Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
[ไม่ใช่การเมืองไทย] กระทู้ 'การเมือง/ความมั่นคง/เศรษฐกิจ/' ระหว่างประเทศ

Reply
Vote
# Tue 5 Feb 2019 : 11:13AM

"MnemoniC"
member

Since 2015-12-08 01:43:55
(5791 post)
ทำไมเฟด”กลับลำ”นโยบายดอกเบี้ย



ทำไมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กลับลำนโยบายการเงินหันมาให้การผ่อนคลาย หลังมองเห็นความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในภาวะที่เป็นขาลงมากขึ้น

ท่ามกลางโจทย์ที่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวลงในปีนี้ สงครามการค้าสหรัฐและจีนยังไม่ยุติลงอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าความตึงเครียดจะคลายตัวลง ขณะที่การเจรจายังคงเดินหน้าในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ลดแรงกดดันลง

นำมาสู่การที่เฟดได้มีการปรับลดปริมาณการดูดซับสภาพคล่องเพื่อลดภาระเม็ดเงิน QE (Quantitative Easing) ในงบดุลอย่างเงียบๆ จากที่เคยดูดซับถึงเดือนละ 50,000 ล้านดอลลาร์ เหลือเพียงเดือนละ 40,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการลดงบดุลของเฟดตลอดปี 2018 ได้ส่งผลต่อสภาพคล่องที่หดหายอย่างหนัก จนทำให้ตลาดหุ้นวอลล์ สตรีท เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ แถลงการณ์ของเฟดภายหลังการประชุมเมื่อวันพฤหัสฯที่แล้วได้มีการระบุถึงท่าทีการกลับลำของเฟดหันมายึดแนวคิดสายพิราบที่จะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยที่ผ่อนคลายมากขึ้นในปี 2019 นี้ โดยอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25-2.50% ทั้งปี จากที่เคยส่งสัญญาณในเดือนก่อนหน้านั้นว่า จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จำนวน 2 ครั้ง

โดยช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟด สาขาดัลลัส ออกมาให้ความเห็นว่า เฟดควรระงับการปรับขึ้นดอกเบี้ยจนถึงกลางปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐต้องเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลงจากปัจจัยต่างๆ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความอ่อนตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและภาคการผลิตที่แท้จริง รวมทั้งภาวะตึงตัวในระบบการเงิน

ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่เฟดควรจะพิจารณาทิศทางดอกเบี้ยระยะสั้นในขณะนี้ ดังนั้นเฟดน่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยถึงเดือนมิถุนายน

ทั้งนี้ การที่เฟดจะทบทวนการระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามา เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าการขยายตัวของสหรัฐที่ระดับ 2% ในปีนี้ รวมทั้งมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บางภาคส่วนมีความอ่อนไหวต่อการปรับดอกเบี้ยทั้งภาคที่อยู่อาศัย และภาคการผลิต

ขณะเดียวกัน นโยบายดูซับสภาพคล่องเพื่อลดภาระเม็ดเงิน QE ของเฟด ซึ่งเรียกอีกนัยหนึ่งว่า QT หรือ Quantitative Tightening ยังคงส่งผลต่อความตึงตัวของตลาดการเงินในสหรัฐและกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกตึงตัวมากขี้นด้วย โดย Morgan Stanley ได้มองถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาว่า QE เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาวะราคาหลักทรัพย์พุ่งทะยานขึ้นจนกลายเป็นฟองสบู่ แต่ทางตรงกันข้าม QT กลับส่งผลต่อราคาหุ้นและหลักทรัพย์ที่ดิ่งตัวลง (Deflate)

สำหรับมุมมองของ Bank Of America (BofA) ชี้ว่า ปริมาณเงินในตลาดการเงินโลกจะหดตัวลงโดยเฉพาะปริมาณเงิน M1 ในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2008 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณเงินที่สนับสนุนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดต่ำลงในช่วงที่ผ่านมา และยังส่งผลต่อโมเมนตัมทางเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เฟดยังคงกังวลต่อภาระในงบดุลของตัวเอง เนื่องจากเฟดยังมีเม็ดเงิน QE คงค้างอยู่ถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งการลดวงเงินการดูดทรัพย์สภาพคล่องเหลือเดือนละ 40,000 ดอลลาร์ หรือน้อยกว่านี้ จะส่งผลให้เป้าหมายการกลับเข้าสู่นโยบายการเงินที่เป็นปกติ หรือ Normalization ถูกเลื่อนเวลาออกไป จากปี 2020 ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่คาดว่า งบดุลของเฟดจะปรับลดลงสู่ระดับ 2.9 ล้านล้านดอลลาร์

สถานภาพของเฟดภายใต้การดูแลของเจอฌรม พาวเวล จึงตกอยู่ในช่วงที่ต้องมีการทบทวนกรอบของนโยบายการเงินใหม่ที่สอดคลอ้งกับการดูแลความจำเป็นทางเศรษฐกิจของให้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อตลาดการเงินโลกในระยะต่อไป

ที่มา: MONEY2KNOW

Reply
Vote




1 online users
Logged In :