Menu
[--mobilemenu--]
บราวเซอร์ของท่านไม่สนับสนุนหรือปิดการใช้งาน javascript ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานไซต์บางส่วนเช่นการเข้าลิ้งค์ หรือโพสข้อความได้ตามปกติ, กรุณาเปิดการใช้งาน javascript เพื่อที่จะใช้งานเว็บ gconhubม หากมีปัญหาในการใช้งาน หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ [email protected] หรือ [email protected]
Coco ผลงานดีที่สุดของ Pixar

Reply
Vote
# Fri 29 Dec 2017 : 9:23PM

toranin
member

Since 19/8/2008
(10420 post)
ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat

โคโค่ หนังผีเชงเม้งแบบเม็กซิโก

#CoCo หนังแอนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของดิสนี่ย์คงได้สร้างความประทับใจให้กับหลายท่านไปแล้ว เนื่องจากแฟนเพจสั่งผู้เขียนมาให้วิจารณ์หนังเรืาองนี้ในมิติศาสนวิทยา จึงต้องขอนำเสนอตามคำสั่งแฟนเพจ

หนังเรื่องนี้เป็นหนังศาสนวิทยาโดยตรงด้วยสาเหตุที่เป็นหนังผี หรือความเชื่อเรื่องมิติการตายและชีวิตหลังความตาย และความเชื่อเรืื่องการติดต่อเกี่ยวข้องกับคนที่ตายไปแล้ว

แต่เป็นความเชื่อในแบบของชาวเม็กซิโก ซึ่งเป็นความเชื่อแบบศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกผสมกับความเชื่อแบบศาสนาพื้นบ้าน ที่ยึดโยงกับเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษทุกคนในตระกูลที่ตายแล้วจะได้ไปอยู่ร่วมกันหมด ซึ่งลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก้ต้องติดรูปไว้ในบ้านและมีการตั้งอาหารให้ด้วย

ด้วยเหตุนี้ความเชื่อของชาวเม็กซิโกตรงนี้จึงแทบจะเหมือนกับความเชื่อของคนจีน ในขณะที่แทบไม่มีเนื้อหาของความเป็นคาทอลิคเลย (และด้วยเหตุนี้เองหนังเรื่องนี้จึงได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากรัฐบาลจีน)

อีกเรื่องที่สำคัญมากของหนังคือ เน้นเรื่องการที่คนเป็นกับคนตายมาพบกันพูดคุยกันได้ในเทศกาล "Day of the Dead" หรือ "วันคนตาย" ซึ่งในภาษาสเปนเรียกว่า Día de los Muertos

งานนี้จะจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 1 และ 2 พฤศจิกายน ทุกปี ซึ่งชาวเม็กซิกันจะรำลึกและแสดงความอาลัยถึงคนรักที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือว่าคู่ชีวิต คล้ายเทศกาลเชงเม้ง

เทศกาลนี้มาจากความเชื่อพื้นบ้านของคนเม็กซิโกว่า ในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ทุกปี ประตูแห่งสวรรค์จะเปิดตอนเวลาเที่ยงคืนเพื่อให้วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วกลับคืนมาอยู่กับคนรักของพวกเขา

งานเทศกาลก็เลยจะจัดในคืน 31 ตุลา และอีก 2 วันต่อมา โดยวันที่ 1 พฤศจิกา ก็เป็นวันที่จะรำลึงถึงเด็กๆ ที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนวันที่ 2 พฤศจิกายนจะเป็นการรำลึกถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เสียชีวิตไป

แต่เขาจัดแบบแฟนซีและสนุกสนาน ไม่เศร้า ตนก็จะแต่งตัวเป็นผี เน้นแบบโครงกระดูก และสีดำ แต่งหน้ากะโหลก ไม่เหมือนสไตล์ฮัลโลวีน เทศกาลนี้ก็จะจัดในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับเทศกาลฮัลโลวีนด้วย

หนังโคโค่ วางโครงเรื่องอยู่บนความเชื่อและเทศกาลตรงนี้ และเน้นความผูกพันกับครอบครัว ซึ่งไม่ใช่ใช่แค่ครอบครัวเดี่ยว แต่เป็นครอบครัวขยายไปทั้งตระกูล รวมไปถึงผูกพันกับวิญญาณทั้งตระกูลที่ตายไปแล้วด้วย

่ ผู้เขียนจึงเรียกว่าเป็นหนังผีเชงเม้งแบบเม็กซิโกด้วยเหตุเช่นนี้แล

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์


#####################################


ส่วนใหญ่ก็น่าจะรับของคริสต์มาเต็มๆแหละ ของที่เป็นธรรมเนียมพื้นบ้านคงมีแค่ส่วนน้อย เพราะวันที่ 31 ตุลา, 1 พฤศจิกา, 2 พฤศจิกา มันเป็นวัน All Hallows Day, All Saints' Day อยู่แล้ว

วันฮาโลวีนของทุกปี จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเซลท์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

ซึ่งในวันที่ 31 ตุลาคมนี่เองที่ชาวเซลท์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตายและคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเซลท์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย และยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดัง เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป

นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว และอาจมีการนำสัตว์ หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูติผี และวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์ของชาวเซลท์

บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเซลท์ แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน

ในสมัยต่อชาวโรมันคาทอลิกต้องการกำจัดพิธีเฉลิมฉลองของกลุ่มชนนอกศาสนาคริสต์เหล่านี้ สันตะปาปา Gregory ที่ 4 จึงได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายน ให้เป็นวันเฉลิมฉลอง All Saints Day หรือ All Hallows Day สำหรับชาวคริสต์เพื่อระลึกถึงนักบุญ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม หรือ Hallow's Eve ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่ชื่อเรียกได้เพี้ยนไปเป็น Halloween

[Link]

Reply
Vote




1 online users
Logged In :