Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
This thread is locked
กระทู้การเมือง ��าค 6 (แจ้งล่วงหน้าว่ากระทู้การเมืองจะปิดชั่วคราวในเวลา 15...

<<
<
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
>
>>
Reply
Vote
# Sun 19 Feb 2017 : 12:25PM

Kiva
member

Since 2014-12-29 16:21:35
(2906 post)
[Link]


# Sun 19 Feb 2017 : 12:43PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
ของอ.ธีรภัทรคือทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ และก็เปิดปลายไว้ว่าถ้าไม่เอาตัวเลือกนี้ ก็ต้องว่ากันที่ทางเลือกอื่น


ทีนี้ในส่วนของคนที่คัดค้านเค้าก็เสนอทางเลือกอื่น เช่น พลังงานทดแทนมาตลอด ต้องเข้าใจก่อนว่าคนต้านก็ไม่ใช่สักแต่ค้าน แต่พยายามผลักดันให้รัฐสนับสนุนทางเลือกอื่นกันมาตลอด ทำกันมานานแล้ว เรื่องสร้าง เรื่องค้านนี่ มันมีมานานแล้ว ไม่ใช่อยู่ๆก็มาสร้าง อยู่ก็มาค้าน

แต่พลังงานทางเลือกถูกมองว่าแพง มันอย่างที่คุณสุโก้ยว่า ปัญหาคือรับซื้อแพง อันนี้ก็ปัญหาการวางโครงสร้างที่ไม่ดี มันหลายเรื่อง บีโอไอบอกแจ่ม ให้เงินกู้ไปลงทุน แต่กฟผ.วันดีคืนดีไม่สานต่อ จบสิครับ แล้วก.พลังงานบอกต้องรับซื้อแพงเพื่อจูงใจให้คนมาลงทุนด้านพลังงานทดแทน แต่ไปๆมาๆกลายเป็นว่าไปให้พวกบริษัทเอกชนกลายเป็นเสือนอนกิน นอนฟันส่วนต่าง

อย่างโซลาร์เซลล์ ปัญหาคือตอนนี้เราใช้ระบบฟีดอินทารีฟ ก่อนหน้านี้ใช้ระบบแอดเดอร์ ซื้อแพงกว่านี้อีกนะ ตอนนี้ใช้ฟีด เก็บจากปชช.ผู้ใช้ 4 บาท/หน่วย แต่จ่ายให้บริษัทผู้ผลิต 5.66 บาท/หน่วย มันเลยมีส่วนต่าง 1.66 ให้บริษัท ก็คือเอาเงินไปอุ้มพลังงานทดแทนปีละหลายพันล้าน อุ้มฟรีก็ดีสิ แต่มันอยู่ในเงื่อนไข ค่า Ft อันนี้ทำให้ค่าไฟจะมีโอกาสแพงขึ้น แต่เป็นในส่วนของค่า Ft ที่จะเพิ่มขึ้น คือก็ไม่ถึงกับทำให้ค่าไฟมันแพงแบบก้าวกระโดด (แต่ค่า Ft มันมีหลายปัจจัย ไอ้ที่รับซื้อพลังงานทดแทนจากเอกชนนี่มันแค่ส่วนนึง หลังๆค่า Ft ก็ลด ติดลบก็มี)

ถ้าเปลี่ยนเป็นประมูลราคาน่าจะถูกลงได้ ส่วนฟีดอินทารีฟของรายเล็ก พวกครัวเรือนนี่มันเหลือ 4.12 บาท/หน่วย ก็ถือว่าราคามันก็ถูกลงแล้ว แต่ดูไบใช้ระบบประมูล จ่ายแค่ 1 บาท/หน่วย ถูกโคตร คือตอนนี้ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์+อุปกรณ์อื่นๆมันลดลงแล้ว

และรบ.ควรสนับสนุนภาคครัวเรือน ลดภาษีเปิดโอกาสให้ภาคครัวเรือนขยายตัว พอมันมีมากขึ้นราคาก็น่าจะถูกลง


คือเวลาพูดเรื่องพลังงาน ทำไมไม่เอาถ่านหิน ทำไมเดือดร้อน ประเทศอื่นก็มี จีนแม่มก็ยังมีเยอะ บลาๆๆ ต้องเข้าใจก่อน เราพูดกันในเรื่องสัดส่วนนะครับ ยังไงถ่านหินในบ้านเราก็มีอยู่แล้ว คือทิศทางทั่วโลกเขาลดสัดส่วนเรื่องถ่านหิน แต่บ้านเราเลือกจะเพิ่ม

ทีนี้ในส่วนของพลังงานทดแทน เฮ้ย บ้านเรามันก็มีกันอยู่แล้วนะครับ ให้เข้าใจให้ถูกกันก่อน แต่มันอยู่ที่นโยบายของรัฐว่าจะเลือกเพิ่มสัดส่วนด้านไหน ไม่ใช่ว่าโซลาร์เซลล์ น้ำมันปาล์ม บ้านเราไม่มีคนทำนะ


แล้วมันมีปัญหาเรื่องไปลงทุนซื้อเหมืองถ่านหินในอินโด ซื้อหุ้นกันไว้นี่แหละ อันนี้แหละที่ตอบกันไม่ได้ คือพอไปทำอย่างนั้น มันก็= กฟผ.มองว่าถ่านหินมันทำกำไร ไม่ได้มองเรื่องผลกระทบด้านอื่น ต้นทุนทางสังคม สภาวะแวดล้อม มลพิษ ปัญหาสุขภาพของปชช. สภาพแวดล้อมแบบนั้นเด็กก็กระทบการเรียนนะครับ เอาปัญหาที่คนไม่มอง หรือมองว่าไม่เกี่ยว อยากให้คนมีลูก แต่ถามว่าสภาพแวดล้อมแบบนั้นใครมันจะอยากมีลูกให้เด็กเกิดมา การท่องเที่ยว อาหาร ผลกระทบการเกษตร ปัญหาคุณภาพของน้ำ ฯลฯ มันมีต้นทุนหลายอย่างที่รัฐก็จะต้องเสียไปอีกมากมายมหาศาล

# Sun 19 Feb 2017 : 12:44PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
ยังไงรบ.ก็ถอยละ จบข่าวนะจ๊ะ ไอ้พวกนักวิชาการรับจ็อบ

# Sun 19 Feb 2017 : 1:20PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)







วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

ธรรมกาย วุ่นแล้ว! ศิษย์จู่โจมดีเอสไอ พังประตูวัดเข้าไปรวมตัวในวัด ไม่สนคำสั่ง ให้ออกภายใน15.00น.


##################################################################################


เอาแล้ว ถ่านหินจบ ไอ้โล้นโดดงับต่อเลย สาวกวัดนี้สวกเหมือนหมากันซะด้วย






# Sun 19 Feb 2017 : 1:25PM

Kiva
member

Since 2014-12-29 16:21:35
(2906 post)
เอาเรื่องธรรมกายต่อ ขีดเส้นให้พระและชาวบ้านออกจากวัดภายในบ่ายสาม
[Link]

# Sun 19 Feb 2017 : 2:38PM

Ramza
member
บีบตูดชายแล้วร้องซี๊ด
Since 17/9/2007
(18884 post)
เทคสมัยแม่เมาะกับตอนนี้มันต่างกันมากนะ

แต่ก็เห็นล่มมาหลายรอบและล่ะไอ้โรงไฟฟ้าภาคใต้ ไงๆก็ต้องสร้างภาคใต้แหละเพราะภาคอื่นเขามีหมดพอใช้นะ


มันแปลกตรงที่ล่มกี่รอบ กี่รอบ พอจะทำก็ถ่านหินทุกที

มองมุมคนต้านมันมีมุมแอบมีผลประโยชน์ทับซ้อนเลยต้องถ่านหินน่ะสิ

แต่อีกมุมคือ แกนนำและกลุ่มคนที่ต้านพอได้ไปร่วมภาคีประชุมก็ไม่มีแผนทางเลือกให้ซะที บอกมีทางเลือกแต่แผนไม่เคยมีแผนเกิด ซะที พอคนถามบอกเรามีตัวเลือกอื่นพอจะประชุมก็ไม่เคยหยิบแผนทางเลือกที่ว่ามาโชว์


ไม่ใช่อะไร ผมเห็นมันติดลูปจะสร้าง และ ก็ล่ม ตัวเลือกอื่นแม่งก็ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมซะที หมายถึงจากฝ่ายที่ค้านนะเพราะเขาก็ร่วมภาคีเหมือนกัน 5555555

# Sun 19 Feb 2017 : 4:54PM

Torita
member

Since 9/4/2007
(9585 post)
กม.บังคับใช้แล้ว ห้ามญาติคนไข้ จ่ายเงิน รพ.เอกชนฯ กรณีฉุกเฉินเด็ดขาด คุณอุ้ย ส่งมาเตือน เพราะผิดกม.ค่ะ

โปรดช่วยกันแชร์
---
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต คนไทยทุกคนมีสิทธิรักษาฟรีใน 72 ชม.ในทุกโรงพยาบาล ไม่มีสิทธิเรียกมัดจำหรือให้ญาติเซ็นรับสภาพหนี้ กรมสนับสนุนฯ มีหนังสือเวียนถึงรพ.ต่าง ๆ รพ.ใดเก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉิน มีโทษตามกฎหมายทันที (อ่านข่าวที่ลิงค์นี้ http://bit.ly/2kDFYK6)
---
วิกฤตคือ
1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก
---
หากยังถูกเรียกเก็บเงิน ให้โทร 1669 (สายด่วน สพฉ.- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)
---
ที่ผ่านมานโยบายนี้มีปัญหามาก รพ.เอกชนหลายแห่งเรียกเก็บโดยปชช.ไร้อำนาจต่อรอง เพราะชีวิตอยู่ในมือสถานพยาบาล บัดนี้เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว พวกเราปชช.ก็ต้องรู้สิทธิ และโต้แย้งเป็น จะได้ไม่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัวกันอีกต่อไป
---
ข้อความนี้ดิฉันนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เป็นผู้จัดทำ


ไม่จริงนะครับ

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต คนไทยรักษาฟรีใน72ชม.ยังไม่มีผลบังคับใช้ครับ อยู่ระหว่าง ดำเนินการทางนโยบายและขั้นตอนกฎหมาย ต้องนำเข้า ครม.เห็นชอบในเรื่องของราคาค่าใช้จ่าย
โดย สพฉ.จะเป็นผู้ดูแล ด้านoperation และใช้พรบ.สถานพยาบาล(แก้ไข ฉบับบใหม่ )มาบังคับใช้เพื่อให้การดูแลผป.ฉุกเฉินวิกฤตมีประสิทธิภาพ คราดว่าจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ครม.ก่อน2มี.ค. อาจจะมีผลบังคับใช้ภายใน เม.ย.ครับ
รายละเอียดเมื่อฉุกเฉินวิกฤต เข้ารพ.กองทุนตามสังกัด จะตามจ่ายให้ตามราคาที่ ครม.กำหนด(คราดว่าคือfee schedule)

# Sun 19 Feb 2017 : 4:59PM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15464 post)
ก่อนจะวิจารณ์ ขอให้มีความรู้ในเรื่องวิจารณ์ซักนิดนะครับ

ไฟฟ้าผลิตเท่าไหร่จะเท่ากับการใช้งานไปเสมอ เก็บไม่ได้ (กรณีใช้แบ็ตเก็บ การชาร์จแบ็ตถือเป็นการใช้ไฟฟ้าอย่างหนึ่ง) เวลาไฟฟ้าไม่พอ สิ่งที่จะเกิดคือไฟตก (Voltage ลด) ซึ่งผลของ voltage ลด มันก็จะไปลดการใช้ไฟฟ้าของโหลด เช่น แสงสว่างก็สว่างน้อยลง หรือหลอดไฟบางประเภทดับไปเลย เครื่อจักรประเภทมอเตอร์ (หลักๆ ก็ปัมพ์น้ำ คอมเพรสเซอร์) ก็หมุนช้าลงจนถึงหยุดทำงาน ทั้งนี้ไม่รวมความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

ในเมื่อการผลิต ต้องเท่ากับการใช้เสมอ โรงไฟฟ้าจะต้องปรับเพิ่ม/ลดกำลังการผลิตตลอดเวลา เพื่อให้สมดุลย์กับการใช้ไฟฟ้าทั้งนี้เพื่อให้ voltage คงที่

เพื่อให้ง่ายผมขอยกตัวอย่างว่าโรงไฟฟ้าคือเครื่องยนต์ และโหลด (การใช้ไฟฟ้า) คือถนนที่มีความชันต่างๆ กัน voltage ของระบบคือความเร็วของรถ ถ้าเราต้องการให้รถวิ่งด้วยความเร็วตงที่ แต่ถนนมีถนนชันมาก ชันน้อย วิธีการที่ทำให้มันเร็วคงที่คือเร่งคันเร่งให้มันพอดีนั่นเอง

สำหรับเรื่องไฟฟ้ากำลัง (electricity grid) ความซับซ้อนมันมากกว่า เพราะโหลดมีหลายจุด โรงไฟฟ้ามีหลายที่ และเชื่อมต่อกันด้วยระบบจ่ายไฟฟ้าที่มีข้อจำกัด

การบริหารจัดการ grid ต้องคำนึงถึงโหลดที่ขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละจุด และข้อจำกัดและตำแหน่งของโรงไฟฟ้าที่มี รวมทั้งข้อจำกัดและการเชื่อมต่อของระบบสายส่ง โรงไหนจะผลิตเท่าไหร่ มันถึงจะสมดุลย์กับโหลด และสายส่งรับได้เกิด grid balance ซึ่งถ้าบริหารดีๆ ปรับสมดุลย์ดีๆ ไฟจะไม่ค่อยตก หม้อแปลงสายส่งไม่พัง และการสูญเสียพลังงานจะน้อย พอเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่าโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้โหลด มันดียังไง

ทีนี้มาว่ากันด้วยข้อจำกัดของโรงไฟฟ้า ทั้งในด้านความเชื่อถือได้ ความสามารถในการปรับระดับการผลิตขึ้นๆลงๆ และต้นทุนการผลิต

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
ปัจจุบันจะเป็นกังหันก๊าซ (gas turbine) ผสมกับกังหันไอน้ำ (stream turbine) เรียกว่า Combined cycle plant หลักการคือเอาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงไปเผาใน gas turbine ซึ่งมันคล้ายๆ เครื่องยนต์เจ็ต แต่เน้นพลังจากการหมุนของแกนเทอร์ไบน์ ไม่ใช่แรงขับดัน เอาความร้อนที่เหลือจาก gas turbine ไปต้มน้ำในหม้อต้ม (stream generator) เอาไอไปปั่น stream turbine โรงไฟฟ้าชนิดนี้ ประสิทธภาพสูง มลภาวะต่ำ แต่ข้อจำกัดคือมันเหมาะกับการเป็น base load คือ ผลิตไฟฟ้าในระดับค่อนข้างคงที่ ในระดับสูง (85%+ ของกำลังการผลิตตามสเป็ค) การปรับขึ้นลงทำได้ดีพอสมควร ข้อจำกัดอีกอย่างคือมันต้องมีท่อก๊าซมาถึง ปัจจุบันโรงไฟฟ้าไทยเป็นกังหันก๊าซเยอะมาก เรียกว่าเยอะเกินไปก็ว่าได้ ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติที่ไทยผลิตได้ ไม่เพียงพอกับการใช้ (และจาก reserve ก็พอบอกได้ว่ามันคงใช้ได้อีกไม่กี่สิบปี) ปัจจุบันก็ต้องใช้ก๊าซพม่า และมาเลย์ ซึ่งมีท่อส่งมาแค่ 2 ท่อ หากต้องปิดบำรุงรักษา หรือมีปัญหา โรงไฟฟ้าก็ต้องหยุด โรงไฟฟ้าชนิดนี้ทำงานต่อเรื่อง 24ชม. ได้เป็นปี แต่ต้องหยุดบำรุงรักษาตามตาราง มีทั้ง minor และ major maintenance สำหรับ major หยุดทีนานเป็นเดือน เรื่องก๊าซ มีอีกวิธีคือขนบรรทุกเรือมาแบบ LNG (liquified natural gas ก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่เหมือน lpg นะครับ) มาเข้าท่าเรือ LNG Terminal ซึ่งจะมีที่เก็บ และมีโรงทำก๊าซเหลวเป็นก๊าซเข้าโรงไฟฟ้า LNG แพงกว่าเพราะต้องอัดจนเหลวมาจากต้นทาง (ใช้พลังงานเยอะ) และต้องขนส่งในเรือขนส่งราคาแพง (ต้องมีระบบทำความเย็น) ค่าขนส่งก็แพง แถมต้องลงทุนสร้าง LNG terminal อีก (ลองคิดดูว่าถังเก็บ LNG กับชุมชน มันก็เสี่ยงกว่าโกดังเก็บถ่านหินเยอะ) โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ บางโรงสามารถใช้น้ำมันดีเซล หรือน้ำมันก๊าด เป็นเชื้อเพลิงสำรองตอนท่อก๊าซมีปัญหาได้ โรงไฟฟ้าชนิดนี้เป็น base load ได้ดี และยังสามารถปรับขึ้นลงได้ด้วย

โรงไฟฟ้าถ่านหิน
หลักการคือเอาถ่านหินไปเป็นเชื้อเพลิงเผาใน stream generator เพื่อผลิตไอน้ำเอาไอไปปั่น stream turbine โรงไฟฟ้าชนิดนี้ บำรุงรักษาน้อยกว่า เพราะไม่ค่อยมีอะไรพัง ใช้เวลาบำรุงรักษาน้อย และโดยทั่วไปมีต้นทุนต่ำที่สุด เพราะถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกกว่าอย่างอื่น ขนก็ง่าย ใช้เรือกกระจอกกว่าขนน้ำมันและ lng เยอะ เรือถ่านล่มลงทะเทก็ไม่ถือว่าฉิบหายเท่าไหร่ ข้อเสียคือการเผาถ่านหินอาจจะมีมลภาวะเยอะกว่าการเผาก๊าซ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับคุณภาพถ่าน และคุณภาพโรงไฟฟ้า ข้อจำกัดของโรงถ่านก็คล้ายๆ กับโรงก๊าซ คือมันเหมาะเป็น base load เพราะผลิตไฟฟ้าได้เยอะ รันยาวๆ ชัวร์กว่าโรงก๊าซพอสมควรไม่ค่อยพัง ความสามารถในการปรับการผลิตไม่ปรูดปราดนัก เหมาะสำหรับเป็น base load คือรันไปตลอดเวลา ไม่ต้องปรับ หรือปรับน้อย

โรงไฟฟ้าน้ำมันเตา
ใช้น้ำมันเตาเผาผลิตไอน้ำปั่นไฟ ปัจจุบันแทบไม่มีใช้แล้ว เพราะเชื้อเพลิงมันแพง ถ้าจะใช้ก็เป็นโรง backup เวลาโรงอื่นมีปัญหา

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
ข้อจำกัดหลักๆ คือน้ำในเขื่อนมีจำกัด แต่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และวัตถุประสงค์หลักของเขื่อนส่วนใหญ่เพื่อการชลประทาน การผลิตไฟเป็นของแถม เขาจะปล่อยน้ำแค่ไหนต่อวัน สำหรับเขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าได้ในไทยเป็นการตัดสินใจเพื่อชลประทานเป็นหลัก โรงไฟฟ้าเป็นของแถม ปัจจุบันเขาก็จะ timing การปล่อยน้ำในช่วง peak load เพราะต้นทุนต่ำ ดีกว่าไปผลิตด้วยโรงดีเซล หรือโรงน้ำมันเตา ทำหน้าที่เป็น peaker plant หรือโรงไฟฟ้าปรับสมดุลย์ได้ดี

Solar
ข้อจำกัดหลักคือมันควบคุมการผลิตอะไรไม่ได้ เป็นไปตามสภาพอากาศ เมฆเยอะ ฝนตก แดดออก อยู่ในมือธรรมชาติ การผลิต swing กระจาย 20%-100%-50% ใน 1 นาที แค่เมฆบัง ถ้ามีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์เยอะ ต้องมีโรงไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็น peaker plant เยอะด้วย ไม่งั้น grid ล่มเอาง่ายๆ

โรงไฟฟ้า bio mass ขยะ หรือน้ำเสีย
มันก็คือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิง biomass นั่นเอง ข้อเสียหลักคือ เชื้อเพลิงไม่ได้มีสม่ำเสมอ และบางครั้งมลภาวะเยอะมากๆ พังก็บ่อย เพราะเชื้อเพลิงมันไม่นิ่ง
[Edited 1 times Sukoy - Last Edit 2017-02-19 17:13:56]

# Sun 19 Feb 2017 : 5:09PM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15464 post)
มาเรื่องกระบี่

ไอ้พวก NGO ที่บอกให้ไปสร้างโรงแสงอาทิตย์ ลม biomass แทน แม่งไม่ได้มีความรู้ห่าเหวอะไรเลย มันไม่ได้แก้ปัญหาของภาคใต้

ปัญหาของไฟฟ้าในภาคใต้คือมันมีกำลังการผลิตไม่พอ และ peak load มันอยู่ตอนหัวค่ำ ไม่มีแดดแล้ว และเมื่อพิจารณาถึงโรงไฟฟ้าอื่นที่มีอยู่ (ขนอม จะนะ ซึ่งใช้ก๊าซ อ่าวไทยและมาเลย์)

ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือ base load powerplant มี 3 ทางเลือกในเทคโนโลยีปัจจุบัน 1.นิวเคลียร์ 2.ก๊าซ 3. ถ่านหิน

1. ห้ามแม้แต่จะคิด
2. ไม่มีท่อก๊าซที่กระบี่ และถ้าต่อท่อมามันก็ไม่ได้ช่วยอะไรใรเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ก๊าซมันจะไม่พอใช้อยู่แล้ว ถ้าท่อมีปัญหาจะเกิดอะไรขึ้น สร้างท่อ เผลอๆ ประท้วงกันยาวตลอดแนวท่อ ทางทะเลก็ยาก
3. ถ่านหิน แก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงพลังงานได้เยอะ เพราะถ่านหินมีหลายแหล่ง และเหลือเฟือไปอีกหลายร้อยปี

# Sun 19 Feb 2017 : 5:18PM

DeltaForcesTron
member

Since 7/3/2010
(750 post)


ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นอะไรที่ .. จะเรียกว่าไงดี หาคำที่เลวร้ายสุดๆมาทดแทนสิ่งที่เห็นไม่ได้
เอาศาสนาและมนุษย์กันเองมาเป็นเครื่องมือ มันโครตที่สุดของความทุเรศจริงๆ

ฝุ่นคงเยอะ ใส่แมสก์ ใส่หมวก ใส่แว่น ทั้งสัตว์ในจีวร และสัตว์ในคราบชาวบ้าน

# Sun 19 Feb 2017 : 8:41PM

Badboyzuza
member

Since 2017-01-30 16:11:55
(91 post)
เหอะๆไหนจะปืนมีดซุกซ่อนในรถ ยิงเลเซอร์พังกล้อง ปัดกล้องใช้ความรุนแรง ขู่นักข่าว-จนทหญิง ด่าหยาบๆคายๆ โคตรรรรจะมีศีลธรรม ไม่มีมีความจัญไรเล้ย พระปฏิบัติดี ธัมมะธัมโม บริสุทธิ์ถุ้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยบบบบ

# Sun 19 Feb 2017 : 8:49PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)


"ตัดน้ำตัดไฟวัดธรรมกาย คืนนี้!!" [Link]


ธรรมกายจบเห่แล้วรึยัง ?
[Edited 1 times toranin - Last Edit 2017-02-19 21:56:53]
View all 1 comments >

# Sun 19 Feb 2017 : 8:51PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
มันไม่ผ่านเพราะชาวบ้านไม่เอา มันไม่ผ่าน EHIA ก็จบแล้วครับ

ข้อมูลความจำเป็นในการสร้าง เปิดคลิปของอ.วีระ ธีรภัทร ก็เข้าใจกันแล้วครับ ที่กฟผ.แจกให้ชาวบ้านก็คงไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่ ถามว่าพวกที่ต้านรู้เรื่องไฟฟ้ามั๊ย หลายคนมีความรู้ด้านนี้นะครับ แต่คำถามคือทำไมเค้าไม่เอา ?


ปัญหาหลายอย่างมันคาราคาซังตอบไม่ได้ บอกไฟฟ้าไม่พอ แต่ก็มีพลังงานทดแทน พวก biomass ที่เผาทิ้งทุกๆวัน 230 เมกะวัตต์ (โอเคมันก็ไม่ได้มากมายยั่งยืนอะไร) แต่รัฐไม่เอา คือพลังงานทดแทนรัฐก็เหมือนหลับหูหลับตาไม่เอาเลย นโยบายภายนอกก็พูดกันว่าจะส่งเสริม แต่ในทางปฏิบัติมันสวนทาง ไม่เอาอ่ะ ไม่ซื้อ ไม่อยากลากสายมันแพง แต่เลือกไปสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ แล้วจะไปตอบคำถามเค้ายังไงครับ

มันถึงจบไงครับ

อีกปัญหาคือจุดที่สร้าง โอเค ข้ออ้างสร้างที่กระบี่ จะเอาเรือขนมันง่าย บลาๆๆ แต่มันไม่ผ่าน คนไม่เอา ก็ยังดันทุรังจะสร้างตรงนั้น คือถ้าไปสร้างที่อื่นที่ไม่ใช่กระบี่ แรงต้านจะน้อยกว่านี้ เผลอๆโครงการเดินไปได้นานแล้ว (ไอ้พวกที่สนับสนุนกันเย้วๆหลายคน ถ้าไปสร้างข้างบ้านมันก็ไม่มีหมาตัวไหนเอาเหมือนกันนะ อ้าวซะงั้น)


ปัญหามันเป็นเรื่องโครงสร้างการวางแผน เอาแค่ในภาครัฐยังไปกันคนละทาง เรื่องพลังงานทดแทนวันนี้ก็ยังเดินไปไม่ถึงไหน พอทำก็มีปัญหาเรื่องราคา เรื่องการลงทุน-กำไรของเอกชน ฯลฯ จะจัดการให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม (ถ้ามีข้อนี้ที่กระบี่ก็น่าจะผ่าน) แต่มันไม่มีอะไรเลยไงครับ มันมีแค่ กูจะสร้าง แล้วก็เลยเจอ กูไม่เอา ใครมันจะเอาล่ะครับ แม่เมาะนี่ฉิบหายขนาดไหน จะอ้างว่า เฮ้ย ปลอยภัย 100% ไม่ใช่ลิกไนต์ ใครมันจะเชื่อล่ะครับ ทุกวันนี้ไปดูที่แม่เมาะ เอาที่ศาลบอกให้โรงไฟฟ้าแก้ไข มันยังไม่ค่อยทำกันเลย คือเวลาปฏิบัติจริงมันไม่สวยหรูแบบที่โฆษณานะครับ
[Edited 1 times toranin - Last Edit 2017-02-19 22:00:21]

# Sun 19 Feb 2017 : 11:01PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
โจทย์วันนี้ไม่ใช่ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้า แต่โจทย์คือทำไมสร้างไม่ได้ ทำไมถูกต้าน (กฟผ.ก็พูดแต่จะสร้าง แต่ชาวบ้านบอกไม่ให้สร้าง) ถ้าแก้ปัญหาได้ ได้สร้างไปแล้วครับ

# Mon 20 Feb 2017 : 6:56AM

Sukoy
member

Since 24/6/2005
(15464 post)
ถ้าอยากดูโรงถ่านหินสมัยใหม่ให้ไปดูโรง BLCP ที่ระยองขนาด 1,400MW ครับ ไปถามชาวบ้านรอบๆ ว่ามันเดือดร้อนยังไงไหม โรงกระบี่มีเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเหนือกว่าโรงนั้น 15 ปีอีกต่างหาก

พูดกันอยู่นั่น แม่เมาะ ดักดานสุดๆ มันโรงไฟฟ้าคนละชนิด สมัยไหนแล้วเทคโนโลยีมันคนละเรื่องกันเลย และเอาจริงปัญหาของแม่เมาะ มันมาจากเหมืองเปิดมากกว่าโรงไฟฟ้า

ส่วนเรื่อง biomass 230 MW คุณลองไปดูว่ามันผลิตได้จริงแค่ไหน 50 MW ยังไม่ชัวร์เลยมั้ง แต่ละโรง 5MW 10MW ทำงานกันได้ปีละ 25% ยังไม่รู้ถึงหรือเปล่า เรื่องสิ่งแวดล้อมบรรลัยหนักกว่าโรงถ่านหินเยอะ ฝุ่นควันฟุ้ง น้ำเน่าเหม็น จนชาวบ้านประท้วงทั่วไปเหมด

ใครอยากรู้ว่าโรงไฟฟ้าเป็นไง แนะนำให้ไปดูของจริงครับ มันไม่น่ากลัวอะไรเลย เจอโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสยองกว่า 10 เท่า
[Edited 2 times Sukoy - Last Edit 2017-02-20 07:09:04]

<<
<
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
>
>>
Reply
Vote




1 online users
Logged In :