Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
จริงรึปล่าวที่พิสูจน์ได้แล้วว่าตัวจริงของแจ๊คเดอะริบเปอร์คือชาวยิวที่เป็นผู้ต้องสงสัย

Reply
Vote
# Thu 13 Sep 2018 : 5:14PM

Scalecaller
member

Since 2018-03-17 13:19:11
(1600 post)
อ่านเจอมาจาก Okanation คับ พอดีได้ดูเฟทอโพแล้วไปหาประวัติมา เลยไปเจอนี่คับ

รัสเซลส์ เอ็ดเวิร์ด นักธุรกิจที่ติดตามคดีของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ หนึ่งในฆาตกรฆ่าต่อเนื่องชื่อกระฉ่อนที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้กลายเป็นคนแรกที่มีหลักฐานทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับคดีอาชญากรรม เมื่อปี ค.ศ.1888 หรือเมื่อ 126 ปีก่อน โดยเป็นหลักฐานที่มาจากหนึ่งในสถานที่เกิดเหตุ และเป็นหลักฐานที่ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพที่สุดในอังกฤษ อาศัยเท็คนิคการตรวจพิสูจน์ที่ทันสมัย จนสามารถไขปริศนาได้ว่า ตัวตนที่แท้จริงของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์เป็นใคร

ตัวตนที่แท้จริงของแจ็คเดอะริปเปอร์ ที่ก่อคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญในย่านชุมชนแออัดในไวท์ ชาเพิล ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน เมื่อปี ค.ศ.1888 ได้กลายเป็นปริศนานับแต่นั้น

ขณะที่ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยหลายสิบคน มีตั้งแต่สมาชิกสมาชิกในพระราชวงศ์อังกฤษ, นายกรัฐมนตรี ไปจนถึงคนทำรองเท้า แต่หลังจากได้ DNA มาจากผ้าคลุมไหล่ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุที่ฆาตกรลงมือสังหารเหยื่อรายหนึ่ง พบว่า เข้ากันกับทั้งญาติของเหยื่อและหนึ่งในผู้ต้องสงสัย และเชื่อว่า แจ็คเดอะ ริปเปอร์ ตัวจริง คือ แอรอน คอสมินสกี้ ผู้อพยพชาวยิวที่มาจากโปแลนด์และทำงานเป็นช่างตัดผม

เอ็ดเวิร์ดส์ ซึ่งสนใจเรื่องราวของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์มานานแล้ว ได้ซื้อผ้าคลุมไหล่สมัยวิคตอเรียเปื้อนเลือดจากการประมูล เมื่อปี 2550 โดยเชื่อว่า ได้มาจากจุดที่เกิดการฆาตกรรมเหยื่อรายที่4 คือ แคทเธอรีน เอดโดเวส เมื่อวันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ.1888 ซึ่งมีรายงานว่า ตำรวจนายหนึ่งได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้เอาผ้าคลุมไหล่ผืนนี้ไปให้ภรรยาที่เป็นช่างตัดเสื้อ แต่ภรรยาของเขารู้สึกหวาดกลัวเกินกว่าจะใช้ผ้าคลุมไหล่เปื้อนเลือด

แต่ผ้าผืนนี้ก็กลายเป็นมรดกตกทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ที่เก็บไว้ในกล่องโดยไม่เคยถูกซัก และเคยถูกขอยืมไปแสดงในพิพิธภัณฑ์คดีอาชญากรรมของสก็อตแลนด์ยาร์ด ราว 2-3 ปี

หลังจากได้ผ้ามา เอ็ดเวิร์ดสต้องการทราบว่า การใช้เทคโนโลยีพิสูจน์ DNA จะสามารถเชื่อมโยงผ้าคลุมไหล่ผืนนี้กับคดีฆาตกรรมได้หรือไม่ ซึ่ง ดร.จารี ลูเฮไลเน่น นักวิชาการอาวุโสที่เชี่ยวชาญด้านโมเลกุลของมหาวิทยาลัยจอห์น มัวร์ ในเมืองลิเวอร์พูล ได้ทำการตรวจสอบรอยเลือดด้วยการแยก DNA ไมโตคอนเดรีย ที่เป็นการสืบเชื้อสายฝ่ายหญิง และพบว่า เข้ากันกับ DNA ของคาเรน มิลเลอร์ ทายาทสายตรงของเอ็ดโดเวส ที่เป็นเจ้าของคราบเลือดบนผ้าคลุมไหล่

ขณะเดียวกัน ในการส่องด้วยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ก็ทำให้พบคราบอสุจิ ซึ่ง ดร.เดวิด มิลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโมเลกุลเช่นกัน ได้จัดการหาเซลล์จาก DNA ที่ถูกคัดแยกและอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเกี่ยวกับการสืบวงศ์ตระกูล ทำให้เอ็ดเวิร์ดส์ ได้พบทายาทสายตรงของคอสมินสกี้ ผ่านทางเชื้อสายฝ่ายหญิง ที่เสนอให้ตัวอย่าง DNA เพื่อการทดสอบและพบว่า DNA เข้ากันได้กับคราบอสุจิ ทำให้เอ็ดเวิร์ดส์ เชื่อว่า คอสมินสกี้ เกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมเอ็ดโดเวส วัย 46 ปี ที่ถูกฆ่าคืนเดียวกันกับเหยื่อรายที่ 3 ของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ซึ่งมีลูกสาว 1 คน และลูกชาย 2 คน และอาศัยยังชีพด้วยการเป็นโสเภณี

เอ็ดโดเวส ถูกฆ่าอย่างทารุณ ลำคอถูกเชือด และถูกควักอวัยวะภายในออก และใบหน้ายับเยินจนจำไม่ได้

คอสมิสกี้ ที่เชื่อว่าคือ แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ เกิดที่เมืองโคลดาว่า ทางภาคกลางของโปแลนด์ เมื่อเดือนกันยายน ปี ค.ศ.1865 โดยครอบครัวของเขาหลบหนีจากการปราบปรามชาวยิวของรัสเซีย ในสมัยพระเจ้าซาห์ และอพยพไปอยู่ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน เมื่อต้นทศวรรษที่ 1880 อาศัยอยู่ใกล้กับจุดที่เกิดเหตุฆาตกรรมสะเทือนขวัญ

มีบางรายงานระบุว่า เขาถูกตำรวจเอาตัวไปสอบปากคำ หลังมีพยานบอกว่าเห็นเขากับเหยื่อคนหนึ่ง และแม้ว่า พยานจะให้ข้อมูลในเชิงบวก แต่ก็ไม่ยอมให้การกล่าวโทษผู้ต้องสงสัย ทำให้ตำรวจไม่มีทางเลือก จึงต้องปล่อยตัวเขาไป

คอสมิสกี้ เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ ในปี ค.ศ.1989 โดยอ้างว่า ยากจน ก่อนจะถูกไล่ออกในปีเดียวกัน และไปลงเอยที่โรงพยาบาลบ้า และเสียชีวิตเพราะโรคเนื้อเน้า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ปี ค.ศ.1919ก่อนถูกฝังในอีก 3 วันต่อมา ที่สุสานอีสต์ แฮม ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน

การค้นพบครั้งนี้ ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายความว่า ข้ออ้างนี้ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอิสระ หรือทฤษฎีใด ๆ และมีเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย

ที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/378423501/

ข่าวเก่าแล้ว แต่พึ่งรู้ว่าค้นพบแล้ว

Reply
Vote




1 online users
Logged In :