Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
[ไม่ใช่การเมืองไทย] กระทู้ 'การเมือง/ความมั่นคง/เศรษฐกิจ/' ระหว่างประเทศ

<<
<
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
>
>>
Reply
Vote
# Thu 23 May 2019 : 10:32PM

DonaldDuck
member

Since 5/8/2005
(8457 post)


ใครว่างๆ ลองฟังดู แขกรับเชิญของโจวันนี้คืออดีตตำรวจในภาคเหนือแถบชายแดนของเม็กซิโก ฟังเพลินๆ เปิดหูเปิดตาดีครับ

[Edited 1 times DonaldDuck - Last Edit 2019-05-23 22:53:26]


# Sat 25 May 2019 : 8:07AM

Kevin4real
member

Since 2018-12-10 14:34:55
(2725 post)
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย! เกาหลีเหนือประณามสหรัฐฯ กรณียึดเรือสินค้าที่น่านน้ำอินโดนีเซีย
.
วานนี้ (21 พ.ค.) ผู้แทนถาวรเกาหลีเหนือประจำองค์การสหประชาชาติประณามสหรัฐฯ กรณียึดเรือสินค้าของเกาหลีเหนือ
.
คิมซองกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติที่นิวยอร์กว่า 9 พ.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำที่รุนแรง โดยการยึดเรือสินค้าไวส์ ฮอเนสต์ (Wise Honest) ของเกาหลีเหนือและบังคับลากไปจอดที่เกาะอเมริกันซามัว ภายใต้การกล่าวอ้างมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวและอ้างว่าละเมิดกฎหมายท้องถิ่นของสหรัฐฯ เอง
.
ทั้งนี้ เรือสินค้าลำดังกล่าวถูกกักในน่านน้ำของอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 และกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ออกมาประกาศการยึดเรือลำดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2019 ด้วยข้อหาฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติและสหรัฐฯ
.
คิมซองระบุว่าการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวและกฎหมายภายในประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ใช้กล่าวอ้างเพื่อยึดเรือสินค้านั้น “เป็นความอยุติธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดเจน” เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวและการใช้กฎหมายภายในประเทศกับประเทศที่สาม ย่อมไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
.
คิมซองกล่าวต่อไปว่าเรือไวส์ฮอเนสต์เป็นเรือในความครอบครองของรัฐและเป็นทรัพย์สินของเกาหลีเหนือ “เราถือว่าเรือลำนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตประเทศซึ่งเรามีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์”
.
เขาเน้นย้ำว่าเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือได้เรียกร้องให้มีการส่งคืนเรือสินค้าลำดังกล่าวโดยทันที และขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ พิจารณาว่าการกระทำของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในอนาคต
.
คิมซองระบุว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเขาได้ส่งจดหมายถึงอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ว่าด้วยประเด็นการยึดเรือสินค้า “เพื่อชี้แจงจุดยืนที่มีหลักการของเรา”

# Sat 25 May 2019 : 9:54AM

Kevin4real
member

Since 2018-12-10 14:34:55
(2725 post)
คนจีนรู้สึกอายที่ใช้ไอโฟน
[Link]
View all 1 comments >

# Mon 27 May 2019 : 12:54PM

Skad1sT
member

Since 2019-03-20 09:16:25
(19 post)
หนุ่ย พงศ์สุขออกมาอธิบายข้อสงสัยของหัวเหว่ยแล้วนะครับ รวมถึงเรื่อง ARM ด้วย


# Sun 9 Jun 2019 : 7:14PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
ขุนคลังสหรัฐฯ ชี้ “ซัมมิททรัมป์-สี” ครั้งต่อไปจะได้เห็นความคืบหน้าสำคัญในประเด็นการค้า



รอยเตอร์ – รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ สตีเฟน มนูชิน กล่าวในวันนี้ (8) ว่า เขาจะหารือประเด็นการค้ากับ อี้ กัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประชาชนของจีน แต่ความคืบหน้าสำคัญในข้อพิพาทการค้าสหรัฐฯ-จีนจะเกิดขึ้นในการพบกันระหว่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนในเดือนนี้

มนูชิน บอกผู้สื่อข่าวนอกรอบกาประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังกลุ่ม G20 ในญี่ปุ่นว่า การประชุมของทรัมป์และสีเป็นการประชุมครั้งสำคัญถัดไปในประเด็นการค้า

มนูชินเปรียบการพบกันครั้งนี้ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากจีนกับการประชุมทรัมป์-สีเมื่อเดือนธันวาคมในบวยโนสไอเรสที่กรุยทางสู่การเจรจานาน 6 เดือนเพื่อคลี่คลายประเด็นนี้

มนูชิน กล่าวว่า เขาไม่ได้มีเป้าหมายเจาะจงสำหรับการหารือในวันพรุ่งนี้ (9) กับอี้ สมาชิกคนสำคัญของทีมเจรจาการค้าจีน เขากล่าวว่า สองผู้นำการเงินจะหารือประเด็นทางเศรษฐกิจและการเงินในฐานะส่วนหนึ่งของความร่วมมือ G20 ทั่วไปและจะพูดคุยประเด็นการค้าต่างๆ ด้วย แต่คงจะไม่มีคำประกาศ



“นี่ไม่ใช่การพบปะเจรจา” มนูชิน กล่าว

มนูชิน กล่าวว่า สหรัฐฯ และจีนเดินทางมาประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ในเส้นทางสู่การบรรลุ “ข้อตกลงประวัติศาสตร์” ก่อนที่จีนจะผิดคำมั่นบางข้อ เขากล่าวว่า หากจีนต้องการรื้อฟื้นการเจรจาบนพื้นฐานของเนื้อหาก่อนที่การเจรจาเมื่อเดือนพฤษภาคมจะพังครืน สหรัฐฯ ก็พร้อมที่จะมีส่วนร่วม

“หากเราสามารถได้ข้อตกลงที่ใช่ มันก็คงดี แต่หากเราไม่ได้ข้อตกลงที่ใช่ เราจะผลักดันกำแพงภาษี” มนูชิน กล่าว

คณะบริหารทรัมป์กำลังดำเนินการบังคับใช้ภาษี 25 เปอร์เซ็นต์กับสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ที่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสองระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก กำแพงภาษีนี้อาจพร้อมใช้ช่วงปลายเดือนมิถุนายน เมื่อการประชุมโอซาก้า G20 เริ่มต้น

มนูชิน กล่าวว่า สหรัฐฯ ต้องการการค้าที่เสรี เท่าเทียม และสมดุลกับจีน ส่วนหนึ่งเพื่อปิดส่วนขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับจีน

“หากเราทำไม่ได้เช่นนั้น ผลสุดท้ายจะเป็นสิ่งที่ผมคาดการณ์คือบริษัทมากมายจะย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังที่อื่น เนื่องจากกำแพงภาษี” มนูชิน กล่าว

ข้อมูลจาก: ผู้จัดการ ออนไลน์

# Tue 11 Jun 2019 : 3:35PM

Kevin4real
member

Since 2018-12-10 14:34:55
(2725 post)
ข่าวบันเทิง จัสติน บีเบอร์ ประกาศไฝว้กับทอมครูซในUFC

# Tue 11 Jun 2019 : 7:19PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
คาดนักบินญี่ปุ่นหลงสภาพการบิน ต้นตอ F-35 ดิ่งกระแทกทะเล 1,100 กม./ชม.



รอยเตอร์ - กองทัพอากาศญี่ปุ่นในวันจันทร์ (10 มิ.ย.) ระบุว่า “อาการหลงสภาพการบิน (spatial disorientation)” มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นต้นตอที่ทำให้หนึ่งในนักบินบังคับเครื่องบินรบล่องหน F-35 ดิ่งลงมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ลงกระแทกน้ำด้วยความเร็วมากกว่า 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เครื่องบินรบล่องหนล้ำสมัยที่ผลิตโดยล็อกฮีด มาร์ติน สูญหายไปจากรอดรดาร์ระหว่างซ้อมรบร่วมกับเครื่องบิน F-35 ลำอื่นๆ เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา เป็นเหตุให้นักบินวัย 41 ปี เสียชีวิต

“เราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่นักบินจะเกิดอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน หรือที่เรียกว่าอาการหลงสภาพการบิน และไม่รู้สึกตัว” ทาเคชิ อิวายะ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นแถลงสรุป “มันสามารถส่งผลกระทบได้กับนักบินทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งนักบินที่มีประสบการณ์”

คำประเมินของญี่ปุ่นซึ่งเป็นการตัดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาทางกลไกหรือซอฟต์แวร์ ว่าไม่ได้เป็นต้นตอของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินล้ำสมัย ดูเหมือนจะช่วยคลายความกังวลแก่ประเทศอื่นๆ ที่มีฝูงบิน F-35 ประจำการหรือมีแผนนำเข้าประจำการในอนาคต ในนั้นรวมถึงสหรัฐฯ, อังกกฤษ และออสเตรเลีย

อิวายะบอกว่า ญี่ปุ่นจะเพิ่มการฝึกฝนแก่นักบินในการรับมือกับอาการเวียนศีรษะ, ตรวจเช็กเครื่องบิน F-35 ลำอื่นๆ ที่เหลือ และพบปะทำความเข้าใจกับพวกชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่ใกล้ฐานทัพมิซาวะ จังหวัดอะโอโมริ แล้วถึงค่อยส่งฝูงบิน F-35 คืนสูท้องฟ้าอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังไม่สามารถกู้ข้อมูลที่ครบถ้วนจากกล่องบันทึกข้อมูลการบินของเครื่องบินมูลค่า 126 ล้านดอลลาร์ลำนี้ เพื่อสนับสนุนคำประเมินเบื้องต้นของพวกเขา ขณะที่ผลสืบสวนเบื้องต้นที่ได้นั้นมาจากข้อมูลและการสื่อสารที่ได้รับจากหอควบคุมการบินและจากการสัมภาษณ์นักบินรายอื่นๆ เท่านั้น

นักบินซึ่งมีประสบการณ์บินเครื่องบิน F-35 เพียง 60 ชั่วโมง ไม่ได้บ่งชี้ใดๆว่าเขาประสบปัญหาและไม่ได้พยายามหลีกเลี่ยงการโหม่งโลก ทั้งที่ในขณะนั้น ตัววัดและระบบแจ้งเตือนเมื่อใกล้พื้นดินก็น่าจะส่งสัญญาณเตือนให้เขาดึงเครื่องขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันกองทัพอากาศก็ไม่พบข้อบ่งชี้ด้วยว่าเขาได้พยายามดีดตัวออกมา

เครื่องบินของเขาซึ่งมีอายุใช้งานไม่ถึงปีและเป็นส่วนหนึ่งของฝูงบินที่เพิ่งเข้าประจำการ ประสบอุบัติเหตุหลังจากเทกออฟได้ราวๆ 28 นาที ทำให้เศษซากของเครื่องบินกระจัดกระจายทั่วผืนทะเล

ในเดือนธันวาคม ญี่ปุ่นเผยว่าจะซื้อเครื่องบินล่องหน F-35 อีก 45 ลำ ในนั้นรวมถึงรุ่นที่เทกออฟระยะสั้น และขึ้นลงจอดแนวดิ่ง มูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มเติมจากคำสั่งซื้อเดิม 42 ลำ

ญี่ปุ่นระบุว่าท้ายที่สุดแล้วพวกเขาต้องการ F-35 ในประจำการราว 150 นับ ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ซื้อต่างแดนฝูงบิน F-35 รายใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่พวกเขาพยายามรับมือกับความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางทหารของจีน

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์

# Tue 11 Jun 2019 : 7:28PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
สื่อแฉ! ยูเออีจ้าง “นักธุรกิจ” ล้วงข้อมูลรัฐบาลทรัมป์



เอเอฟพี – นักธุรกิจชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสืบสวนการบริจาคเงินอย่างผิดกฎหมายให้ทีมหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการว่าจ้างจากหน่วยงานข่าวกรองของประเทศของเขาให้สอดแนมคณะบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อินเตอร์เซ็ปต์ รายงานวานนี้ (10)

ราชิด อัลมาลิค ได้รับเงินหลายแสนดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายบริหารของทรัมป์ต่อตะวันออกกลางในปี 2017 เว็บไซต์นี้ ระบุ โดยอ้างอดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและเอกสาร

เขารายงานกลับไปยังหน่วยข่าวกรองแห่งชาติของยูเออีเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นผลประโยชน์สำหรับรัฐผู้ผลิตน้ำมันแห่งนี้ รวมถึงความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะเป็นคนกลางในความบาดหมางเรื่องกาตาร์ในอ่าวอาหรับ รวมทั้งการพบกันระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ของซาอุดีอาระเบีย อินเตอร์เซ็ปต์ ระบุ

เมื่อปลายปีที่แล้ว นิวยอร์กไทมส์และวอลสตรีทเจอร์นัล รายงานว่า คณะอัยการกลางสหรัฐฯ กำลังสืบสวนว่ามีชาวต่างชาติโอนเงินบริจาคผิดกฎหมายให้คณะกรรมการแรกเริ่มของทรัมป์และกลุ่มระดมทุนสนับสนุนทรัมป์หรือไม่

อัลมาลิค ประธานบริษัทลงทุน ฮายาห์ โฮลดิ้ง ถูกทีมงานของอัยการพิเศษ โรเบิร์ต มุลเลอร์ สอบปากคำในฐานะส่วนหนึ่งของการสืบสวน อ้างจากนิวยอร์กไทมส์

นิวยอร์กไทมส์อ้างบุคคลใกล้ชิดกับการสืบสวน ระบุว่า การสืบสวนนี้พยายามตรวจสอบว่ามีบุคคลจากกาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้เงินบริจาคเพื่อซื้อการมีอิทธิพลเหนือนโยบายสหรัฐฯ หรือไม่

รายงานดังกล่าวถูกปฏิเสธโดยทนายความของมาลิคที่บอกอินเตอร์เซ็ปต์ว่า ลูกความของเขาไม่ได้ปฏิบัติงานด้านข่าวกรอง

“เขาไม่เคยรับงานส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานวงในของคณะบริหารทรัมป์” คอฟฟิลด์ เขียนในอีเมลถึงเว็บไซต์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เขามีโอกาสหลายครั้งที่จะพูดคุยเรื่องแนวคิดทางธุรกิจสำหรับโครงการของยูเออีในสหรัฐฯ ทนายความ กล่าว

รายงานของอินเตอร์เซ็ปต์ออกมาหลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกระทรวงยุติธรรม ระบุ จอร์จ เนเดอร์ นักแก้ปัญหาด้านตะวันออกกลางของทีมหาเสียงทรัมป์ ถูกจับกุมฐานครอบครองสื่อลามกเด็ก

เนเดอร์เป็นพยานในการสืบสวนคดีรัสเซียก้าวก่ายการเลือกตั้งของอัยการพิเศษ โรเบิร์ต มุลเลอร์

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์
[Edited 1 times "MnemoniC" - Last Edit 2019-06-11 19:29:28]

# Tue 11 Jun 2019 : 7:56PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
‘บิ๊กเพนตากอน’ระบุในคำปราศรัยสำคัญ ‘จีน’ต้องหยุดพฤติกรรมบั่นทอนอธิปไตยของชาติอื่นๆ


รักษาการนายใหญ่เพนตากอน แพทริก แชนาแฮน กล่าวปราศรัยแจกแจงนโยบาย “อินโด-แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ ในการประชุม แชงกรีลา ไดอะล็อก ที่สิงคโปร์ วันที่ 1 มิ.ย.

By Simon Roughneen, Singapore
01/06/2019

แพตริก แชนาแฮน รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวย้ำยืนยันความผูกพันที่อเมริกามีอยู่กับภูมิภาคที่อเมริกาเวลานี้พยายามเรียกขานด้วยวลีแฝงนัยต่อต้านจีนว่า “อินโด-แปซิฟิก” แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ถึงขนาดเรียกร้องชาติต่างๆ ต้องตัดสินใจเลือก “อยู่ข้างเรา หรือไม่ก็อยู่ข้างตรงกันข้ามกับเรา”

รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ แพตริก แชนาแฮน (Patrick Shanahan) ใช้โอกาสไปร่วมเวทีประชุมความมั่นคงระดับภูมิภาคที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประกาศนโยบายครั้งสำคัญของเขา โดยในคำปราศรัยซึ่งได้รับการจับจ้องคาดหมายกันคราวนี้ เขาออกปากเตือนจีนว่า “พฤติกรรมซึ่งบั่นทอนอธิปไตยของชาติอื่นๆ และหว่านเพาะความไม่ไว้วางใจต่อเจตนารมณ์ของจีน จักต้องยุติลงได้แล้ว”

แต่ในเวลาเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่ด้านกลาโหมระดับท็อปของอเมริกาผู้นี้ก็หยุดยั้งตัวเอง ไม่ถึงขึ้นเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะเข้าข้างฝ่ายไหนในการเผชิญหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนซึ่งกำลังดุเดือดเข้มข้น รวมทั้งบอกด้วยว่ายังคงมีโอกาสที่อภิมหาอำนาจทั้งสองจะทำความตกลงกันได้

“สหรัฐฯไม่ได้ต้องการให้ประเทศใดๆ ในภูมิภาคนี้ต้องเลือกข้าง หรือต้องยอมละทิ้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นผลบวกกับหุ้นส่วนใดๆ ทั้งนั้น” แชนาแฮนกล่าว พร้อมกับพูดต่อไปโดยที่มิได้เอ่ยนามแต่ก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเขากำลังกล่าวถึงจีน ว่า “บางรายในภูมิภาคของเรากำลังเลือกที่จะกระทำสิ่งซึ่งตรงกันข้ามกับหลักการต่างๆ และบรรทัดฐานต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์แก่พวกเราทั้งหมด”

พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯนั้นได้ส่งสัญญาณให้ทราบล่วงหน้าว่า แชนาแฮนจะประทับตีตราภูมิภาคนี้เป็นยุทธบริเวณ “ที่ทรงความสำคัญลำดับแรกๆ” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วเมื่อพิจารณาจากขนาดขอบเขตอันใหญ่โตของอินโด-แปซิฟิก และเมื่อพิจารณาจากความสามารถในการเข้าถึงทางการทหารในขอบเขตทั่วโลกซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วของสหรัฐฯเอง

“ในอดีต เราไม่ได้มีทรัพยากรและไม่ได้มีเงินทุน” แชนาแฮนบอก ขณะกำลังพูดถึงสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่บอกเอาไว้ก่อนแล้วว่า นี่จะเป็นคำปราศรัยซึ่งกล่าวถึงนโยบายอินโด-แปซิฟิกที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขกันใหม่

เมื่อการปราศรัยของแชนาแฮนจบลง กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยังได้เผยแพร่เอกสาร “รายงานยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก” (Indo-Pacific Strategy Report) ฉบับใหม่ ซึ่งกล่าวหาจีนว่ากำลังแสวงหา “ความเป็นเจ้าใหญ่ระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในระยะใกล้ และ การมีอำนาจเหนือใครๆ ทั่วโลกในระยะยาวในท้ายที่สุด”

แชนาแฮนกล่าวโดยไม่ได้เอ่ยชื่อจีน ว่ามี “กล่องเครื่องมือแห่งการใช้อำนาจบีบบังคับผู้อื่น” แล้วก็ร่ายยาวถึงความคับข้องใจต่างๆ ของสหรัฐฯเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายจีนในภูมิภาคนี้ เป็นต้นว่า “การติดตั้งประจำการระบบอาวุธอันก้าวหน้าเพื่อเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีกรณีพิพาทช่วงชิงอยู่กับประเทศอื่นๆ” และ “การทำตัวเป็นโจรชนิดอุปถัมภ์โดยรัฐ เพื่อขโมยเทคโนโลยีทางทหารและทางพลเรือนของชาติอื่นๆ”

“ไม่มีชาติหนึ่งชาติใดเลยที่สามารถ –หรือที่ควรจะ—ครอบงำอินโด-แปซิฟิก” เอาไว้แต่ผู้เดียว แชนาแฮนกล่าว แต่เมื่อถูกถามว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯกัคบจีนกำลังเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ เขาก็ตอบว่า “มีการเผชิญหน้ากันหรือ? ผมหยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาอ่าน และผมก็เห็นพูดถึงสงครามการค้า แต่ผมมองไม่เห็นว่ามีสงครามการค้านะ ผมเห็นการเจรจาการค้าที่กำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง”

เอียน สตอเรย์ (Ian Storey) แห่ง สถาบันไอเซียส ยูโซฟ อิสฮัค (ISEAS Yusof Ishak Institute) ซึ่งเป็นองค์การด้านการวิจัยทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในสิงคโปร์ กล่าวให้ความเห็นว่า “คำปราศรัย (ของแชนาแฮน) นี้ ส่วนหนึ่งเพื่อตอกย้ำให้ (พวกชาติพันธมิตร) เกิดความมั่นใจ และส่วนหนึ่งก็เป็นการตะโกนเรียกหาจีน มันทำให้เกิดความหวังที่ว่าสหรัฐฯกับจีนอาจสามารถคลี่คลายความแตกต่างไม่ลงรอยกันของพวกเขาได้”

“มีการตั้งความคาดหมายกันเอาไว้ว่า เขาจะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง แต่เขาไม่ได้ทำอย่างนั้นจริงๆ สักเท่าไร” สตอเรย์กล่าว

แชนาแฮนกล่าวปราศรัยคราวนี้ในเวทีประชุม “แชงกรีลา ไดอะล็อก” (Shangri-La Dialogue) อันเป็นงานชุมนุมประจำปีของเหล่ารัฐมนตรีกลาโหมจากทั้งเอเชีย, ยุโรป, และอเมริกาเหนือ ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ และดำเนินการโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อยุทธศาสตร์ศึกษา (International Institute for Strategic Studies ใช้อักษรย่อว่า IISS) ซึ่งเป็นองค์การคลังความคิด (think-tank) ด้านความมั่นคงเก่าแก่ชื่อเสียงโด่งดังที่ตั้งฐานอยู่ในอังกฤษ

ในหมู่ผู้ฟังคำปราศรัยของแชนาแฮน คนหนึ่งคือ เว่ย เฟิ่งเหอ (Wei Fenghe) รัฐมนตรีกลาโหมของจีน ผู้ซึ่งมีกำหนดขึ้นพูดในตอนเช้าวันอาทิตย์ (2 มิ.ย.) และเป็นที่คาดหมายกันว่า เขาจะโน้มน้าวชักชวนให้เห็นผลประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ผู้ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่าจะสามารถแซงหน้าสหรัฐฯก้าวขึ้นเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้ภายในทศวรรษข้างหน้านี้


รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ แพทริก แชนาแฮน (ซ้าย) จับมือกับรัฐมนตรีกลาโหมจีน เว่ย เฟิ่งเหอ ขณะพบปะหารือกันข้างเคียงการประชุม “แชงกรีลา ไดอะล็อก” เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่สิงคโปร์

ถึงแม้รัฐมนตรีกลาโหมทั้งสองได้พบปะหารือกันในคืนวันศุกร์ (31 พ.ค.) ซึ่งแชนาแฮมบอกว่าเป็นการพบปะที่ “ดีมาก” แต่กล่าวกันว่าเว่ยได้หยิบยกพูดถึงเรื่องที่เขามองเห็นว่าเป็นคำพูดและการกระทำ “อันไม่สร้างสรรค์” ของสหรัฐฯ ในเรื่องไต้หวัน

ความตึงเครียดระหว่างยักษ์ใหญ่ทั้งสองในเรื่องเกาะที่มีการปกครองตนเองแห่งนี้ ซึ่งจีนมองว่าเป็นมณฑลกบฎทรยศของตน น่าที่จะเพิ่มทวีขึ้นในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า

รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ (Mike Pence) ของสหรัฐฯ มีกำหนดที่จะขึ้นพูดเนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการปราบปรามที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยที่มันอาจจะเป็นการบรรเลงซ้ำคำปราศรัยของเขาในเดือนตุลาคมปี 2018 ซึ่งโจมตีปักกิ่งอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า จีน “ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าการผลักดันสหรัฐอเมริกันให้ออกจากแปซิฟิกตะวันตก และพยายามที่จะป้องกันไม่ให้เราเข้าไปช่วยเหลือเหล่าพันธมิตรของเรา”

วลี “อินโด-แปซิฟิก” (Indo-Pacific) ถูกนำเอามาใช้เป็นศัพท์แสงทางการทูตโดยญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1 ทศวรรษมาแล้ว ทว่าเพิ่งเป็นที่ยอมรับถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้นมาก หลังจากที่คณะบริหารทรัมป์มุ่งหาทางใช้วลีนี้เพื่อแทนวลี “เอเชีย-แปซิฟิก” ซึ่งใช้กันมายาวนานกว่านักหนา --โดยที่หลายฝ่ายมองว่านี่เป็นสัญญาณเชิงถ้อยคำโวหารของการจับกลุ่มกันอย่างหลวมๆ เพื่อต่อต้านจีนซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ การจับกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ควอด” (quad) ซึ่งแปลว่า 4 โดยนอกจากสหรัฐฯแล้ว ยังประกอบด้วยอินเดีย, ญี่ปุ่น, และออสเตรเลีย

ยังจะต้องติดตามกันต่อไปว่าพวกประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจะเดินตามแนวทางของสหรัฐฯนี้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 ชาติสมาชิกของสมาคมอาเซียน ซึ่งหลายๆ รายมีความผูกพันอันใกล้ชิดในทางทหารและทางเศรษฐกิจกับทั้งจีนและสหรัฐฯ

ในการเปิดตัวรายงานความมั่นคงของภูมิภาคฉบับใหม่เมื่อวันศุกร์ (31 พ.ค.) วิลเลียม ชูง (William Choong) แห่ง IISS กล่าวเตือนว่า ถึงแม้อาเซียนยอมรับนำเอาวลีอินโด-แปซิฟิกไปใช้ แต่ “สิ่งที่อาเซียนเข้าใจนั้นมีความแตกต่างไปจากสิ่งที่สหรัฐฯขบคิด”

ขณะเปิดการประชุม แชงกรีลา ไดอะล็อก คราวนี้ที่สิงคโปร์เมื่อคืนวันศุกร์ (31 พ.ค.) นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ กล่าวว่า พวกประเทศเล็กๆ นิยมชมชอบมากกว่าที่จะไม่ต้องเลือกอยู่ข้างใครในกรณีพิพาทระหว่างมหาอำนาจใหญ่ เขาเรียกร้องขอให้ยักษ์ใหญ่ทั้งสองทำความตกลงกันให้ได้ โดยระบุว่า “ระหว่างสหรัฐฯกับจีนนั้นไม่ได้มีความแตกแยกเชิงอุดมการณ์ชนิดที่ไม่อาจปรองดองกันได้”

หนึ่งในอาณาบริเวณหลักของการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ก็คือ ทะเลจีนใต้ ที่เกือบทั้งหมดถูกจีนอ้างกรรมสิทธิ์ ซึ่งไม่เพียงทำให้ปักกิ่งเกิดปัญหากับพวกรัฐเพื่อนบ้านที่กล่าวอ้างสิทธิเช่นเดียวกันอย่างเช่นเวียดนามและฟิลิปปินส์ แต่ยังกำลังคุกคามที่จะบ่อนทำลายสถานะความเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศของทะเลแห่งนี้อีกด้วย

ในการตอบโต้การกล่าวอ้างของจีน และการถมทะเลสร้างเกาะเทียมแห่งต่างๆตลอดจนการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารบนเกาะเหล่านี้ของจีน สหรัฐฯก็กำลังดำเนินสิ่งที่อ้างว่าเป็นการปฏิบัติการสำแดงเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาวุฒิสมาชิกอเมริกันกลุ่มหนึ่งได้หยิบยกพูดถึงข้อเสนอที่จะหาทางแซงก์ชั่นคว่ำบาตรธุรกิจต่างๆ ซึ่งผูกพันกับการปฏิบัติการทางทหารของจีนในทะเลจีนใต้อีกด้วย

ลีกล่าวว่า กิจกรรมต่างๆ ของจีนในทะเลแห่งนี้ ควรที่จะกระทำ “โดยผ่านการทูตและการประนีประนอมกัน แทนที่จะใช้กำลังหรือการข่มขู่ที่จะใช้กำลัง ขณะเดียวกันก็ต้องให้น้ำหนักแก่ผลประโยชน์แกนกลางและสิทธิต่างๆ ของประเทศอื่นๆ ด้วย”

การกล่าวปราศรัยของแชนาแฮนครั้งนี้ บังเกิดขึ้นขณะที่สหรัฐฯและจีนบังคับใช้มาตรการขึ้นภาษีศุลกากรครั้งใหม่ต่อสินค้าออกของกันและกัน โดยสินค้าจีนที่ส่งเข้าอเมริกามูลค่ารวม 200,000 ล้านดอลลาร์ถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในอัตรา 25% และสินค้าอเมริกันที่ส่งเข้าแดนมังกรมูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์ถูกขึ้นภาษีในอัตราระหว่าง 5 – 25% ทั้งนี้หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ประกาศทางทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจัดเก็บเพิ่มจากสินค้าเข้าของจีนในอัตรา 10 % ตั้งแต่กลางปี 2018 อยู่แล้ว จะถูกขยับเพิ่มขึ้นอีก

ในเรื่องข้อพิพาททางการค้าและเทคโนโลยี อันรวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารเจเนอเรชั่นที่ 5 (5จี) ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้กลายเป็นตัวครอบงำเหนือความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนนี้ แชนาแฮนได้กล่าวในการปราศรัยคราวนี้ว่า “ผมไม่ชอบเลยเมื่อทรัพย์สินทางปัญญาถูกโจรกรรมไป นี่เป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่เราต้องการที่จะแก้ไข”

“หัวเว่ยมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลมากเกินไป” เขากล่าว โดยเป็นการอ้างอิงถึงกฎหมายที่กำหนดเรียกร้องให้พวกธุรกิจของจีนต้องแชร์ข้อมูลข่าวสารกับรัฐบาลถ้าหากถูกเรียกร้อง “จีนมีนโยบายและกฎหมายระดับชาติซึ่งข้อมูลถูกกำหนดเรียกร้องให้ต้องแชร์ นี่เป็นความเสี่ยงที่มากเกินไปสำหรับทางกระทรวง (กลาโหมสหรัฐฯ)”

เดิมพันในสงครามเทคโนโลยีและการค้านี้ ได้ถูกเพิ่มสูงขึ้นไปอีกในวันศุกร์ (31 พ.ค.) โดยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ (Mike Pompeo) ผู้ซึ่งเสนอแนะระหว่างไปเยือนชาติพันธมิตรยาวนานของสหรัฐฯอย่างเยอรมนีว่า ประเทศต่างๆ ซึ่งติดต่อทำธุรกิจกับหัวเว่ย บริษัทจีนที่เป็นผู้บุกเบิกนำหน้ากว่าใครเพื่อนในเรื่อง 5 จีน อาจหมายความว่ากำลังตัดตัวเองออกจากการแชร์ข่าวกรองบางส่วนกับสหรัฐฯ

“เราไม่อาจยินยอมให้ข้อมูลของเอกชนของพลเมืองจากสหรัฐฯ หรือข้อมูลความมั่นคงข้อมูลระดับชาติจากสหรัฐฯ ถูกส่งผ่านข้ามเครือข่ายการสื่อสารที่เราไม่ได้มีความมั่นอกมั่นใจ ที่เราไม่เห็นว่าเป็นเครือข่ายซึ่งสมควรเชื่อถือไว้วางใจ” พอมเพโอบอก

เมื่อเดือนที่แล้ว สหรัฐฯได้ประกาศมาตรการจำกัดบีบคั้นหัวเว่ยระลอกใหม่ ซึ่งเป็นการบังคับให้พวกบริษัทเทคโนโลยีบางแห่งต้องขบคิดพิจารณาใหม่เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่กับยักษ์ใหญ่เทคสื่อสารไร้สายแห่งนี้ ทว่าพวกประเทศทางเอเชียอย่างเช่นมาเลเซีย ยังคงประกาศว่าความตกลงการดำเนินการทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่กับหัวเว่ยนั้น จะยังดำรงคงอยู่และดำเนินกันต่อไป

ขณะที่การเผชิญหน้ากับจีนทั้งทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์กำลังดุเดือดเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐฯก็กำลังนำเอาจุดยืนแบบ “อยู่ข้างเรา หรือไม่ก็อยู่ข้างตรงกันข้ามกับเรา” มาใช้เพิ่มมากขึ้นทุกทีในกรณีการติดต่อทำธุรกิจระหว่างพวกประเทศที่สามกับหัวเว่ย จึงกำลังก่อให้เกิดวิตกกังวลขึ้นมาว่า วิธีการเช่นนี้อาจจะถูกนำมาใช้ในความผูกพันทางทหารและทางการทูตด้วย

“ผมคิดว่ามันเป็นความฉลาดที่ (รักษาการ) รัฐมนตรี(แชนาแฮน) ไม่ได้งัดเอาไพ่ ‘อยู่ข้างเรา หรือไม่ก็ต้องอยู่ข้างตรงข้ามเรา’ ขึ้นมาเล่น” ในคำปราศรัยของเขา นี่เป็นความเห็นของรองผู้อำนวยการใหญ่ IISS โครี เชค (Kori Schake) ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ทั้งในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ “ผลประโยชน์ของอเมริกันจะรักษาเอาไว้ได้ดีที่สุด ก็ด้วยการพูดว่าเราไม่ได้กำลังจะทำให้เพื่อนมิตรของเราต้องเลือก”

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์

# Wed 12 Jun 2019 : 3:17PM

Kevin4real
member

Since 2018-12-10 14:34:55
(2725 post)
Kevin4real;2513815 wrote:
ข่าวบันเทิง จัสติน บีเบอร์ ประกาศไฝว้กับทอมครูซในUFC

ทอม ครูซทวีตกลับ
"I can't hit woman "

# Wed 12 Jun 2019 : 5:52PM

Ramza
member
บีบตูดชายแล้วร้องซี๊ด
Since 17/9/2007
(18879 post)
ประท้วงที่ฮ่องกงมีต้นเรื่องมาจาก​ หนุ่มฮ่องกงไปฆ่าแฟนตายที่ไต้หวัน​ แค่ไม่มีกฏหมายส่งผู้ร้ายให้กัน

แต่สุดท้าย​ พอจะร่างกฏหมาย​ คนในฮ่องกงก็คิดได้ว่าอาจเป็นช่องทางให้จีนใช้จับตัวคนที่เคลื่อนไหว​ทางการเมืองส่วไปจีนได้ก็เลยออกมาประท้วงๆ

แต่ก็แอบอันตรายอยู่นะจะทำให้ฮ่องกงกล่นเป็นที่กบดานได้
View all 1 comments >

# Thu 27 Jun 2019 : 5:49PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
‘ทรัมป์’โวยอีกก่อนหารือ‘อาเบะ’ช่วงซัมมิตจี20 วิพากษ์สัญญาพันธมิตรที่ใช้อยู่ ‘สหรัฐฯ’เสียเปรียบ ‘ญี่ปุ่น’


ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ขณะก้าวออกจากเครื่องบินประจำตำแหน่ง “แอร์ฟอร์ซ วัน” ระหว่างหยุดแวะพักเติมน้ำมันเครื่องบิน ณ ฐานทัพอากาศของสหรัฐฯในรัฐอะแลสกา เมื่อวันพุธ (26 มิ.ย.) ทั้งนี้ทรัมป์กำลังเดินทางเพื่อมาเข้าร่วมประชุมซัมมิต จี20 ที่เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น

รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รอบใหม่ เล่นงานสนธิสัญญาพันธมิตรความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ซึ่งโตเกียวถือเป็นเสาหลักแห่งนโยบายด้านความมั่นคงของตน ก่อนหน้าที่เขาจะเจรจากับนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น ในการหารือข้างเคียงการประชุมซัมมิตกลุ่ม จี20 ในเมืองโอซากาปลายสัปดาห์นี้

ทรัมป์พูดเรื่องนี้ขณะตอบคำถามระหว่างให้สัมภาษณ์ทึวี ฟอกซ์ เทเลวิชั่น ในกรุงวอชิงตันเมื่อวันพุธ (26 มิ.ย.) เกี่ยวกับข้อตกลงทวิภาคีต่างๆ ที่เขาปรารถนาจะเห็นสหรัฐฯทำกับประเทศต่างๆ หลายหลากรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ทั้งนี้โตเกียวกับวอชิงตันเวลานี้กำลังสาละวนอยู่กับการเจรจาอันยากลำบากเพื่อทำข้อตกลงการค้าระหว่างกัน ขณะที่คณะบริหารทรัมป์เสาะหาหนทางเพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ

“แทบจะทุกๆ ประเทศในโลกใบนี้ ต่างเอารัดเอาเปรียบสหรัฐฯอย่างมากมายมหาศาล ... อย่างเช่นแม้กระทั่งญี่ปุ่นในเรื่องสนธิสัญญาฉบับนั้น เราน่ะมีสนธิสัญญากับญี่ปุ่นนะ ถ้าญี่ปุ่นถูกโจมตี เราก็จะเข้าสู้รบทำสงครามโลกครั้งที่ 3” ทรัมป์บอก

“เราจะเข้าไป และเราจะพิทักษ์คุ้มครองพวกเขา และเราจะสู้รบด้วยชีวิตของเราและด้วยทรัพย์สมบัติของเรา เราจะสู้รบไม่ว่าต้องสิ้นเปลืองขนาดไหน ถูกไหม? แต่ถ้าเราถูกโจมตี ญี่ปุ่นไม่ต้องช่วยเหลือเราเลย พวกเขาสามารถนั่งดูมันจากโทรทัศน์โซนี่ (นั่งดู)การโจมตีสหรัฐฯนั่นแหละ”

ทางด้าน โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงความสำคัญทางการเมืองในระบบของแดนอาทิตย์อุทัย รวมทั้งมีหน้าที่เป็นหัวหน้าโฆษกของรัฐบาลด้วย เมื่อถูกสอบถามในวันพฤหัสบดี (27) เกี่ยวกับคำพูดนี้ของทรัมป์ เขาตอบว่ารัฐบาลของประเทศทั้งสองไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องการทบทบแก้ไขสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว พร้อมกันนั้นเขาก็ปฏิเสธความคิดที่ว่าข้อตกลงนี้ไม่เป็นธรรม

“พันธะผูกพันของสหรัฐฯและของญี่ปุ่น ... มีความสมดุลกันในระหว่างประเทศทั้งสอง” เขาแจกแจงในที่ประชุมแถลงข่าว

ตามสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นฉบับนี้ที่ใช้บังคับกันมานมนานหลายสิบปีแล้ว สหรัฐฯให้คำมั่นสัญญาที่จะพิทักษ์ปกป้องญี่ปุ่น ผู้ซึ่งได้ประกาศสละสิทธิที่จะทำสงครามหลังจากตนเองพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ทางฝ่ายญี่ปุ่นตอบแทนด้วยการให้วอชิงตันเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศของตน ซึ่งก็คือทำให้อเมริกามีแสนยานุภาพทางทหารล่วงลึกเข้ามาภายในทวีปเอเชีย เป็นต้นมา ที่เกาะโอกินาวะ ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวมกำลังทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯจำนวนมากที่สุดซึ่งอยู่นอกประเทศสหรัฐฯ และที่ฐานทัพเรือโยโกซุกะ ใกล้ๆ กรุงโตเกียว ซึ่งถูกใช้เป็นฐานส่วนหน้าของหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของอเมริกา


(ภาพจากแฟ้มถ่ายเมื่อ 28 พ.ค. 2019) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จับมือกับนายกรัฐมนตรีชินโซ อาะเบะ ของญี่ปุ่น ระหว่างที่ทรัมป์ไปกล่าวปราศรัย ณ ฐานทัพเรือโยโกซุกะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ตอนที่ผู้นำสหรัฐฯไปเยือนญี่ปุ่นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ในระหว่างการประชุมซัมมิตกลุ่มจี20 ที่เมืองโอซากา วันศุกร์ (28) และวันเสาร์ (29) นี้ นอกจากทรัมป์มีกำหนดหารือข้างเคียงทวิภาคีกับอาเบะแล้ว เขายังมีนัดหมายเจรจาสองฝ่ายกับผู้นำอื่นๆ อีก 8 นัด โดยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดได้แก่ นัดที่เขาจะหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และนัดหมายกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย

ถ้าหากสายสัมพันธ์วอชิงตัน-โตเกียวเลวร้ายลง จนส่งผลทำให้มีการยุติสนธิสัญญาความมั่นคงฉบับดังกล่าว ที่นำเอาญี่ปุ่นเข้าอยู่ใต้ร่มอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯมาอย่างยาวนานแล้ว ก็อาจบีบบังคับให้วอชิงตันต้องถอนกำลังทหารที่มีอยู่ในเอเชียของตนออกไปกว่าครึ่งหนึ่ง ในจังหวะเวลาที่แสนยานุภาพทางทหารของจีนกำลังเติบโตขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

ในเวลาเดียวกันก็จะเป็นการบีบบังคับให้ญี่ปุ่นต้องแสวงหาทางสร้างพันธมิตรใหม่ๆ ขึ้นในภูมิภาคนี้ รวมทั้งเพิ่มพูนขยายกำลังกลาโหมของตนเอง ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคที่มีความตึงเครียดในเรื่องนี้อยู่แล้ว

เมื่อตอนที่ทรัมป์เยือนญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประมุขอเมริกันผู้นี้กล่าวว่า เขาคาดหวังให้กองกำลังด้านการทหารของญี่ปุ่นเข้ามาเสริมกำลังให้แก่กองทัพสหรัฐฯ ในตลอดทั่วทั้งเอเชียและที่อื่นๆ ขณะที่โตเกียวเองก็กำลังทำท่าเพิ่มพูนความสามารถของกองกำลังอาวุธของตนให้สามารถออกปฏิบัติการไกลออกไปจากเขตชายฝั่งของตนเองได้

อาเบะ ผู้ซึ่งได้พากเพียรบ่มเพาะสายสัมพันธ์อันสนิทแนบแน่นกับทรัมป์ตั้งแต่ที่ผู้นำสหรัฐฯคนนี้ขึ้นครองตำแหน่ง ได้ให้คำมั่นว่าจะเสริมสร้างการกลาโหมของญี่ปุ่นให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นเขายังต้องการทบทวนแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใฝ่สันติที่ญี่ปุ่นใช้อยู่นับแต่หลังสงคราม เพื่อสร้างความกระจ่างให้แก่ฐานะอันกำกวมคลุมเครือของกำลังทางทหารของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันยังไม่ใช้คำว่ากองทัพ แต่หลีกเลี่ยงไปใช้คำว่ากองกำลังป้องกันตนเอง

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์ [Link]

# Thu 27 Jun 2019 : 6:24PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
พอมเพโอเยือน "อินเดีย" ถกปัญหาค้า-ดีลระบบต่อต้านอากาศยานรัสเซีย-น้ำมันอิหร่าน



เอเจนซีส์ - เมื่อวานนี้(26 มิ.ย) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ ได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย นโรนทรา โมดี เกิดขึ้นไม่ถึง 2 สัปดาห์ที่ทางนิวเดลีประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯบางส่วนตอบโต้วอชิงตันที่ให้อินเดียออกจากโครงการลดหย่อนทางศุลกากรทางการค้า PTA (preferential trade program) มีการหารือร่วมเรื่องข้อแตกต่างทางการค้า ข้อตกลงสั่งซื้อระบบต่อต้านอากาศยานรัสเซียของนิวเดลี และปัญหาด้านพลังงานหลังอินเดียหยุดการสั่งซื้อน้ำมันจากอิหร่านอย่างสิ้นเชิง

CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวานนี้(26 มิ.ย)ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ ประกาศในวันพุธ(26)ที่กรุงนิวเดลีว่า ความตรึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและอินเดียล่าสุดไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของ 2 ชาติ และความเป็นหุ้นส่วนของทั้ง 2 ชาติได้เริ่มเข้าสู่ระดับสูงใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้พบว่าในช่วงกลางเดือนมิถุนายน รัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีตัดสินใจตอบโต้วอชิงตันที่ถอดอินเดียออกจากโครงการลดหย่อนทางศุลกากรทางการค้า PTA (preferential trade program) ซึ่งในเวลานั้นรัฐบาลอินเดียไม่ได้ประกาศถึงมูลค่าสินค้าที่ตกเป็นเป้า แต่ก่อนหน้าได้เคยเปิดเผยกับองค์การค้าโลก WTO ว่ามีมูลค่าราว 241 ล้านดอลลาร์

พอมเพโอออกมาให้สัมภาษณ์กับนักข่าวหลังจากได้ร่วมสนทนากับโมดีที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งและรัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ซูบราห์แมนยัม ไจชันการ์( Subrahmanyam Jaishankar) ว่า

"เพื่อนที่ยิ่งใหญ่มักนำไปสู่ความขัดแย้ง แต่ทางสหรัฐฯแสดงความชัดเจนว่า ทางเราต้องการเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และทำลายกำแพงทางการค้าในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของพวกเรา"

และเสริมต่อว่า "และในวันนี้ผมได้แจ้งความแตกต่างเหล่านี้ในจิตวิญญาณของความเป็นเพื่อน และผมคิดว่าเราทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถเห็นผลลัพท์ที่ดีออกมาสำหรับแต่ละฝ่ายของประเทศทั้งสอง"

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า ทางนิวเดลีเป็นฝ่ายเริ่มต้นประกาศแผนการปรับเพิ่มอัตราภาษี 1 ปีก่อนหน้าเพื่อตอบโต้การที่สหรัฐฯได้สั่งขึ้นภาษีนำเข้าต่อสินค้าเหล็กกล้าและอลูมิเนียมของอินเดีย แต่ทว่าดูเหมือนจะมีการเลื่อนออกไประหว่างที่ทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในระหว่างเจรจาทางการค้า ซึ่งการตัดสินใจในการสั่งบังคับใช้การขึ้นอัตราภาษีถูกมองอย่างกว้างขวางจากบรรดานักวิเคราะห์ว่า เป็นสัญญาณของความตรึงเครียดในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างอินเดียและสหรัฐฯ

ในการหารือวันพุธ(26) ยังมีประเด็นถึงข้อตกลงสั่งซื้อระบบต่อต้านอากาศยานจากรัสเซียของอินเดียมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ลงนามในเดือนตุลาคม ปี 2018 เกิดขึ้นในระหว่างที่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เดินทางมาเยือนอินเดีย CNN ชี้ว่า สิ่งนี้ทำให้อินเดียตกอยู่ในความเสี่ยงสูงที่จะถูกสหรัฐฯคว่ำบาตรภายใต้กฎหมายการตอบโต้ของอเมริกาต่อศัตรูผ่านการคว่ำบาตร CAATSA ( Countering America's Adversaries Through Sanctions Act ) กฏหมายนี้ถูกลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อปี 2017 เกิดขึ้นเพื่อลงโทษรัสเซียจากการกระทำที่ชั่วร้าย

ในปี 2018 พบว่าสหรัฐฯได้ใช้กฎหมายตัวนี้ลงโทษจีนโดยประกาศการคว่ำบาตรจากการที่ปักกิ่งได้สั่งซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหารจากรัสเซีย รวมถึงระบบต่อต้านอากาศยาน S-400

เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียถูกถามถึงความเสี่ยงที่อินเดียจะถูกสหรัฐฯคว่ำบาตร ไจชันการ์ตอบกลับมาว่า

"เรามีความสัมพันธ์มากมายกับหลายประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศจากทั้งหมดเป็นที่รู้จัก ประเทศเหล่านี้มีประวัติศาตร์ดังนั้นผมคิดว่าเราจะทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นผลประโยชน์ของประเทศของพวกเรา และอีกครั้งส่วนหนึ่้งของหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์คือความสามารถของแต่ละประเทศที่จะเข้าใจและชื่นชมต่อผลประโยชน์ของชาติ"

อย่างไรก็ตามเมื่อมาถึงปัญหาอิหร่าน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯออกมาชี้ว่า สหรัฐฯและอินเดียเห็นพ้องร่วม โดยในการแถลง พอมเพโอระบุว่า อิหร่านเป็นชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย และอ้างว่า เขารู้ดีว่าถึงความยากลำบากของชาวอินเดียในการที่ต้องประสบปัญหาก่อกาาร้ายที่มีอยู่ทั่วโลก

สำหรับปัญหาด้านพลังงานนั้นเป็นที่รู้ดีว่าในอดีตอินเดียเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับการผ่อนผันจากสหรัฐฯในการซื้อน้ำมันจากอิหร่าน แต่ทว่าระยะเวลาการผ่อนผันได้สิ้นสุดลงในวันที่ 2 พ.ค ที่ผ่านมา ทำให้อินเดียจำเป็นต้องหยุดการซื้อน้ำมันจากอิหร่านโดยสิ้นเชิง โดยในวันพุธ(26) พอมเพโอให้คำมั่นที่จะจัดหาพลังงานให้เพียงพอสำหรับอินเดีย

สื่อ livemint รายงานว่า ในการขึ้นกล่าวที่ศูนย์นานาชาติอินเดียอ้างอิงจากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ พอมเพโอระบุว่า "เราจะทำทุกอย่างที่เราสามารถทำให้มั่นใจว่า คุณจะมีน้ำมันดิบนำเข้าอย่างเพียงพอ ทางเราซาบซึ้งต่อความช่วยเหลือของคุณในการผลักดันรัฐบาลเหล่านี้ให้มีความประพฤติปกติเหมือนเช่นรัฐบาลชาติอื่น และประชาชนชาวเวเนซุเอลาดูแลประเทศของพวกเขาเอง"

และเขากล่าวต่อว่า "คุณทำถูกต้องแล้วที่ยกเลิกการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน และถอยห่างการสั่งซื้อน้ำมันจากเวเนซุเอลา ทางเรารู้ดีว่าการตัดสินใจเหล่านี่เกิดขึ้นโดยที่ต้องมีต้นทุน"

ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2018-2019 พบว่าอินเดียนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน 23.5 ล้านตันก่อนที่จะหยุดการนำเข้าจากอิหร่านโดยสิ้นเชิงในเดือนที่ผ่านมา

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์ [Link]

# Thu 27 Jun 2019 : 7:54PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
จากอาเซียนซัมมิทสู่ “G20” กับประเด็นร้อนการค้าโลก



เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ผมได้รับเชิญจากช่อง 11 “NBT” ให้เป็นวิทยากรวิเคราะห์ “การประชุมสุดยอดอาเซียน(ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2562” ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ซึ่งในปีนี้ใช้หัวข้อว่า “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ผมมีโอกาสนั่งฟังนายกรัฐมนตรีไทย (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) สรุปผลการประชุมจากผู้นำอาเซียน ได้จับประเด็นสำคัญที่น่าสนใจได้หลายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นผมขอขยายความตามมุมมองของผมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้าโลกดังนี้

1.การต่อสู้กับภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญต่อการค้าโลกมากเพราะมีกระทบต่อภาคการผลิตโดยตรง โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยแล้ง และภาวะโลกร้อน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอนาคตถี่ขึ้นและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกและอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ FAO ออกรายงานเมื่อปี 2561 เรื่อง “Climate Change and Global Market Integration” ว่า ผลการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้ผลผลิตการเกษตรโลกลดลง 0.28% ในปี 2050 (กลุ่มพืชลดลง 0.66% ปศุสัตว์ลดลง 0.12% เกษตรแปรรูปลดลง 0.16% และปลาลดลง 0.03%) จะส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น 2.6% กลุ่มประเทศในแอฟริกาและเอเชียใต้จะได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ประเทศอาเซียน GDP ลดลง 0.3% ซึ่งจะทำให้รายได้ของภาคเกษตรกรรมลดลงตามไปด้วย

2.การปรับตัวและผลักดันอุตสาหกรรม 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล เกือบทุกประเทศในอาเซียนมีเป้าหมายการเป็น “อุตสาหกรรม 4.0” ซึ่งไปเกี่ยวข้องการผลิตที่มีการใช้นวัติกรรม เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ องค์ความรู้เหล่านี้ อาเซียนยังพึ่งพิงจากกลุ่มประเทศนอกอาเซียน เช่น จากญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงการค้าขายออนไลน์ก็พึ่งพิงแพลตฟอร์มของจีนเป็นหลัก

ผมคิดว่าอาเซียนควรผลักดันการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน (ASEAN Cross Border E-Commerce) เพื่อให้คนอาเซียนซื้อขายสินค้ากันง่ายขึ้น โดยได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีของแต่ละประเทศต่ำกว่าปกติ ใน 1 ปีไม่เกิน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี (ไม่เกิน 1 แสนบาท)



3.ปฎิญญากรุงเทพว่าด้วยการทิ้งขยะในทะเล เป็นประเด็นใหญ่และสำคัญมาก ธนาคารโลกรายงานว่า “ในปี 2025 โลกจะมีขยะเพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านตัน เป็น 6 ล้านตันต่อวัน” ในปี 2559 คนทิ้งขยะ 0.74 กก.ต่อคนต่อวัน ผมคาดว่าปัจจุบันน่าจะไปถึง 1 กิโลกรัม(กก.)ต่อคนต่อวัน ซึ่งจะกระทบผลผลิตสัตว์น้ำธรรมชาติ

4.ผลักดันการเจรจาอาเซียนบวกหก (RCEP) ให้เสร็จในปี 2562

5.การแข่งขันระหว่างประเทศนอกภูมิภาค

6.ปี 2562 เป็นปีวัฒนธรรมอาเซียน

และ 7.การเสนอตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2034



ขณะที่ในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2562 จะมีการประชุม “G20 Summit” ที่มหานครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน อียู ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ซาอุฯ แอฟริกาใต้ ตุรกี อังกฤษ เม็กซิโก สหรัฐฯ ประเทศที่ได้รับเชิญคือ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ สเปน เวียดนาม ไทย อิยิปต์ ชิลี และเซเนกัล (สเปนถูกเชิญถาวร ประธานอาเซียน สองประเทศแอฟริกา และอีก 2 ประเทศตามที่ประธานเชิญ) นอกนั้นก็เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ UN, IMF, World Bank, WTO, OECD, WHO และ ADB ซึ่งจัดประชุมใน 8 เมืองของญี่ปุ่น ประเทศ G20 มีขนาดเศรษฐกิจ (2017) 86% ของ GDP โลก (ใหญ่สุดของโลก) 77% ของการค้าโลก และ 64% ของประชากรโลก (ประเทศ G7 มีขนาดเศรษฐกิจ 46% ของ GDP โลก 34% ของการค้าโลก และ 10% ประชากรโลก)





การประชุม G20 จึงมีความสำคัญกับทุกประเทศในโลกนี้ เพราะการขยับไปทางไหนของประเทศ G20 จะกระทบต่ออาเซียนและทั่วโลก หัวข้อการประชุมในปีนี้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าโลกครอบคลุม 3 หัวข้อคือ

1.เศรษฐกิจเข้มแข็ง ยั่งยืน และสมดุล (Promoting strong, sustainable and balanced growth)
ที่เน้น 1. ผลักดันสังคม 5.0 หรือ “Society 5.0” หรือ “Super Smart Society” เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผลักดันอุตสาหกรรมสุขภาพ ผ่านการใช้ AI, IoT, big data, และ robots อุตสาหกรรมการขนส่งที่ไร้คนขับ โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ sensors, AI and robots เทคโนโลยีทางการเงิน ผ่านการปฎิรูปกติกา 2. ปฎิรูป WTO, Trade War, การผลักดัน Trans-Pacific Partnership (TPP) the Japan-EU Economic Partnership Agreement (EPA) the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) และ 3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ต้อง ปลอดภัย รองรับภัยพิบัติ สร้างงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี



2. จัดหาสินค้าสาธารณะระหว่างประเทศและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (Greater provision of international public goods and resilience)
ซึ่งประกอบด้วย ระบบประกันสุขภาพ จัดการภัยพิบัติและขยะในทะเล หลีกเลี่ยงกับดัก “Debt Trap” ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก สร้างความเท่าเทียมเพศ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงประเด็นสุดท้าย

3.เศรษฐกิจดิจิทัล (Digitalization of the economy)
ที่ครอบคลุม Crypto-assets สร้างกฎระเบียบในยุคดิจิทัล และ การจ้างงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าทั้งสองการประชุมมีที่เหมือนกัน เศรษฐกิจดิจิทัลและการขจัดขยะ ในขณะที่แตกต่างแต่มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการค้าโลก เช่น ประเด็นสังคม 5.0 และความเท่าเทียบเรื่องเพศ ผมหวังว่าหัวข้อของทั้งสองประชุมสามารถนำเข้าไปเชื่อมโยงเพื่อจะเป็นประโยชน์ทั้งระดับภูมิภาคอาเซียนและโลกต่อไปครับ

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ
[Edited 1 times "MnemoniC" - Last Edit 2019-06-27 20:03:50]

# Thu 27 Jun 2019 : 11:44PM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5787 post)
ทรัมป์แยกเขี้ยวเตือนจีนรีดภาษีเพิ่ม เวียดนามตัวแสบอาจเป็นเป้าถัดไป



เอเจนซีส์ – ทรัมป์แกว่งปากวิจารณ์ชาติต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่พันธมิตรใกล้ชิด ก่อนออกเดินทางไปร่วมซัมมิต G20 เตือนจีนจ่อถูกรีดภาษีล็อตใหม่ และส่งสัญญาณว่า เวียดนามอาจเป็นรายต่อไปเนื่องจากเป็น “ผู้ล่วงละเมิดที่เลวร้ายกว่าใคร” อย่างไรก็ตาม สื่อฮ่องกงรายงานว่า วอชิงตัน-ปักกิ่งตกลงกันเบื้องต้นในการสงบศึกการค้าชั่วคราว

ทันทีที่เครื่องบิน "แอร์ ฟอร์ซ วัน" เหินฟ้าออกจากวอชิงตันเมื่อวันพุธ (26 มิ.ย.) ดูเหมือนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้เตรียมวาระร้อนพร้อมแล้วที่จะไปสะสางกับเหล่าผู้นำ G20 ที่มีกำหนดประชุมในวันศุกร์-เสาร์นี้ (28-29 มิ.ย.) ที่ญี่ปุ่น

ทรัมป์ประกาศว่า ตัวเองถือไพ่เหนือกว่าในสงครามการค้ากับจีน และย้ำชัดว่าคงไม่อยู่ในอารมณ์ประนีประนอมระหว่างหารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ในวันเสาร์ที่จะถึงนี้

ประมุขทำเนียบขาวสำทับว่า เศรษฐกิจจีนกำลังถูกทำลาย บีบให้ปักกิ่งต้องการทำข้อตกลง โดยตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทมากมายหนีออกจากจีน และบางแห่งในจำนวนนี้กลับไปยังอเมริกาเพราะไม่อยากต้องจ่ายภาษีศุลกากร จึงถือว่าสงครามภาษีที่ผ่านมาจีนเป็นฝ่ายเดียวที่ได้รับผลกระทบ ส่วนอเมริกาได้รับผลประโยชน์

วอชิงตันขึ้นภาษีศุลกากรสินค้าจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนที่แล้วเพื่อกดดันให้ปักกิ่งปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ "ฟ็อกซ์ บิสเนส เน็ตเวิร์ก" เมื่อวันพุธ ทรัมป์ยังขู่ว่าพร้อมขึ้นภาษีรอบใหม่กับสินค้าที่เหลือของจีนมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ที่นำเข้าสู่อเมริกา

ก่อนหน้านี้ทรัมป์กล่าวว่า การขู่ขึ้นภาษีสินค้าจีนที่เหลือ 25% อาจลดเหลือแค่ 10% และทั้งสองฝ่ายบอกว่า ใกล้บรรลุข้อตกลงรอมร่อก่อนที่การเจรจาจะล่มเมื่อเดือนที่แล้ว

เมื่อวันพุธ สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ย้ำกับสถานีซีเอ็นบีซีว่า ไม่คิดว่าซัมมิตทรัมป์-สีจะมีข้อตกลงออกมา อยากได้ยินแค่จีนต้องการกลับสู่โต๊ะเจรจา

หนังสือพิมพ์ "เซาธ์ไชน่า มอร์นิงโพสต์" ของฮ่องกงรายงานในวันพฤหัสบดี (27 มิ.ย.) ว่าจีนและอเมริกาตกลงกันเบื้องต้นในการสงบศึกการค้าชั่วคราว ซึ่งจะเท่ากับเป็นการระงับการขึ้นภาษีรอบใหม่ของอเมริกาต่อสินค้าจีน โดยจะมีการเปิดเผยรายละเอียดในระหว่างการแจกข่าวประชาสัมพันธ์ แต่จะไม่มีการตั้งโต๊ะแถลงร่วมกัน

ผู้นำสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณว่า อาจเรียกเก็บภาษีศุลกากรเวียดนามซึ่งเป็น “ผู้ล่วงละเมิดรายเดียวที่เลวร้ายกว่าใคร” โดยทรัมป์บอกว่า บริษัทมากมายย้ายไปเวียดนาม แต่เวียดนามกลับฉวยโอกาสเอาเปรียบอเมริกายิ่งกว่าที่จีนเคยทำ

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังโจมตีพันธมิตรใกล้ชิดอย่างเยอรมนีและญี่ปุ่น โดยวิจารณ์เบอร์ลินว่า “ไม่รับผิดชอบ”

“เยอรมนีจ่ายเงินซื้อพลังงานรัสเซียเป็นพันล้าน แต่กลับอัดฉีดงบประมาณนาโตน้อยเกินไปและผลักภาระให้อเมริกาเป็นผู้ปกป้องความปลอดภัย”

ทรัมป์ยังกล่าวหาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดในเอเชียและอยู่ภายใต้การอารักขาของกองทัพอเมริกันนับจากแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองว่า "ถ้าญี่ปุ่นถูกโจมตี อเมริกาจะนำกำลังและทรัพยากรไปช่วยเหลือแน่ แต่ถ้าถึงคราวเราถูกโจมตีบ้าง ญี่ปุ่นคงไม่มาช่วยและคงแค่นั่งดูข่าวจากทีวีโซนี่"

นอกจากนั้น ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในทำเนียบขาว ทรัมป์เผยว่าคงมีการพูดคุยที่ดีกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในที่ประชุม G20

“ส่วนผมจะคุยอะไรบ้างคงไม่ใช่กงการของพวกคุณ” ทรัมป์ทิ้งท้าย

ที่มา: ผู้จัดการ ออนไลน์ [Link]

<<
<
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
>
>>
Reply
Vote




4 online users
Logged In : darkgundam