหตุนี้เอง ข่าวการจากไปของนักแสดงหลักอย่าง พอล วอล์กเกอร์ ก็ทำให้แฟนๆหลายคนสะเทือนใจไม่ใช่น้อย และมันก็ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทางทีมเขียนบทและผู้กำกับ เจมส์ วาน จะเขียนบทสรุปให้กับตัวละครของพอลอย่างไร และก็ต้องขอชมในส่วนนี้เสียจริงๆ กับฉากบทสรุปของพอลที่นอกจากจะสมบูรณ์แบบแล้ว ยังจะฉลาดมากอีกด้วย
ในท้ายที่สุดแล้ว Fast and Furious 7 ก็ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่เรารู้จักกันดี ด้วยฉากแอ็คชั่นสุดโอเวอร์ และพล็อตที่สุดแสนจะธรรมดา แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความสนุกและความบันเทิงของภาพยนตร์ลดลงไปเลยแม้แต่น้อย ที่น่าประทับใจมากที่สุดเลย ก็คือบทสรุปของตัวละคร พอล วอล์กเกอร์ ที่น่าจดจำและอาจที่จะทำให้คุณเสียน้ำตาอย่างง่ายดาย
Final Score : 7.5 / 10
Related News
Popular News
แสดงความคิดเห็น
แต่ถ้าภาคนี้ฉากแอคชั่นที่ชอบสุด
มันน่าจะออกมา spil เนื้อเรื่องเดิมนะตอนแรกๆเหมือนเนื้อเรื่องจะไปทางเร็ตตี้ตามหาความทรงจำ
พี่จานึกว่าบทจะม่องตั้งแต่อยู่ในรถแล้ว ระดับบอสเลยนิหว่า
ภาค6ผมว่าผมทึ่งแล้วนะรถติดปืนภาคนนี้ล่อมาซะเครื่องบิน อีกอย่างตัวร้ายง่่อยมากภาคที่แล้วปูซะโคตรโหดตอนเปิดเรื่องก็เท่อีกไหงไปๆมาๆกระจอกซะงั้น ส่วนตัวถ้าไม่มีตอนจบ(ซึ่งทำได้ดีมากๆๆๆๆๆๆ)ภาคนี้ผมเฉยมากหวังว่าภาคหน้าระเบิดนี่ลดลงไปบ้างก็ดีนะครับดูไปดูมานึกว่าดูหนังของมาเวล
ไม่เห็นต้องสะเทือนใจเลยนี่ครับ ?
หนังเกรดบีคืออะไร? มันคือคำเรียกที่คนดูใช้สำหรับเรียกหนังครับ คำเรียกนี้มันกว้าง มันไม่ใช่แนวหนัง ส่วนคะแนนรีวิวจะเกรดเอ เกรดซี อันนั้นแล้วแต่ หนังเกรดบีหลายเรื่องก็ติดอันดับหนังคลาสสิคตลอดกาล (แต่ไม่ใช่ Fast7 แน่)
สมัยก่อนยุค 1940-50 มันมีพวกหนังหายนะ หนังสัตว์ประหลาด หนังมนุษบ์ต่างดาวบุกโลก เนื้อเรื่องไม่สมเหตุผล เอาฝากะทะล้อรถยนต์มาร่อนเพื่อถ่ายเป็นUFO คนดูเลยเรียกหนังเกรดบี ยุคต่อมาเทคนิคการสร้างดีขึ้น มีการใช้บลูสกรีน ใช้สเปเชียลเอฟเฟคที่ดีขึ้น แต่คนก็ยังเรียกหนังเกรดบี คือไม่ได้แบ่งแยกหนังที่ทุนสร้าง หนังอย่างGodzilla ก็เป็นหนังเกรดบี Star Wars ภาคแรกที่โคตรเจ๋งหรือหนังไซไฟที่โคตรจะดีอย่าง Serenity ก็เป็นหนังเกรดบี
หนังของโรแลนด์ เอมเมอริช อย่าง Stargate, ID4, 10,000 BC, 2012 ก็เป็นหนังเกรดบี ทุนสร้างตั้งหลายร้อยล้านเลยนะนั่น (ก็ฉายาเจ้าพ่อหนังเกรดบี) แม้แต่หนังอย่าง Beetlejuice หรือ BATMAN RETURNS สมัยก่อนก็มีคนเถียงกันว่าเป็นหนังเกรดบี ต่อมาทิม เบอร์ตันเลยทำ Mars Attacks! ที่เป็นสไตล์หนังเกรดบี คือเสียดสีให้เห็นเลยว่ามันเกรดบีจริงๆ ขนาดว่าทุนสูง มีนักแสดงชื่อดังหลายคนเลยนะนั่น แล้วพวกหนัง Cult หลายเรื่องคนก็เรียกหนังเกรดบี สมัยก่อนไม่มีคำว่า Cult พวกแนวยิงกันอย่าง Everly ดี-ออกสาวปืนโหด, Equilibrium ก็เป็นหนังเกรดบีครับ
ถามว่าถ้า The Day After Tomorrow, 2012, ID4, เป็นหนังเกรดบี แล้ว Twister, Poseidon(เรือยักษ์), ล่ะเป็นมั๊ย? ถ้ามองแบบแฟนบอยมันอาจจะมองอีกอย่าง(ก็เป็นสิทธิ์ ก็แล้วแต่ครับ คือมันแล้วแต่ใครจะเรียก) ถ้าให้เห็นภาพลองนึกภาพเอา Fast7(เนื้อเรื่องไม่สมเหตุผล รถพังๆๆๆทั้งเรื่อง ระเบิดตึกถล่ม และก็ตึกถล่มๆ แค่นี้มันก็เข้าลักษณะแล้ว) ไปใส่ในโปรแกรมฉายรวมกับ Birdman, The Grand Budapest Hotel, Boyhood, Whiplash, The Imitation Game, The Theory of Everything ดูครับ คืออย่างที่บอกมันไม่เกี่ยวกับแนวหนัง ไม่เกี่ยวกับทุนสร้างคำว่าหนังเกรดบีมันเป็นแค่คำที่คนดูใช้เรียกหนัง ใครจะเรียกอะไรก็ได้ จะเรียกหนังซัมเมอร์(แต่โปรแกรมฉายของฟาสต์7 ไม่ได้อยู่ในช่วงซัมเมอร์) จะเรียกหนังบล็อคบัสเตอร์ หรือจะเรียกอะไรก็ได้ นันทขว้างเรียก Fast7 ว่าหนังทุนนิยม (เรียกซะหรูเลย) คือเอาทุนเข้าว่า ขายดารา ขายๆๆ
ความหมายของหนังเกรด B คือ "หนังทุนต่ำที่พยายามจะขายให้ได้" (low-budget commercial) ต่างหากครับ
คนท่ั่วโลกเค้าก็เข้าใจกันแบบนี้ เปิดกูเกิ้ลเลยก็ได้
ซึ่งหนังอินดี้ หนังปรัชญา ที่ไม่ได้ Hard sell ก็จะไม่นับในส่วนนี้นะครับ